ประโยชน์ของน้ำเชอร์รี่

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์ของน้ำเชอร์รี่

น้ำเชอร์รี่นั้นไม่เพียงแต่อร่อยและทำให้สดชื่นเท่านั้นแต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย น้ำเชอร์รี่ 1 ถ้วยนั้นให้พลังงานประมาณ 120 แคลอรี และอุดมไปด้วยสารอาหารเช่นโพแทสเซียมและธาตุเหล็ก เวลาเลือกรับประทานให้มองหาน้ำเชอร์รี่สด 100% ที่ไม่ใส่สารเพิ่มความหวาน

คุณอาจจะเคยเห็นน้ำผลไม้ที่ทำมาจากน้ำผลไม้เข้มข้น และไม่ได้ทำมาจากน้ำผลไม้เข้มข้น ทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่ได้แตกต่างกันในแง่ของคุณค่าทางสารอาหาร โดยน้ำผลไม้เข้มข้นนั้นหมายถึงการที่ผู้ผลิตทำการคั้นน้ำผลไม้ออกมาก่อนที่จะกรอง แยกน้ำ แล้วจึงเติมน้ำเข้าไปใหม่เพื่อทำการบรรจุขาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนั้นยังอาจจะมีการใช้เชอร์รี่หลายสายพันธุ์ Tart cherry นั้นมักจะมีรสเปรี้ยวและให้สาร anthocyanin มากกว่าน้ำจากเชอร์รี่สีดำซึ่งจะมีรสหวานกว่า Anthocyanin นั้นเป็นสารที่ช่วยกระต้นกระบวนการต้านการอักเสบในร่างกาย แต่เชอร์รี่ทั้ง 2 ชนิดนั้นก็ล้วนแต่มีคุณค่าทางอาหารสูง

ต่อไปนี้เป็นเหตุผลที่คุณควรดื่มน้ำเชอร์รี่

1.ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังการออกกำลังกาย

น้ำเชอร์รี่อาจจะช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหลังการออกกำลังกายได้ เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูงซึ่งทำหน้าที่นำกระแสประสาททั่วทั้งร่างกาย โพแทสเซียมยังช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับของสารน้ำในร่างกาย การฟื้นฟูของกล้ามเนื้อ การนำกระแสประสาท การย่อยอาหาร อัตราการเต้นของหัวใจและสมดุลกรดเบส น้ำเชอร์รี่นั้นมีโพแทสเซียมประมาณ 330 มิลลิกรัมต่อถ้วยซึ่งคิดเป็นเกือบ 10% ของปริมาณที่คุณควรได้รับในแต่ละวัน

2.ช่วยลดการอักเสบและอาการปวดจากโรคข้ออักเสบ

งานวิจัยพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในน้ำจาก Tart cherry นั้นสามารถลดอาการปวดและการอักเสบจากโรคข้ออักเสบได้ โดยพบว่าการดื่มน้ำเชอร์รี่วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 21 วันนั้นจะช่วยลดอาการปวดที่ผู้ป่วยรู้สึกได้ การตรวจเลือดยังพบว่าพวกเขามีการอักเสบที่ลดลงอีกด้วย

3.ลดอาการบวม

ส่วนมากเวลาที่มีอาการปวดจากการบวม โดยปกติมักจะใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่ผลของยาเหล่านี้อาจจะเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะหากรับประทานบ่อยหรือมีประวัติแพ้ยา งานวิจัยหนึ่งพบว่าอาหารเสริมจากน้ำเชอร์รี่นั้นสามารถลดการอักเสบและพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดในสัตว์ได้

4.กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

เช่นเดียวกับผักและผลไม้ต่างๆ เชอร์รี่นั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารกำจัดเชื้อไวรัส Flavonoids นั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในน้ำเชอร์รี่นั้นเป็นสารที่พืชสร้างออกมาเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ งานวิจัยพบว่าสารเหล่านี่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้

5.ควบคุมการเผาผลาญในร่างกายและลดไขมัน

มีหลักฐานในสัตว์ที่พบว่า tart cherry นั้นสามารถช่วยปรับกระบวนการเผาผลาญในร่างกายและความสามารถในการลดไขมันหน้าท้อง งานวิจัยหนึ่งพบว่าสาร anthocyanin ซึ่งเป็นสาร flavonoids ชนิดหนึ่งที่ทำให้เชอร์รี่มีสีแดงนั้นมีฤทธิ์ต้านการเกิดโรคอ้วน งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในหนูพบว่า tart cherry สามารถช่วยลดการอักเสบและไขมันในช่องท้องและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเมตะบอลิกได้

6.ช่วยในการนอนหลับ

งานวิจัยหนึ่งพบว่าสารต้านการอักเสบในน้ำเชอร์รี่ร่วมกับฮอร์โมนเมลาโทนินนั้นอาจจะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น และน้ำจาก tart cherry นั้นอาจจะมีผลคล้ายกับยารักษาโรคนอนหลับในผู้ใหญ่

7.ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง

งานวิจัยหนึ่งได้เปรียบเทียบน้ำเชอร์รี่กับยา sulindacซึ่งเป็นยาที่สามารถป้องกันการอักเสบที่ใช้บ่อยในการรักษาเนื้องอกที่ลำไส้ใหญ่ในสัตว์ และพบว่าน้ำเชอร์รี่นั้นสามารถลดการโตของเซลล์มะเร็งได้ ถึงแม้ว่าน้ำเชอร์รี่นั้นจะไม่ได้มีสารต้านอนุมูลอิสระและสารอาหารมากมายเช่นนี้ แต่มักก็ยังเป็นเครื่องดื่มที่อร่อยและทำให้สดชื่น ลองทานน้ำเชอร์รี่แทนการรับประทานน้ำอัดลมและเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sour Cherry: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-771/sour-cherry)
10 Health Benefits of Tart Cherry Juice. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/10-tart-cherry-juice-benefits)
Black Cherries: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactions. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/black-cherry-juice-89419)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)