ประโยชน์ของกรดโฟลิกต่อการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประโยชน์ของกรดโฟลิกต่อการตั้งครรภ์

ประโยชน์ของกรดโฟลิกต่อการตั้งครรภ์

กรดโฟลิก (folic acid) ถือว่าเป็น ซุปเปอร์ฮีโร่สำหรับการตั้งครรภ์เลยทีเดียว การรับประทานวิตามินสำหรับการตั้งครรภ์ที่ประกอบไปด้วยกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวัน ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยป้องกันความผิดปกติของทารก ได้แก่ ความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง ได้ โดยให้รับประทานทุกวันอย่างต่อเนื่องร่วมกับการรับประทานอาหารที่เสริมกรดโฟลิกร่วมด้วย

กรดโฟลิกคืออะไร

กรดโฟลิก (folic acid) คือสารอาหารในกลุ่มวิตามินบีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ในขณะที่โฟเลต (folate) คือวิตามินชนิดเดียวกันแต่เป็นรูปแบบที่พบได้ในอาหารตามธรรมชาติ โฟเลตมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง และให้หลอดประสาทของทารกพัฒนาไปสู่สมองและไขสันหลัง หนึ่งในอาหารที่เป็นแหล่งของกรดโฟลิกที่ดีคือธัญพืชชนิดที่มีการเสริมกรดโฟลิกเข้าไป สำหรับโฟเลตจะพบได้ในผักใบเขียวและผลไม้ตระกูลซีตรัส เช่น ส้ม

เมื่อไรที่ควรเริ่มรับประทานกรดโฟลิก

ความผิดปกติของทารกในครรภ์จะเกิดขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นสำคัญมากๆ คือจะต้องมีปริมาณของโฟเลตในร่างกายให้เพียงพอตั้งแต่ระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกกำลังพัฒนาสมองและไขสันหลังอยู่

ถ้าคุณได้ปรึกษาแพทย์ของคุณว่ากำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้คุณรับประทานวิตามินสำหรับการตั้งครรภ์ซึ่งประกอบไปด้วยกรดโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีข้อมูลจากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่รับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อย 1 ปีก่อนการตั้งครรภ์จะช่วยลดโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป

แนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกทุกวันอย่างน้อย 1 เดือนก่อนที่จะตั้งครรภ์ และให้รับประทานอย่างต่อเนื่องขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์รับประทานกรดโฟลิกทุกวัน

หากคุณเลือกที่จะซื้อวิตามินสำหรับการตั้งครรภ์มารับประทานเอง คุณควรนำวิตามินนั้นไปให้แพทย์ดูอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณวิตามินที่ได้รับนั้นเพียงพอเหมาะสม โดยเฉพาะจะต้องมีกรดโฟลิกเป็นส่วนประกอบอย่างเหมาะสมด้วย วิตามินสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกัน และบางครั้งอาจมีปริมาณวิตามินและแร่ธาตุน้อยกว่าหรือมากกว่าที่จำเป็น

ปริมาณกรดโฟลิกที่ควรรับประทานคือเท่าใด?

ปริมาณกรดโฟลิกที่แนะนำให้รับประทานในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนคือ 400 ไมโครกรัมต่อวัน ถ้าคุณรับประทานวิตามินรวมทุกวันอยู่แล้ว แนะนำให้ตรวจสอบที่ฉลากว่ามีปริมาณเพียงพอแล้วหรือยัง และในบางเหตุผล คุณอาจไม่ต้องการรับประทานวิตามินรวม กรณีนี้สามารถเลือกรับประทานเฉพาะกรดโฟลิกเสริมได้

ปริมาณกรดโฟลิกที่แนะนำต่อวันสำหรับการตั้งครรภ์:

  • ขณะกำลังพยายามที่จะตั้งครรภ์: 400 ไมโครกรัม
  • สำหรับช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์: 400 ไมโครกรัม
  • สำหรับช่วงเดือนที่ 4-9 ของการตั้งครรภ์: 600 ไมโครกรัม
  • ขณะกำลังให้นมบุตร: 500 ไมโครกรัม

ประโยชน์ของกรดโฟลิกมีอะไรบ้าง

หากร่างกายมีกรดโฟลิกไม่เพียงพอจะทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • Spina bifida: การพัฒนาของไขสันหลังหรือกระดูกสันหลังไม่สมบูรณ์
  • Anencephaly: การพัฒนาของสมองส่วนสำคัญไม่สมบูรณ์

ในเด็กทารกที่คลอดออกมาแล้วมีภาวะ anencephaly มักจะมีชีวิตไม่ยืนยาว ส่วนเด็กที่มีภาวะ spina bifida มักพิการอย่างถาวร ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาที่น่ากลัว แต่ข่าวดีก็คือ การได้รับกรดโฟลิกที่เพียงพออาจช่วยป้องกันไม่ให้ทารกเกิดปัญหาหลอดประสาทไม่ปิดได้อย่างน้อย 50% มีข้อมูลว่า หากคุณเคยคลอดทารกที่มีปัญหาหลอดประสาทไม่ปิดมาแล้ว การได้รับกรดโฟลิกที่เพียงพอจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกที่มีปัญหาหลอดประสาทไม่ปิดลงได้ 70% ถ้าคุณเคยคลอดทารกที่มีปัญหาหลอดประสาทไม่ปิด ขนาดของกรดโฟลิกที่แนะนำจะสูงขึ้นมากกว่าปกติคือ 4,000 ไมโครกรัม (4 มิลลิกรัม) ต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอถึงปริมาณกรดโฟลิกที่คุณควรรับประทาน

ถ้ารับประทานกรดโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์ กรดโฟลิกอาจช่วยป้องกันทารกของคุณจากภาวะดังต่อไปนี้:

  • ปากแหว่ง เพดานโหว่
  • คลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักแรกคลอดต่ำ
  • แท้ง
  • การเจริญเติบโตในครรภ์ไม่ดี

กรดโฟลิกยังถูกแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงดังนี้:

  • ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ (มีรายงาน 1 รายงานพบว่าผู้หญิงที่รับประทานกรดโฟลิกเสริมในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ)
  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • มะเร็งบางชนิด
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)

แหล่งอาหารที่ดีของกรดโฟลิก

อาหารที่จะช่วยให้คุณได้รับกรดโฟลิกเพิ่มเติมได้แก่

  • ธัญพืชที่ได้รับการเติมกรดโฟลิก
  • ตับวัว
  • ผักโขม
  • เส้นก๋วยเตี๋ยวไข่

https://www.webmd.com/baby/folic-acid-and-pregnancy#1


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Folic acid and pregnancy. (2014). (https://kidshealth.org/en/parents/preg-folic-acid.html)
Why do I need folic acid in pregnancy? NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/why-do-i-need-folic-acid-in-pregnancy/)
Folic Acid and Pregnancy: How Much You’ll Need. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/folic-acid)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป