ประโยชน์ของมะกรูด ไอเดียการกินการใช้มะกรูดเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ประโยชน์ของมะกรูด ไอเดียการกินการใช้มะกรูดเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง

มะกรูดเป็นสมุนไพรไทยที่เรารู้จักกันดี มักนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ดูแลด้านสุขภาพและความงาม ให้ประโยชน์และสรรพคุณหลายอย่าง มีทั้งสารต้านอนุมูลอิสระสูง และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ว่าแต่จะมีดีอย่างไรอีกบ้าง วันนี้เราลองมาดูประโยชน์ดี ๆ ของมะกรูดเพิ่มเติมกันเลย

ทำความรู้จักมะกรูด

มะกรูด ภาษาอังกฤษเรียกว่า Kaffir lime, Leech lime มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น มะกรูดเป็นต้นไม้ขนาดเล็กมีเนื้อแข็ง มีผลคล้ายกับมะนาว แต่มีผิวเปลือกนอกขรุขระ มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันหอมระเหยอยู่ใต้ผิวเปลือก จึงนิยมนำมาทำอาหารให้หอมอร่อยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ มะกรูดยังเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลส้ม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางโภชนาการ

ผิวมะกรูดขนาด 100 กรัม ประกอบไปด้วย

ประโยชน์ของมะกรูด

มะกรูด ผลไม้ที่มีลักษณะคล้ายผลมะนาวเพียงแต่จะแตกต่างตรงผิวที่ขรุขระและผลของมันก็สีเขียวเข้มอย่างเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังมีกลิ่นหอมอย่างมากอีกด้วย ในส่วนประโยชน์ของผลก็มีหลากหลายดังนี้

ช่วยลดความเครียด

กลิ่นหอมของมะกรูดจะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ การเลือกน้ำมันหอมระเหยมะกรูด ควรเลือกชนิดที่มีความเข้มข้นไม่เกิน 1% เพราะหากมีความเข้มข้นมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ ผู้ที่ต้องเผชิญกับความเครียดบ่อย ๆ การสูดดมกลิ่นหอมจากมะกรูด จะทำให้ผ่อนคลาย ความเครียดก็ค่อยๆ บรรเทาลง

รักษาอาการบอบช้ำ

มะกรูดสามารถใช้แก้อาการบอบช้ำได้เหมือนกับใบบัวบก โดยจะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง เหมาะสำหรับผู้ที่อาเจียนเป็นเลือด มะกรูดจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของใบซึ่งมีสรรพคุณดังกล่าว และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจึงช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งได้อีกด้วย

ลดคอเลสเตอรอล

มะกรูดช่วยลดคอเลสเตอรอล จากการยับยั้งเอนไซม์ HMG-CoA ซึ่งเป็นเอนไซม์คอเลสเตอรอล และลดการสร้าง LDL ที่เป็นไขมันไม่ดี และช่วยลดความดันโลหิตลงได้

บำรุงหัวใจ

มะกรูดมีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจให้แข็งแรง เนื่องจากการทานมะกรูดเป็นประจำ จะทำให้เลือดมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น หัวใจจึงไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ซึ่งก็ช่วยลดความเสี่ยงการป่วยด้วยโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลดความเสี่ยงมะเร็ง

แค่กินมะกรูด ก็สามารถลดความเสี่ยงการป่วยด้วยโรคมะเร็งได้ เพราะในมะกรูดมีเบต้าแคโรทีนสูงมาก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ที่จะยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้พบว่าในผู้ที่ป่วยมะเร็งระยะเริ่มแรก ก็สามารถบรรเทาอาการและชะลอการป่วยของโรคมะเร็งได้อีกด้วย

ป้องกันโรคไมเกรน

มะกรูดสามารถป้องกันและลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ เพราะในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหย ที่มีคุณสมบัติในการสร้างความผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี มะกรูดจึงสามารถป้องกันอาการปวดหัว และลดความเครียดที่เป็นตัวการหนึ่งของโรคไมเกรนได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้การดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวในผู้ที่เป็นไมเกรนได้เหมือนกัน

แก้อาการเวียนหัว หน้ามืด เป็นลม

ไม่ว่าจะมีอาการเวียนหัวหน้ามืด หรือเป็นลมด้วยสาเหตุใดก็ตาม การดมกลิ่นหอมของมะกรูด จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและแก้อาการเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะในคนที่มีอาการแพ้ท้อง กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยของมะกรูด จะช่วยได้มากทีเดียว

ไอเดียการใช้มะกรูดเพื่อสุขภาพ

มะกรูดเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากผิวมะกรูดแล้ว ใบมะกรูด รากมะกรูด ล้วนมีสรรพคุณทางยาทั้งนั้น เราลองมาดูวิธีการใช้มะกรูดเพื่อสุขภาพกันเลย

แก้อาการปวดท้องในเด็ก

วิธีใช้ให้นำผลมะกรูดมาคว้านไส้ออก เอามหาหิงส์ใส่และปิดจุก นำไปเผาไฟจนไหม้ บดเป็นผงแล้วละลายกับน้ำผึ้ง นำมาให้เด็กรับประทานหรือจะใช้สำหรับป้ายลิ้นเด็กอ่อนก็ได้

ฟอกโลหิต

วิธีใช้ให้นำผลมะกรูดมาผ่าครึ่ง แล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้ง หลังจากนั้น 1 เดือน นำเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม นอกจากนี้ผลมะกรูดยังช่วยขับฤดู และขับลมได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แก้อาการนอนไม่หลับ

มะกรูดสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อาการนอนไม่หลับ โดยสามารถนำมาใช้รักษา 2 วิธีคือ

สูตร 1 การนำผิวมะกรูดมาบดกับรากชะเอม ไพล เฉียง พร้า ขมิ้นอ้อย แล้วนำมาต้มดื่ม

สูตร 2 การใช้น้ำมันหอมระเหยมะกรูด โดยนำมาพ่นบนข้างๆ บริเวณหมอนก่อนนอนก็จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายและหลับสบายมากขึ้น เพราะมะกรูดมีสารฟลาโวนอยด์ที่จะช่วยผ่อนคลายเส้นประสาท และช่วยให้ร่างกายหลั่งเซโรโทนิน รวมถึงโดพามีนที่จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

ขับสารพิษออกจากร่างกาย

ในส่วนของผิวมะกรูดยังมีฤทธิ์ในการขับสารพิษออกจากร่างกายทางผิวหนัง เพียงนำผิวมะกรูดไปใช้ในการอบซาวน่าก็จะช่วยได้

ลดอาการจุกเสียด

มะกรูดมีสรรพคุณช่วยขับลมได้ หากมีอาการจุกเสียดแน่น ท้องอืด ให้นำมะกรูดมาฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วเติมพิมเสนหรือการบูรลงไป นำไปชงในน้ำเดือด แล้วนำน้ำมาดื่ม 1 – 2 ครั้ง จะทำให้อาการดีขึ้น

ลดกลิ่นเท้า

นำมะกรูดมาผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาขัดตามซอกเท้า โดยเฉพาะจุดที่มีกลิ่นแรง จะทำให้กลิ่นเหม็นค่อย ๆ จางไป ทำให้เท้าสะอาดมากขึ้น ซึ่งสรรพคุณจากมะกรูดยังช่วยในการฆ่าเชื้อราบนผิวหนังให้ตายลงได้ ทำบ่อยๆ ปัญหากลิ่นเท้าเหม็นจะค่อยๆ จางไปอย่างแน่นอน

แก้ปัญหาหนังศีรษะและเส้นผม

ปัญหาหนังศีรษะและเส้นผม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผมขาว ผมร่วง รังแค หรือผมแห้งไม่แข็งแรง สามารถใช้มะกรูดช่วยบำรุงรักษาได้ โดยมีวิธีการทำดังต่อไปนี้

สูตรบำรุงผมให้สุขภาพดี : นำมะกรูดมาผ่าครึ่งต้มกับน้ำ แล้วนำมาคั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำมะกรูดเข้มข้นมาชโลมให้ทั่วศีรษะ นวดศีรษะเบา ๆ ให้ทั่ว แล้วล้างออกตามปกติ ปัญหาผมแห้งไม่มีน้ำหนักก็จะหมดไป เส้นผมก็จะสวยเงางามอย่างมีสุขภาพดี

สูตรขจัดรังแค : นำมะกรูดไปเผาไฟ จนเริ่มมีน้ำซึมออกมา แล้วนำไปผ่าครึ่ง คั้นเอาเฉพาะน้ำ นำมาชโลมหนังศีรษะให้ทั่ว หมักทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออก หากทำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้รังแคลดลง ทำให้หนังศีรษะสะอาดขึ้น เพราะมะกรูดมีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะตัวการของรังแคก็จะลดลง สุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะก็จะแข็งแรงตามมา

ขัดผิวขาวใส

มะกรูดเหมาะสำหรับการใช้ขัดผิวให้ขาวใส ให้นำมะกรูดมาผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ นำมาผสมกับนมสด ข้าวโอ๊ต น้ำผึ้ง ผสมทุกอย่างจนเข้ากัน นำใยบวบมาชุบส่วนผสมแล้วนำมาขัดผิวจะทำให้เซลล์ผิวเก่าหลุดออกไป ผิวพรรณก็จะค่อยๆ ขาวกระจ่างใส ไร้ความหมองคล้ำ หมั่นทำสัปดาห์ละ 2 ครั้งอย่างต่อเนื่อง ผิวจะขาวกระจ่างใสอย่างสังเกตได้

กำจัดแมลง

กลิ่นหอมของมะกรูดยังช่วยขับไล่แมลงได้ เนื่องจากเป็นกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ เหมาะสำหรับการนำมาไล่ยุงและแมลงทั่วไป วิธีใช้ไล่ยุง ให้นำเปลือกมะกรูดมาตากแห้ง แล้วนำไปเผาไฟ กลิ่นของมะกรูดจะช่วยไล่ยุง นอกจากนี้ ยังสามารถนำมากำจัดลูกน้ำและใช้ไล่มอดในข้าวได้ดี โดยนำมะกรูดมาฉีกเป็นชิ้น เพื่อให้มีกลิ่นออกมา จากนั้นให้ใส่ลงไปในถังข้าวสาร เมื่อมอดได้กลิ่นก็จะหนีออกไป  

แก้ปัญหาเมื่อถูกปลิงกัด

เมื่อถูกปลิงกัดให้นำมะกรูดที่ผ่าออกแล้ว มาถูบริเวณที่ปลิงเกาะ กลิ่นของมะกรูดจะทำให้ปลิงหลุดออกมาได้อย่างง่ายดาย

ไอเดียการกินมะกรูดเพื่อสุขภาพ

ด้วยเพราะมะกรูดมีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ใต้ผิว จึงสามารถนำมาใช้แทนมะนาวได้ และยังเป็นส่วนผสมหนึ่งในเครื่องพริกแกงต่างๆ เหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร หอมอร่อยมากยิ่งขึ้น ไปดูไอเดียการกินมะกรูดเพิ่มเติมกันเลย

หมูสับตะไคร้ใบมะกรูด

ซอยตะไคร้ พริก ใบมะกรูดเตรียมไว้ นำกระทะขึ้นตั้งไฟใส่น้ำมันลงไป เมื่อเริ่มร้อนจึงใส่หมูสับ ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ลงไปคั่วจนใกล้สุก จากนั้นปรุงรสด้วยซอส เกลือ และน้ำตาลตามชอบ คั่วให้แห้งจนเข้ากัน แล้วปิดไฟ ตักขึ้นเสิร์ฟกับข้าวสวยร้อน ๆ

ผัดพริกเผาใบมะกรูด

เตรียมเนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปหมักด้วยเครื่องหมักหมู คลุกเคล้าจนทั่ว หมักทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที หลังจากนั้นนำหมูมาย่างในกระทะจนเกือบสุก หั่นเป็นชิ้นหนา ๆ พักทิ้งไว้ จากนั้นตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่น้ำมันลงไป ใส่กระเทียมลงไปเจียว ตามด้วยพริกเผา และเครื่องปรุงต่าง ๆ ผัดคลุกเคล้าจนเข้ากัน แล้วใส่หมูย่างลงไป ปรุงรสด้วยซอส เกลือ น้ำตาล และใส่ใบมะกรูด ผัดให้เข้ากัน ตักขึ้นเสิร์ฟ

มะกรูดเชื่อม

ปอกเปลือกผิวมะกรูดที่มีสีเขียวออกจนหมด ผ่าผลมะกรูดเป็นครึ่งลูก ควักไส้ออกให้หมด แล้วเอาน้ำมะกรูดไปขยำในน้ำเกลือจากนั้นบีบให้แห้ง นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดบีบให้แห้งอีกครั้ง นำไปขยำในน้ำเกลือแล้วบีบให้แห้ง นำมาขยำกับน้ำเปล่าบีบให้แห้ง ให้ทำแบบนี้ 5 ครั้ง เมื่อเนื้อมะกรูดแห้งแล้ว นำไปแช่ในน้ำเกลือทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นนำมาล้างน้ำเปล่า แล้วบีบให้แห้ง จากนั้นนำน้ำตาลมาละลายในน้ำเปล่า ตั้งไฟไว้เคี่ยวให้น้ำเชื่อมเหนียว ใส่เนื้อมะกรูดลงไป ลดไฟอ่อนเชื่อมจนเนื้อมะกรูดกลายเป็นสีใส จากนั้นตักขึ้นพัก เก็บใส่โถไว้ นำออกมาทานยามว่าง

ข้อควรระวัง

ระวังผิวไหม้แดด มะกรูดถึงแม้จะมีสรรพคุณบำรุงร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่เพราะในน้ำมะกรูดมีสารออกซิเพดามิน หากผิวถูกน้ำมันมะกรูดโดยตรง แล้วถูกแสงแดด อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง จนส่งผลให้ผิวไหม้แดดได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรระวังการใช้มะกรูดในปริมาณที่มากเกินไป เพราะสารในมะกรูดจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าระดับปกติ

ปัญหาโพแทสเซียม ในมะกรูดมีสาร bergapten ซึ่งเป็นสารที่จะส่งผลต่อการลดระดับโพแทสเซียมในเลือด และเป็นต้นเหตุของการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและอาการกล้ามเนื้อกระตุก ดังนั้น จึงไม่ควรบริโภคในปริมาณมากเกินไป

มะกรูดเป็นสมุนไพรที่ได้มีการนำมาใช้เป็นยาตั้งแต่สมัยโบราณ มีกลิ่นหอม ช่วยลดความเครียดและบำรุงสุขภาพได้อีกหลายด้าน ทั้งยังนิยมนำมาใช้นำการดูแลเส้นผม ทำให้ผมดกดำแข็งแรง แก้ปัญหาหนังศีรษะและเส้นผมได้ นอกจากผลแล้ว ในส่วนของใบมะกรูดยังมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง จะช่วยทำให้รสชาติอาหารหอมอร่อยมากยิ่งขึ้น แถมยังดีต่อสุขภาพในด้านการกินสมุนไพรเป็นยาอีกด้วย


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Benefits and Side Effects of Drinking Bergamot Tea. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/bergamot-tea-benefits-and-side-effects-4163919)
Bergamot: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-142/bergamot)
Bergamot Oil: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactions. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-bergamot-essential-oil-88774)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป