เบื้องหลังของโต๊ะยืน

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เบื้องหลังของโต๊ะยืน

คุณกำลังอ่านบทความนี้ระหว่างที่กำลังยืนที่โต๊ะหรือไม่?

โต๊ะเหล่านี้ทำให้คุณสามารถทำงานตามปกติในขณะที่ยืนแทนการนั่ง มันสามารถสร้างขึ้นตามสั่ง หรืออาจจะเกิดจากการปรับโต๊ะธรรมดาให้กลายเป็นโต๊ะสำหรับยืนได้โดยการยกคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีมานี้พบว่าโต๊ะลักษณะนี้ได้รับความนิยมขึ้นมาก และในบางครั้งอาจจะมากกว่าการขายโต๊ะปกติ

แน่นอนว่าการยืนนั้นดีกว่าการนั่งนานๆ ทั้งวัน แต่สงสัยหรือไม่ว่าแนวคิดในการเกิดโต๊ะทำงานขณะยืนนั้นมาได้อย่างไร? ทฤษฎีหนึ่งที่พบกันทั่วไปก็คือ การยืนนั้นต้องใช้ความพยายามและพลังงานมากกว่าการนั่ง และจะช่วยทำให้คุณสามารถเผาผลาญพลังงานเพิ่มเติมใน แต่โต๊ะทำงานขณะยืนเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มหรือลดน้ำหนักได้จริงหรือ?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารหนึ่งได้ทำการศึกษาปริมาณการใช้ออกซิเจนซึ่งจะแสดงถึงพลังงานที่ใช้ในระหว่างที่ทำกิจกรรมต่างๆ

  • ผลที่ได้ก็คือระหว่างที่นั่ง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเผาผลาญพลังงานไป 80 แคลอรี/ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับการพิมพ์งานหรือดูโทรทัศน์
  • ในขณะที่ยืน พลังงานที่ใช้นั้นเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือ 88 แคลอรี/ชั่วโมง
  • การเดินนั้นเผาผลาญพลังงาน 210 แคลอรี/ชั่วโมง

ดังนั้นการใช้โต๊ะยืนนั้นจะเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นเพียง 24 แคลอรี หรือเทียบเท่ากับพลังงานที่ได้รับจากแครอท แต่การเดินแม้เพียง ครึ่งชั่วโมงนั้นจะทำให้คุณเผาผลาญพลังงานได้เพิ่มขึ้นวันละ 100 แคลอรี

รายงานก่อนหน้านี้ที่ทำการเปรียบเทียบพลังงานที่ใช้ระหว่างการนั่งและการยืนพบว่าการยืนนั้นใช้พลังงานมากกว่าการนั่งมาก แต่งานวิจัยล่าสุดนี้ทำให้ได้ค่าพลังงานที่ใช้ที่แม่นยำมากกว่า

ทำไมคุณถึงควรยืนขณะทำงาน

แม้ว่างานวิจัยใหม่นั่นจะพบว่าการยืนนั้นไม่ได้ช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนัก แต่ก็อาจจะมีเหตุผลอื่นในการยืนทำงานก็ได้ ผู้ที่สนับสนุนการยืนนั้นกล่าวว่ามีงานวิจัยที่แสดงว่าระดับน้ำตาลหลังอาหารนั้นจะลดเข้าสู่ระดับปกติได้เร็วกว่าในวันที่ยืนมากกว่านั่ง และการยืนนั้นอาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดไหล่และหลังได้

ประโยชน์อื่นๆ ที่เชื่อว่าสามารถได้รับจากการใช้โต๊ะทำงานแบบยืนนั้นอ้างอิงมาจากการที่พบว่าการนั่งนานๆ นั้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิน

  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • มะเร็ง (โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้หรือเต้านม)
  • การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

แต่การที่ไม่นั่ง นั้นสามารถหมายถึงหลายอย่างทั้งการเดิน หรือแม้แต่การยืน และจากงานวิจัยล่าสุด พบว่ากิจกรรมเหล่านี้มีการใช้พลังงานที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ที่อาจจะได้รับจากการใช้โต๊ะทำงานแบบยืน ดังนั้นจึงยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีประโยชน์หรือไม่?

หากคุณต้องการจะยืนทำงาน

อย่าลืมว่าโต๊ะทำงานแบบยืนนั้นก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่นหากคุณเปลี่ยนจากการนั่งทั้งวันมาเป็นการยืนทั้งวัน คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดหลัง ขา หรือเท้าได้ วิธีที่ง่ายกว่าคือการค่อยๆ เพิ่มเวลาที่ยืนในแต่ละวัน การตั้งนาฬิกาเตือนว่าเวลาไหนที่คุณควรจะนั่งหรือยืนนั้นอาจจะทำให้คุณเสียสมาธิและลดประสิทธิภาพในการทำงานได้ ดังนั้นคุณจึงอาจจะลองยืนทำงานในช่วงเวลาอื่นๆ เพื่อมาสิ่งที่เหมาะสมสำหรับคุณ

นอกจากนั้นมีกิจกรรมบางอย่างโดยเฉพาะที่ต้องใช้ความละเอียด ที่ทำได้ดีกว่าเวลานั่ง ดังนั้นการใช้โต๊ะทำงานแบบยืนนั้นจึงอาจจะไม่ใช่คำตอบที่เหมาะสมสำหรับทุกคนที่นั่งทำงานนานๆ

แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป?

ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงานอย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่นการใช้ลูกบอลออกกำลังกายแทนเก้าอี้ รวมถึงการใช้โต๊ะทำงานแบบยืน บางคนอาจจะใช้โต๊ะที่ติดกับลู่วิ่ง แน่นอนว่าพวกนี้อาจจะให้ประโยชน์แต่ก็อาจมาพร้อมกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้อุปกรณ์ใดๆ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่ามันเหมาะสมกับคุณหรือไม่ รวมถึงรอการศึกษาเพิ่มเติมถึงประโยชน์ที่จะได้รับ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
9 Things That Are Better for You Than a Standing Desk. Health.com. (https://www.health.com/mind-body/standing-desk-alternatives)
Standing Desks: Health Benefits Debated. Healthline. (https://www.healthline.com/health-news/debate-over-standing-vs-sitting-at-your-desk)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป