การนอนพักระหว่างการตั้งครรภ์แฝด

การนอนพักผ่อนเป็นอาชีพ
เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การนอนพักระหว่างการตั้งครรภ์แฝด

“เราไปพบแพทย์และแพทย์บอกว่าปากมดลูกของฉันเริ่มนิ่มลง พร้อมกับบอกให้ฉันนอนพักตลอดช่วงเวลาที่เหลือของการตั้งครรภ์” – Natasha

เนื่องจากการตั้งครรภ์แฝดนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สูงขึ้น ทำให้มีคุณแม่หลายคนที่ต้องนอนพักระหว่างตั้งครรภ์ การนอนพักนี้หากทำไปเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อมารดา (เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ) หรือเพื่อประโยชน์ของทารก (เช่น การคลอดก่อนกำหนด)

แพทย์หลายคนอาจสั่งให้คุณแม่เหล่านี้ทุกรายนอนพักตั้งแต่อายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ แต่แพทย์อีกหลายคนอาจเลือกที่จะรอดูอาการไปก่อน คุณแม่ที่โชคดีบางคนอาจสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันมากนัก แต่มีอีกหลายคนที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือหาวิธีการนอนพักที่บ้าน และเนื่องจากไม่มีใครสามารถคาดเดาผลที่จะตามมาได้ ทำให้คุณต้องพยายามเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์อย่างดีที่สุด

การนอนพักจะช่วยได้อย่างไร ?

Amy E Tracy ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Pregnancy Bed Rest book ระบุว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วง “สูติแพทย์บางคนเชื่อว่าการใช้แรงโน้มถ่วงช่วยโดยการอยู่ในท่านอนราบนั้นจะช่วยให้ทุกอย่างอยู่ในภาวะสมดุลหรือช่วยทำให้บางภาวะทางการแพทย์ดีขึ้น”

การจำกัดกิจกรรมทางกายนั้นสามารถช่วยลดหรือป้องกันการเกิดความเครียดต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกายมารดา เช่น หัวใจ ไต หรือระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังมดลูกและเป็นการเก็บรักษาพลังงาน เพิ่มปริมาณสารอาหารที่จะถูกส่งผ่านไปให้ทารก นอกจากนี้ยังช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อปากมดลูก และอาจช่วยยับยั้งการบีบตัวของมดลูกซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

การนอนพักหมายความว่าอย่างไร ?

การนอนพักนั้นมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การนอนในโรงพยาบาลตลอดเวลา ไปจนถึงนอนพักเป็นช่วง ๆ คุณต้องทำความเข้าใจกับข้อจำกัดของคุณและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การสื่อสารที่ดีกับแพทย์นั้นจะทำให้คุณได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ดังนั้นอย่าลืมถามทุกคำถามและทุกเรื่องที่คุณกังวลกับแพทย์

จะจัดการกับเรื่องนี้ได้อย่างไร ?

แม้ว่าคุณจะรู้ว่าคุณจำเป็นต้องนอนพักระหว่างการตั้งครรภ์ แต่คุณก็อาจจะต้องการการจัดการกับสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคุณ คุณอาจรู้สึกว่ามันเยอะและสงสัยว่าจะสามารถจัดการกับทั้งหมดนี้ได้อย่างไร มีแหล่งข้อมูลที่ดีหลายแหล่งที่สามารถช่วยให้คุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ไปได้ เช่น Sidelines National Support Network หรือกลุ่มพ่อแม่ลูกแฝดแถวบ้านคุณ หนังสือเรื่อง The Pregnancy Bed Rest Book เป็นคู่มือที่ดีและเป็นหนังสือที่คุณแม่ซึ่งอาจจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการนอนพักควรอ่าน โดยหนังสือเรื่องนี้จะบอกเล่าเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับหลาย ๆ เรื่องที่เป็นผลตามมาจากการต้องนอนพัก เช่น การทำงาน การดูแลบ้าน และการดูแลลูก

มุมมองทางจิตและทางอารมณ์ของคุณต่อการนอนพักนี้มีผลอย่างมากต่อสภาวะทางกายของคุณ คุณอาจรู้สึกหงุดหงิด กังวล ท้อแท้หรือทั้งหมด แต่อย่าลืมว่าการนอนพักนี้ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป คุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกในครรภ์โดยการจำกัดกิจกรรมของตัวคุณและส่งผ่านพลังงานของคุณทั้งหมดให้กับการเจริญเติบโตของพวกเขา

ทุก ๆ นาที (ชั่วโมง, วัน หรือสัปดาห์) ที่คุณกำลังดูแลลูกที่อยู่ในครรภ์ของคุณนั้น อาจหมายถึงเวลาในการอยู่โรงพยาบาลที่ลดลง 1 นาทีของพวกเขา


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Twin Pregnancy FAQ - Will I Have to Go on Bed Rest?. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/twin-pregnancy-faq-will-i-have-to-go-on-bed-rest-2447477)
Bed rest with and without hospitalisation in multiple pregnancy for improving perinatal outcomes. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6464520/)
Bed Rest With Twins. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/bedrest-twins)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม