กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังบริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิตคือ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่สำคัญ ต่อลมหายใจ ให้ชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังบริจาคโลหิต

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การบริจาคโลหิตเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ดี หากต้องการเป็นผู้บริจาคควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและผู้รับบริจาค
  • เกณฑ์การบริจาคโลหิตเริ่มตั้งแต่อายุ 17 ปี หากผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตเป็นครั้งแรกมีอายุเกิน 55-60 ปี จะต้องให้แพทย์วินิจฉัยก่อนว่า จะให้โลหิตได้หรือไม่ เช่นเดียวกับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตหากมีอายุมากกว่า 60-70 ปี ที่ต้องอยู่ในเกณฑ์จึงสามารถบริจาคได้ 
  • ผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน สามารถบริจาคโลหิตได้ หากร่างกายแข็งแรง ไม่มีอาการอ่อนเพลียและตรวจความเข้มข้นของโลหิตผ่าน
  • หลังบริจาคโลหิตเสร็จ อย่าเพิ่งรีบลุกขึ้น ให้นอนพักบนเตียงก่อน เพราะหากลุกขึ้นทันทีอาจทำให้หน้ามืด เป็นลมได้ ควรพักจนรู้สึกมั่นใจแล้วจึงลุกไปดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้
  • การบริจาคโลหิตสามารถทำได้ทุก 3 เดือน หากบ่อยกว่านี้อาจไม่ปลอดภัย และควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทุกครั้งหลังบริจาคเลือด 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

การบริจาคโลหิตเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่ต้องลงทุนแม้แต่บาทเดียว ปัจจุบันมีผู้ป่วยต้องการโลหิตไม่น้อยกว่า 5,000 ยูนิต/วัน แต่ยอดบริจาคยังได้ไม่ถึงครึ่งต่อวันด้วยซ้ำ 

ประมาณการณ์กันว่า ยอดผู้ที่ได้บริจาคจริงๆ แล้วมีเพียงแค่ 3% ต่อประชากรไทยทั้งประเทศ เลือดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสร้าง หรือผลิตขึ้นมาได้เอง ผู้ป่วยจึงต้องรอรับการบริจาคจากคนปกติเท่านั้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิต ควรศึกษาข้อควรปฏิบัติทั้งก่อนและหลังบริจาคอย่างเข้าใจเพื่อบริจาคเลือดอย่างปลอดภัย

คุณสมบัติผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้

  1. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 17-70 ปี หากต่ำกว่า หรือยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์จะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
  2. ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก หากอายุเกิน 55-60 ปี จะต้องให้แพทย์วินิจฉัยก่อนว่า จะให้โลหิตได้หรือไม่ 
  3. ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตหากมีอายุมากกว่า 60-70 ปี จะมีเกณฑ์แยกจากช่วงอายุแยกย่อยไปอีก (อธิบายต่อจากคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต)  และจะต้องอยู่ในเกณฑ์จึงจะบริจาคได้
  4. ต้องเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป และน้ำหนักจะต้องไม่ลดลงผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมาโดยไม่ทราบสาเหตุ
  5. ผู้บริจาคโลหิตต้องมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพในระยะเวลาที่จะบริจาค 
  6. ต้องไม่อยู่ในระหว่างการรับประทานยาแก้อักเสบทุกชนิด หากรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวด จะต้องหยุดยามาก่อนบริจาค 3 วัน หากเป็นยาแก้อักเสบจะต้องหยุดยามาก่อนบริจาค 7 วัน
  7. ไม่มีประวัติเจ็บป่วย หรือไม่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ตับ โรคหอบหืด ไต มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์
  8. ผู้บริจาคต้องไม่เป็นโรคมาเลเรีย หากมีประวัติว่า "เคยเป็นมาก่อน" ต้องหายจากโรคแล้วอย่างน้อย 3 ปี
  9. กรณีเพิ่งผ่านการผ่าตัดใหญ่ต้องผ่านระยะเวลามาแล้วเกิน 6 เดือน และหากผ่าตัดเล็กต้องเกิน 7 วันจึงจะบริจาคได้
  10. หากถอนฟัน ขูดหินปูน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน หากถอนฟันคุด ต้องทิ้งระยะ 6 วัน
  11. หากเคยได้รับเลือดของผู้อื่นมา ต้องเกิน 1 ปี จึงจะให้โลหิตแก่ผู้อื่นได้
  12. ผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนสามารถบริจาคโลหิตได้ หากร่างกายแข็งแรง ไม่มีอาการอ่อนเพลียและตรวจความเข้มข้นของโลหิตผ่าน

เมื่อมีคุณสมบัติตามกำหนดที่สามารถให้บริจาคได้ ควรนัดสถานที่ที่จะไปบริจาคโลหิต ก่อนเพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมการ 

หากไม่อยากนัด ก็สามารถไปตามโรงพยาบาลหรือรถที่ให้บริการรับบริจาคโลหิตได้

เกณฑ์สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตที่มีอายุมากกว่า 60-65 ปี

  • สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตที่มีอายุมากกว่า 60-65 ปี จะไม่รับบริจาคในหน่วยงานรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่
  • สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตที่มีอายุมากกว่า 60-65 ปี จะสามารถบริจาคได้ ก็ต่อเมื่อมีการบริจาคโลหิตเป็นประจำจนกระทั่งถึงอายุ 60 ปี โดยจะบริจาคได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง หรือทุก 4 เดือน 
  • นอกจากเคยบริจาคโลหิตเป็นประจำแล้ว ยังต้องตรวจ Complete Blood Count และ Serum Ferritin ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประกอบพิจารณาการตรวจสุขภาพ สำหรับให้แพทย์ติดตามและปรับการให้ยาธาตุเหล็กที่ร่างกายได้บริจาคเลือดไป

เกณฑ์สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตที่มีอายุมากกว่า 65-70 ปี

  • สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตที่มีอายุมากกว่า 65-70 ปี จะไม่รับบริจาคในหน่วยงานรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่
  • สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตที่มีอายุมากกว่า 65-70 ปี จะสามารถบริจาคได้ ก็ต่อเมื่อมีการบริจาคโลหิตมาเป็นประจำจนกระทั่งถึงอายุ 65-70 ปี โดยจะบริจาคได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน
  • นอกจากเคยบริจาคโลหิตเป็นประจำแล้ว ยังต้องตรวจคัดกรองสุขภาพโดยแพทย์ หรือพยาบาลของธนาคารเลือด หรือหน่วยงานที่รับบริจาค และต้องตรวจ CBC รวมถึง SF ปีละ 1 ครั้ง

ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับการบริจาคโลหิต

  • ก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต ผู้ที่จะบริจาคต้องพักผ่อนให้เต็มที่ 7-9 ชั่วโมง หรือเท่าที่ร่างกายของผู้บริจาคต้องการ
  • ก่อนบริจาคต้องงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดการสูบบุหรี่ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
  • ควรดื่มน้ำ 3-4 แก้ว หรือดื่มน้ำผลไม้มากๆ ในช่วงกลางคืนและเช้า เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตเพื่อที่ภายหลังจากบริจาคเสร็จจะได้ไม่มึนงง อ่อนเพลีย หรือเป็นลม
  • หากบริจาคน้ำเหลือง (พลาสมา) ควรดื่มน้ำ 4-6 แก้วในเวลา 2-3 ชั่วโมงก่อนการนัด
  • หากบริจาคตอนเช้า ไม่ควรรับประทานอาหารหนักก่อนบริจาค เช้าๆ ควรรับประทานอาหารซีเรียล หรือขนมปังปิ้ง หากบริจาคกลางวันควรรับประทานแซนวิชและผลไม้
  • ห้ามรับประทานอาหารทันทีก่อนการนัดเพราะอาจทำให้เวียนศีรษะขณะบริจาคได้
  • ก่อนบริจาคโลหิตไม่ควรรับประทานอาหารอาหารมี่มีไขมันสูง เช่น อาหารที่มีกะทิ หมูสามชั้น ของทอด เพราะจะทำให้สีของพลาสมาเป็นสีขาวขุ่นผิดปกติไม่สามารถนำไปใช้ได้
  • ควรรับประทานอาหารอาหารที่มีธาตุเหล็กประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนนัด เช่น ธัญพืช ปลา ถั่ว เครื่องในสัตว์ ไข่ไก่ และควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีจะได้ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
  • ควรนำบัตรประจำตัวไปด้วยเพื่อแสดงตัวตน เช่น บัตรประชาชน บัตรบริจาคโลหิต
  • ไม่ควรอมลูกอม หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ขณะมาบริจาคเพราะจะทำให้อุณหภูมิในปากสูงขึ้นเหมือนเป็นไข้ เมื่อวัดอุณหภูมิแล้วอาจพลาดการบริจาคได้
  • หากรู้สึกป่วยนานๆ หลังจากการให้บริจาคโลหิตควรกลับมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาต่อไป

ข้อปฏิบัติขณะบริจาคโลหิต

  • ไม่เครียด หรือกังวลจนเกินไปควรต้องทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย 
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่สบายๆ ไม่อึดอัด แขนเสื้อควรดึงขึ้นได้ง่าย เพื่อจะเจาะเส้นเลือดได้ง่าย
  • ควรเลือกแขนที่เห็นเส้นเลือดชัดเจน จะได้ไม่เจ็บตัวในการเจาะหาเส้นเลือดหลายครั้งและควรเป็นข้างที่เจาะเลือดออกลงถุงได้สะดวก 
  • หากมีประวัติการแพ้ยาฆ่าเชื้อควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบก่อน
  • ขณะบริจาคควรบีบลูกยางเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลเวียนสะดวก 
  • หากมีอาการเวียนหัว คล้ายจะเป็นลม ใจสั่นผิดปกติต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต

  • หลังบริจาคโลหิตเสร็จ อย่าเพิ่งรีบลุกขึ้นให้นอนพักบนเตียงก่อน เพราะหากลุกขึ้นทันทีอาจทำให้หน้ามืด เป็นลมได้ ควรพักจนรู้สึกสบายและมั่นใจแล้ว จึงลุกไปดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้
  • งดสูบบุหรี่หลังจากบริจาคเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  • หลังจากบริจาคควรดื่มน้ำในปริมาณมากกว่าปกติ 1 วัน
  • หลังจากบริจาค ถ้ามีเลือดออกในบริเวณที่เจาะซึมขึ้นมาบนผ้าก๊อต ให้ใช้นิ้วมือกดลงแผลแน่นๆ พร้อมยกแขนให้สูงเหนือศีรษะสักครู่ หากเลือดยังคงไม่หยุดไหลให้รีบกลับมาพบแพทย์ หรือพยาบาล 
  • หากว่าเป็นรอยช้ำมากให้ประคบเย็น
  • ควรงดการซาวน่า หรือออกกำลังกายหนักๆ ที่ทำให้เสียเหงื่อมากเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังทำการบริจาค ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
  • ผู้บริจาคโลหิตซึ่งทำงานบนที่สูงต้องปีนป่าย แนะนำให้หยุดทำงาน 1 วัน เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงก่อน เพราะอาจหน้ามืดแล้วตกลงมาเป็นอันตรายได้
  • ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และรับประทานยาบำรุงเลือดที่เจ้าหน้าที่จัดให้จนหมด

การบริจาคโลหิตสามารถทำได้ทุก 3 เดือน เว้นแต่กรณีต้องบริจาคก่อนกำหนดสามารถ ทำได้ไม่เกิน 14 วัน และทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง

ผู้ที่ได้บริจาคโลหิตนอกจากจะได้รับความอิ่มใจแล้ว ทางด้านร่างกายเมื่อบริจาคเป็นประจำก็จะทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนดี ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณหน้าตาสดใส 

อย่างไรก็ตาม ก่อนบริจาคและหลังบริจาคโลหิต อย่าลืมทำตามข้อควรปฏิบัติที่เรานำมาฝากเพื่อจะได้ปลอดภัยอย่างแท้จริง 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว บริจาคเลือด ที่ สภากาชาด เชียงใหม่ | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Eligibility requirements: Medical conditions that affect eligibility (http://www.redcrossblood.org/donating-blood/eligibility-requirements/eligibility-criteria-topic#med_cond), 20 March 2020.
Kleinman S., Blood donor screening: Medical history (http://www.uptodate.com/home), 20 March 2020.
Blood safety basics, Centers for Disease Control and Prevention (https://www.cdc.gov/bloodsafety/basics.html), 20 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป