เป็นนักจิตวิทยาแล้วจะได้อะไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เป็นนักจิตวิทยาแล้วจะได้อะไรบ้าง

เป็นนักจิตวิทยาแล้วมีดีอะไรบ้าง ? เป็นคำถามที่นักเรียนที่มีความมุ่งมั่นอยากทำอาชีพนี้ควรถามตัวเอง เพราะก่อนที่คุณจะตัดสินใจถึงการทำงานประกอบอาชีพของคุณ มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะถามตัวเองว่าตัวคุณจะมีความสุขกับอาชีพ นักจิตวิทยา นี้แน่รึเปล่า

การเป็นนักจิตวิทยายังมีข้อดีอีกมากมาย นอกเหนือไปจากการที่ได้ทำงานในสาขาที่คุณรัก คุณยังมีโอกาสที่จะได้พบเจอประสบการณ์ ความท้าทายใหม่ ๆ ช่วยเหลือผู้คนรอบตัวให้สามารถเติบโตก้าวผ่านไปได้ และได้เรียนรู้หลายสิ่งใหม่ ๆ ในตัวของคุณเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปรพโยชน์จากการเป็นนักจิตวิทยา

1. ความสุขจากการได้ช่วยเหลือคนอื่น

สิ่งหนึ่งที่ดึงดูดให้หลาย ๆ คนมาเป็นนักจิตวิทยาก็คือการได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณรักที่จะทำงานกับผู้คน การทำงานในด้านจิตวิทยาก็เป็นตัวเลือกที่ดี ในขณะที่หลายครั้งอาจจะต้องแบกรับความเครียด แต่นักจิตวิทยาหลายท่านก็ยังพูดถึงอาชีพนี้ว่าเป็นอาชีพที่มีความสุขดีกับการทำให้ผู้อื่นพึงพอใจและมีความสุข

2. ตารางการทำงานยืดหยุ่นได้

อ้างอิงจากหนังสือแนะนำอาชีพ “Occupational Outlook Handbook” จัดทำโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ (U.S. Department of Labor) หนึ่งในสามของนักจิตวิทยานั้นทำงานได้อย่างอิสระ เพราะคุณต้องจัดตารางเวลาในการทำการบำบัดเอง ซึ่งเป็นข้อดีเด่นอีกอย่างหนึ่งของการเป็นนักจิตวิทยาคือ นอกเหนือไปจากคุณจะมีอาชีพที่เติมเต็มและมีความสุขดีแล้ว คุณยังมีเวลาให้ครอบครัวและเพื่อนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้นักจิตวิทยาในโรงพยาบาล หรืองานสุขภาพจิตอาจมีตารางงานไม่ยืดหยุ่นเช่นเพื่อนนักจิตวิทยาคนอื่น ๆ ที่ได้ทำงานอย่างอิสระ แต่พวกเขาก็ยังมีโอกาสที่จะจัดสรรเวลาการทำงานของตัวเอง และแบ่งไว้ใช้ชีวิตกับใช้เวลากับครอบครัวได้ตามต้องการ

3. แนวโน้มรายได้ค่อนข้างสูง

แม้จำนวนเงินเพียงอย่างเดียวไม่ใช่สาเหตุที่ดีเท่าไรนักในการเลือกอาชีพ แต่สำหรับนักจิตวิทยาแล้วจำนวนเงินตอบแทนก็คุ้มค่ากับเวลาและการทำงานของพวกเขา โดยเฉลี่ยแล้วรายได้จะอยู่ที่ $50,000 - $100,000 ต่อปี (1.8 - 3.6 ล้านบาทต่อปี) บางคนที่ทำงาน part-time ก็ยังมีรายได้ดี สำหรับการที่ได้มีเวลาไปดูแลลูก หรือทำงานอื่น ๆ

นอกจากนี้เรื่องเงินเดือนยังบอกถึงระดับปริญญาในการทำงานด้านนั้น ๆ สำหรับคนที่ได้ undergraduate degree จิตวิทยา ก็ไม่สามารถเรียกตัวเองเป็น ‘นักจิตวิทยา’ ได้เต็มปากเท่าไรนักเนื่องจากเป็นชื่อที่มีกรรมสิทธิ์ตามกฏหมาย และคนที่จบปริญญาตรีก็จะได้เงินเดือนที่ต่ำกว่า และตัวเลือกสำหรับการทำงานน้อยกว่า

4. สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวได้

หากคุณชอบการทำงานและมีใจรัก-ความคิดอยากเป็นผู้ประกอบการ การเป็นนักจิตวิทยาก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี ตามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 30 ของนักจิตวิทยานั้นได้ทำงานอย่างอิสระ

นอกจากนี้การที่คุณมีคลินิกให้การบำบัดรักษาส่วนตัวยิ่งทำให้คุณสามารถกำหนดเวลาการทำงานของคุณได้ นักจิตวิทยาที่ทำงานเฉพาะทางในด้านต่าง ๆ เช่น จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาการศึกษา และ นิติจิตวิทยา ยังสามารถมีโอกาสทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาส่วนบุคคลได้อย่างอิสระ

5. สามารถพบเจอประสบการณ์ความท้าทายใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

สาขาจิตวิทยานั้นนอกจากจะพบเจอความหลากหลายแล้วยังมีความท้าทายอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในสาขาไหนก็ตาม ทำให้ยากที่คุณจะเบื่อการทำงาน นักจิตวิทยาคลินิกมักจะได้พบผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาชีวิตต่าง ๆ สำหรับด้านเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น จิตวิทยาการกีฬา หรือ นิติจิตวิทยา ก็จะพบเจอผู้ป่วยที่มีความต้องการ และอุปสรรคต่าง ๆ กันไป การเป็นนักจิตวิทยาอาจทำให้รู้สึกเครียดในบางครั้ง แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเสนอว่าจุดนี้แหละที่ทำให้อาชีพนี้น่าสนใจ เพราะมันคือการท้าทายทางปัญญา

6. มีโอกาสได้ทำความรู้จักผู้คนหลากหลายประเภท

หากคุณชอบที่จะทำงานกับผู้คนหลากหลายและช่วยเหลือพวกเขาอย่างสุดเต็มความสามารถแล้ว การเป็นนักจิตวิทยานั้นเป็นงานที่จะมีคุณค่าอย่างมากสำหรับคุณ คุณจะได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย กับการได้เห็นผู้ป่วยอาการดีขึ้น และสามารถกลับไปทำงานได้ตามเป้าหมายของพวกเขา ที่จะทำให้คุณรู้สึกประสบความสำเร็จ ไม่ว่าคุณจะทำงานกับเด็ก ผู้ใหญ่ คู่แต่งงาน หรือครอบครัว คุณจะมีโอกาสที่ได้พบเจอพวกเขาเหล่านี้และช่วยเหลือในทุก ๆ เส้นทางของชีวิต


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)