กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การนอนพักบนเตียงระหว่างตั้งครรภ์ (Bed rest)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การนอนพักบนเตียงระหว่างตั้งครรภ์ (Bed rest)

หญิงตั้งครรภ์บางคนอาจถูกสั่งให้นอนพักบนเตียงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่เครียดและน่าเบื่อหน่าย และอาจไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์ใดๆ ตามที่เราเคยเข้าใจกัน

แพทย์บางคนแนะนำให้นอนพักผ่อนเพื่อป้องกันภาวะต่างๆ เช่น ปัญหาการเจริญเติบโตของทารก ความดันโลหิตสูง หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ เลือดออกทางช่องคลอด ภาวะรกเกาะไม่แน่น  ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือการคลอดก่อนกำหนด ปากมดลูกเปิดไม่เพียงพอ การแท้ง และปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแพทย์เหล่านั้นหวังว่า การที่คุณได้พักผ่อนและทำใจให้สบาย จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ ในปัจจุบัน เกือบ 1 ใน 5 ส่วนของหญิงตั้งครรภ์ ถูกสั่งให้จำกัดกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน และให้ทำการ นอนพักบนเตียงในบางช่วงเวลาระหว่างตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่างๆ เกี่ยวกับการนอนพักบนเตียงไม่พบหลักฐานว่า การนอนพักนั้นช่วยป้องกันภาวะต่างๆดังที่กล่าวมา รวมถึงไม่ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน หรือการคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใด

แพทย์หลายคนทราบเป็นอย่างดีว่า ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดสำหรับประโยชน์ของการนอนพักผ่อน แต่พวกเขาพยายามสั่งให้หญิงตั้งครรภ์ทำต่อไป เพราะคิดว่าการนอนพักนั้นไม่เป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่างๆในปัจจุบันพบว่า การนอนพักบนเตียงกลับก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมาย อันได้แก่:

  • การเกิดลิ่มเลือด
  • ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
  • ความเครียดในครอบครัว
  • ความเครียดทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณต้องหยุดงานเพื่อพักผ่อน
  • น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำ
  • การฟื้นตัวที่ช้าลงหลังคลอด
  • กระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอลง

อ้างอิงจากผลการศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ยิ่งผู้หญิงคนนั้นเคร่งครัดต่อการนอนพักบนเตียงมากเท่าไร ผลข้างเคียงเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อมาถึงจุดนี้ การศึกษาจึงชี้ให้เห็นว่าสตรีมีครรภ์ - แม้จะมีภาวะแทรกซ้อนก็ตาม - ควรทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ ดีกว่าการนอนพักผ่อนเฉยๆ โดยมีหลักฐานสำคัญว่าการออกกำลังกาย หรือขยับตัวในระหว่างตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาต่างๆ เช่น น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะครรภ์เป็นพิษได้

ฉันควรทำอย่างไรถ้าแพทย์ฉันสั่งให้นอนพักบนเตียง

ขอให้กล้าที่จะถามถึงคำแนะนำจากแพทย์ของคุณ แพทย์ประจำตัวคุณควรเต็มใจอธิบายเหตุผลของตนเองถึงเรื่องต่างๆ และสิ่งที่สั่งให้ทำ สิ่งสำคัญคือต้องได้รับคำตอบต่างๆที่ชัดเจนจากแพทย์ของคุณ

สิ่งที่ควรปรึกษาแพทย์ของคุณนั้นได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ทำไมถึงแนะนำให้นอนพักผ่อนบนเตียง?
  • คำว่านอนพักผ่อนบนเตียงหมายความว่าอย่างไร? นอนทั้งวัน หรือ นอนพักเป็นครั้งคราว?
  • การนอกพักเตียงจำเป็นจริงๆหรือไม่? มีตัวเลือกอื่น ๆ หรือไม่?
  • ลูกน้อยของฉันและฉันจะได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนี้อย่างไร?
  • ผลประโยชน์เหล่านั้นมีมากกว่าความเสี่ยงหรือไม่?
  • การศึกษาทางการแพทย์แสดงผลดีผลเสียอะไรบ้าง เกี่ยวกับเรื่องนอนพักบนเตียง?
  • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนพักบนเตียงคืออะไร? ทั้งสำหรับลูกน้อยและตัวคุณเอง
  • มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสูตินารีเวช ที่สามารถอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้หรือไม่?

ถ้าคุณมีความกังวลในภายหลัง แนะนำให้รับความคิดเห็นที่สอง หรือพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ของคุณควรให้เหตุผลที่ชัดเจนเวลาสั่งให้นอนพักบนเตียง

เคล็ดลับสำหรับช่วงการนอนพักบนเตียง

หากคุณและแพทย์ของคุณตกลงว่า คุณควรทำการนอนพักบนเตียง ให้ลองถามคำถามเพิ่มเติม คำว่า "นอนพักบนเตียง" เฉยๆนั้นเป็นคำกำกวม ไม่ชัดเจน คุณจำเป็นต้องรู้อย่างแม่นยำว่าแพทย์ของคุณคาดหวังอะไร ถามคำถามเช่น:

  • ต้องนอนพักนานเท่าไหร่?
  • ต้องอยู่บนเตียงตลอดเวลาหรือไม่? สามารถลุกไปทำงานได้หรือไม่?
  • สามารถลุกขึ้นอาบน้ำ หรือใช้ห้องน้ำได้เองหรือไม่?
  • สามารถทำงานบ้านตามปกติ และดูแลเด็กคนอื่น ๆ ได้หรือไม่?
  • ควรจะหลีกเลี่ยงการยกอะไรหนักหรือเปล่า?
  • ควรนอนตะแคงเอาด้านไหนลง หรืออยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเท่านั้นหรือไม่?
  • สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้นสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน และบ่อยเท่าใด?

การนอนพักบนเตียงสามารถทำให้คุณอึดอัดได้ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ มันน่าเบื่อและค่อนข้างเครียดทีเดียว คุณต้องทำให้เป็นสิ่งที่ง่ายและสบายมากขึ้นเท่าที่คุณสามารถทำได้ เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยได้:

  • กำหนดตารางการนอนพักของคุณ - การนอนพักตามกำหนดเวลา จะทำให้คุณนึกภาพออก และจะลดความเบื่อหน่าย เริ่มแต่งตัวในตอนเช้า จัดการรายการสิ่งที่ต้องทำ และวางแผนกิจกรรมสำหรับวันที่จะนอนพัก เช่น การอ่านหนังสือ ดูหนัง หรือเล่นเกมคำศัพท์
  • ออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำ - คุณจำเป็นต้องรักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น การขยับขาของคุณให้บ่อยจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
  • มีระบบผู้สนับสนุน - คุณต้องขอความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนฝูงเพื่อผ่านช่วงนี้ไป ให้มีผู้เข้าเยี่ยมมาบ้านบ้าง หรือติดต่อเพื่อนฝูงทางโทรศัพท์ อีเมล และข้อความ
  • ทานอาหารให้เพียงพอและมีประโยชน์ -  ตั้งใจรับประทานอาหารที่สมดุล ที่มีเส้นใยมาก และดื่มน้ำให้มากขึ้น คุณจะลดความเสี่ยงของอาการท้องผูก
  • ให้ผู้อื่นช่วย - มันอาจจะยากที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น แต่คุณจำเป็นต้องทำเช่นนั้น ถ้าเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวถามว่าพวกเขาช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง ให้พูดข้อมูลเฉพาะเจาะจง เช่น ให้พวกเขาซื้อของตามรายการดังนี้จากร้านขายของชำ หรือขับไปส่งคุณที่ไหนอย่างไร
  • เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ - ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ เช่น เริ่มเรียนภาษาใหม่ เรียนในชั้นเรียนทางไกล ดูวิดีโอต่างๆใน YouTube เกี่ยวกับการวาดรูป หรือเรียนรู้วิธีการถักนิตติ้ง เป็นต้น

https://www.webmd.com/baby/guide/bed-rest-during-pregnancy#1


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bed rest for back pain? A little bit will do you.. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/pain/bed-rest-for-back-pain-a-little-bit-will-do-you)
Bed rest in pregnancy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21425272)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม