เห็ดหลินจือแดง ต้นตำรับยาอายุวัฒนะ

ส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ต่อต้าน ยับยั้งการก่อโรค ป้องกันโรค และรักษาโรคได้
เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เห็ดหลินจือแดง ต้นตำรับยาอายุวัฒนะ

เห็ดหลินจือ  หรือชื่อวิทยาศาสตร์  Ganoderma lucidum (Fr.) Karst   เป็นเห็ดที่ปรากฏชื่ออยู่ในตำราสมุนไพรโบราณของจีนมานานหลายพันปี  และได้รับยกย่องให้เป็นราชาแห่งสมุนไพรจีน  เป็นเทพเจ้าแห่งชีวิตที่มีพลังมหัศจรรย์  เนื่องจากเห็ดหลินจือมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะบำรุงร่างกาย  บำรุงกำลัง  บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และใช้รักษาอาการเจ็บป่วยได้หลายอย่าง  เห็ดหลินจือในธรรมชาติมีมากมายกว่าร้อยสายพันธุ์ แต่พบว่า  "สายพันธุ์สีแดง" หรือ "เห็ดหลินจือแดง"  มีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุด   

ปัจจุบันผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ยืนยันอย่างชัดเจนว่า เห็ดหลินจือแดงอุดมด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีฤทธิ์ทางยามากมาย ทั้งช่วยกระตุ้น ส่งเสริมการทำงานของระบบในร่างกาย  ต่อต้าน ยับยั้งการก่อโรค หรือป้องกันโรค และรักษาโรคได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คราวนี้เรามารู้จักสรรพคุณของเห็ดหลินจือแดงแบบละเอียดกันดีกว่า

สรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือแดง

1. ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีบทบาทช่วยยับยั้งการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และรา  ผลจากการกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวจะไปกระตุ้นให้เซลล์พิฆาตมะเร็ง (NK cell) ทำงานได้ดีขึ้นด้วย ส่งผลให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและเซลล์มะเร็งได้อย่างดี  

2. ช่วยการทำงานของตับและยับยั้งเซลล์มะเร็ง

เห็ดหลินจือแดงมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น สารในกลุ่ม Triterpenoid ซึ่งมีส่วนช่วยร่างกายขับสารพิษจึงทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้น   จากการทดลองยังพบว่า สารดังกล่าวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับอีกด้วย 

3. รักษาอาการภูมิแพ้

สารประกอบสำคัญในเห็ดหลินจือแดงมีส่วนช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) ของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบจึงช่วยบรรเทาผดผื่นคันบนผิวหนัง รวมถึงอาการไอ จาม คัดจมูก ซึ่งเกิดจากภูมิแพ้ได้

4. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

สารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดหลินจือแดงจะช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลาย ยับยั้งการเกาะตัวของไขมันและลิ่มเลือดบนผนังหลอดเลือด อีกทั้งช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้

5. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์

สารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดหลินจือแดงจะช่วยปกป้องเซลล์ผิวหนังจากการถูกทำลายจึงช่วยให้ผิวคงความอ่อนเยาว์ และยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

6. บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน

มีงานวิจัยที่พบว่า สารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงสามารถลดน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่เป็นเบาหวานได้จึงสันนิษฐานว่า เห็ดหลินจือแดงน่าจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลินและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้เช่นกัน

7. ลดความดันโลหิต

มีการศึกษาที่พบว่า การให้สารสกัดเห็ดหลินจือแดงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะช่วยลดระดับความดันโลหิตลงได้  ทั้งยังอาจช่วยลดระดับไขมันในเลือดและลดการเกาะของไขมันในหลอดเลือดได้

8. ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียและซึมเศร้า

มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือเป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ติดต่อกัน สามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลีย  อาการกระวนกระวาย และภาวะซึมเศร้าได้  

เห็ดหลินจือแดง รับประทานในรูปแบบไหนดี

  • รูปแบบโบราณ คือ การนำเห็ดหลินจือไปตากแห้ง จากนั้นนำมาต้มกับน้ำและดื่ม วิธีนี้อาจยุ่งยากแถมรสชาติยังอาจขมเฝื่อน ทำให้รับประทานได้ยาก
  • รูปแบบแคปซูล โดยนำเห็ดหลินจือแห้งมาบดเป็นผง และนำมาบรรจุในแคปซูล วิธีนี้แม้จะทำให้รับประทานได้ง่ายขึ้น แต่ปัญหาคือ ดูดซึมยาก และหากไม่มีการควบคุมคุณภาพให้ดีก็อาจมีการปนเปื้อนได้
  • รูปแบบแคปซูล หรือยาเม็ด จากสารสกัดเห็ดหลินจือแดง  รูปแบบนี้จะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จนได้สารสกัดที่มีความเข้มข้น และอุดมด้วยสารที่มีคุณประโยชน์ตามต้องการ ดูดซึมได้ง่าย

แม้จะมีสรรพคุณมากมายขนาดนี้ แต่บางครั้งก็พบผลข้างเคียงจากการรับประทานเห็ดหลินจือแดงได้เช่นกัน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เห็ดหลินจือแดง

การศึกษาเห็ดหลินจือแดงพบว่า ผลข้างเคียงส่วนใหญ่พบในผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือแดง 2 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 4 เดือน จะมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน  เช่นเดียวกับผู้ที่เริ่มรับประทานเห็ดหลินจือแดงซึ่งอาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง ไม่สดชื่น ง่วงซึม บางครั้งอาจมีอาการปวดตามข้อ ระบบขับถ่ายแปรปรวน และคันตามผิวหนังได้  สันนิษฐานว่า อาการดังกล่าวเกิดจากกระบวนการขับสารพิษออกจากร่างกายและจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์  หากใครทนผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ไหว หรือรู้สึกไม่สบายใจ อาจปรึกษาแพทย์ ลดปริมาณที่รับประทานลง หรือหยุดรับประทานสักพักก็ได้  อย่างไรก็ดี ยังไม่พบผลข้างเคียงที่เกิดกับตับและไต  มีรายงานว่า หากเป็นผู้ที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงอาจทำให้ตับถูกทำลายได้ แต่ยังไม่เป็นที่ยืนยันว่า มีสาเหตุจากเห็ดหลินจือแดง หรือมีสาเหตุจากส่วนผสมในกระบวนการสกัดที่เป็นพิษต่อตับ  

อย่างไรก็ตาม  ปัจจุบันข้อมูลความปลอดภัยยังมีจำกัด  ดังนั้นสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร ผู้เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ผู้มีความดันโลหิตต่ำ และผู้ที่วางแผนจะเข้ารับการผ่าตัดในอนาคตอันใกล้ไม่ควรรับประทานเห็ดหลินจือแดง ส่วนผู้ที่รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อยู่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Soonthornchareonnon N. Ganoderma lucidum spore: The reason why its wall should be broken for medicinal use. J Thai Tradit Altern Med 2008; 6(3): 313-21.
Grant Tinsley, PhD, 6 Benefits of Reishi Mushroom (Plus Side Effects and Dosage) (https://www.healthline.com/nutrition/reishi-mushroom-benefits), 31 March 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เห็ดหลินจือ (Lingzhi mushroom)
เห็ดหลินจือ (Lingzhi mushroom)

ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณ เมนูสุขภาพจากเห็ดหลินจือ และข้อควรระวัง

อ่านเพิ่ม