กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

วิธีกินยาคุมครั้งแรก ให้ปลอดภัย คู่มือสำหรับมือใหม่ (ตอนที่ 1)

รวมทุกเรื่องที่ “มือใหม่หัดใช้ยาคุม” ต้องรู้ เพื่อการกินยาคุมกำเนิดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (ตอนที่ 1)
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีกินยาคุมครั้งแรก ให้ปลอดภัย คู่มือสำหรับมือใหม่ (ตอนที่ 1)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาคุมกำเนิด เป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ หากใช้อย่างถูกวิธี
  • การกินยาคุมกำเนิดแผงแรก หมายถึง ผู้ที่เริ่มใช้ยาคุมเป็นครั้งแรกในชีวิต และผู้ที่เคยใช้แล้ว แต่หยุดใช้ไประยะหนึ่งไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม และต้องการกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
  • การกินยาคุมกำเนิดแผงแรก แบ่งเป็น 4 กรณีคือ 1. ใช้เป็นครั้งแรกในชีวิต 2. ใช้หลังคลอดบุตร 3. ใช้หลังแท้งบุตร 4. ใช้ในกรณีที่เปลี่ยนจากวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ
  • ยาคุมกำเนิดมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีวิธีการรับประทานที่แตกต่างกัน อ่านวิธีกินยาคุมกำเนิดครั้งแรกโดยละเอียดได้ในตอนที่ 2
  • การใช้ยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ควรใช้ถุงยางอนามัยควบคู่กันไป (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่นี่)

ผู้ที่ต้องเริ่มต้นทำอะไรซักอย่างที่ไม่คุ้นเคยย่อมมีความกังวลและไม่มั่นใจเป็นธรรมดา เช่นเดียวกันกับ “มือใหม่หัดใช้ยาคุม” ที่มักจะมีคำถามมากมายผุดขึ้นมาในใจ เช่น วิธีกินยาคุมครั้งแรกต้องทำอย่างไร มีผลข้างเคียงไหม หรือมีข้อควรระวังในการใช้หรือเปล่า

ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับวิธีกินยาคุมกำเนิด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาคุมแผงแรกว่า ควรเริ่มกินเมื่อไหร่ ก่อนและหลังตั้งครรภ์เริ่มกินยาคุมกำเนิดครั้งแรกต่างกันไหม ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีกินยาคุมกำเนิดจะอธิบายโดยละเอียดในตอนที่ 2

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กินยาคุมกำเนิดแผงแรกควรเริ่มรับประทานเมื่อไหร่?

ก่อนจะแนะนำเรื่องวิธีกินยาคุมกำเนิดเม็ดแรกของแผงนั้น ต้องขออธิบายความหมายของ “การใช้ยาคุมแผงแรก” ในที่นี้ก่อนว่า หมายถึงผู้ที่เริ่มใช้ยาคุมเป็นครั้งแรกในชีวิต และผู้ที่เคยใช้แล้ว แต่หยุดใช้ไประยะหนึ่งไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม และต้องการกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง แบ่งออกเป็น 4 กรณี ดังนี้

1. การใช้เป็นครั้งแรกในชีวิต หรือเริ่มใช้อีกครั้งหลังหยุดคุมกำเนิดไประยะหนึ่ง

  • ควรเริ่มกินภายในวันที่ 1-5 ในช่วงที่มีประจำเดือน เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ใช้ไม่ได้ตั้งครรภ์อยู่ เพราะอาจเสี่ยงทำให้ตัวอ่อนพิการได้
  • ควรตรวจสอบยาคุมกำเนิดเม็ดแรกให้ถี่ถ้วน เพราะยาคุมกำเนิดบางยี่ห้ออาจเริ่มใช้เม็ดยาหลอก (ไม่มีตัวยา) ก่อนเม็ดยาฮอร์โมน ทำให้ผลในการคุมกำเนิดจะยังไม่เกิดขึ้นในช่วงที่เริ่มต้นด้วยเม็ดยาหลอกนั่นเอง
  • หากมั่นใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์แน่นอน และต้องการเริ่มกินทันทีโดยไม่รอให้ประจำเดือนมาก็สามารถกินได้เลย แต่ผลในการคุมกำเนิดจะเกิดขึ้นเมื่อมีการกินยาเม็ดฮอร์โมนต่อเนื่องกัน 7 วัน สำหรับยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม หรือ 2 วันสำหรับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว

2. การใช้ยาคุมกำเนิดหลังคลอดบุตร

การใช้ยาคุมกำเนิดหลังคลอดบุตรจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ สำหรับผู้ที่ไม่ให้นมบุตร และผู้ที่ให้นมบุตร ดังนี้

  • ผู้ที่ไม่ให้นมบุตร: แนะนำให้เริ่มกินยาคุมกำเนิดหลังคลอด 3 สัปดาห์ โดยใช้เป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Venous thromboembolism: VTE) และสามารถเปลี่ยนเป็นชนิดฮอร์โมนรวมได้ในช่วงหลังคลอด 6 สัปดาห์
  • ผู้ที่ให้นมบุตร: แนะนำให้เริ่มกินยาคุมหลังคลอด 6 สัปดาห์ แต่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละรายได้ โดยใช้เป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว เพื่อป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนม และสามารถเปลี่ยนเป็นชนิดฮอร์โมนรวมหลังพ้นช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด

3. การใช้ยาคุมกำเนิดหลังแท้งบุตร

แนะนำให้เริ่มกินทันทีหลังแท้งบุตร โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ร่วมด้วย

4. การใช้กรณีที่เปลี่ยนจากการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆ

4.1 เปลี่ยนจากยาฉีดคุมกำเนิด

เริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในวันที่ครบกำหนดฉีดยาคุมครั้งต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ร่วมด้วย

4.2 เปลี่ยนจากห่วงอนามัยแบบฮอร์โมนและห่วงทองแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เริ่มกินในวันที่ 1-5 ที่มีประจำเดือน มีผลคุมกำเนิดได้ทันทีตั้งแต่เม็ดแรก (ยกเว้นเม็ดยาหลอก) และถอดห่วงอนามัยออกได้เลย อย่างไรก็ตาม สามารถเริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดนอกเหนือจากเวลาดังกล่าวได้ หากมั่นใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์ และควรรอถอดห่วงอนามัยออกเมื่อมีเลือดประจำเดือนมาในครั้งต่อไป

ในกรณีที่เริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดหลังจาก 5 วันแรกของรอบเดือนจะถอดห่วงอนามัยออกเลยก็ได้ ถ้าในรอบเดือนนี้ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์มาก่อน แต่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ร่วมด้วย หรืองดมีเพศสัมพันธ์ต่อไปจนกว่าจะได้กินยาเม็ดฮอร์โมนของยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมติดต่อกันครบ 7 วัน

4.3 เปลี่ยนจากวิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนวิธีอื่นๆ

หากมีการใช้ถูกต้องและมั่นใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์ สามารถเริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องรอให้มีประจำเดือนก่อน

4.4 เปลี่ยนจากวิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮอร์โมน และห่วงอนามัย

เริ่มกินภายในวันที่ 1 - 5 ที่มีประจำเดือน หากเป็นเม็ดยาฮอร์โมนจะมีผลคุมกำเนิดได้ทันทีตั้งแต่เม็ดแรก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากเริ่มใช้ภายหลังจากนี้จะต้องงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ ร่วมด้วยจนกว่าจะมีการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนติดต่อกันครบ 7 วันสำหรับยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม หรือ 2 วันสำหรับยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว

ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดก็ตาม การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นเรื่องที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ควรใช้ถุงยางอนามัยควบคู่กันไป 

ยาคุมกำเนิดนั้น เป็นยาที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเพศในร่างกาย และมีผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น วิงเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน ควรศึกษาข้อบ่งใช้ หรือสอบถามเภสัชกรก่อน เพื่อการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างปลอดภัย

อ่านต่อตอนที่ 2 ได้ที่ วิธีกินยาคุมครั้งแรก ให้ปลอดภัย คู่มือสำหรับมือใหม่ (ตอนที่ 2)

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝังยาคุม ผลข้างเคียงเป็นยังไง เตรียมตัวยังไง? อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/contraceptiveimplant).
Rang HP, Dale MM, Ritter JM, Flower RJ, Henderson G (2012). "The reproductive system". Rang and Dale's pharmacology (7th ed.). Edinburgh: Elsevier/Churchill Livingstone. p. 426. ISBN 978-0-7020-3471-8.
Chang MC (September 1978). "Development of the oral contraceptives". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 132 (2): 217–9. doi:10.1016/0002-9378(78)90928-6. PMID 356615

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป