กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ถั่วงอก (Bean Sprouts)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ถั่วงอก (Bean Sprouts)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ถั่วงอก คือต้นอ่อนที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่วเขียวและถั่วเหลือง บางประเทศอาจพบการรับประทานต้นอ่อนที่เพาะมาจากถั่วดำ ถั่วแดง หรือถั่วลันเตา แต่ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเขียวจะมีวิตามินและแร่ธาตุสูงกว่าถั่วชนิดอื่น
  • ถั่วงอก 100 กรัม ให้พลังงาน 30 แคลอรี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมน้ำหนัก มีเส้นใยอาหารสูง มีปริมาณน้ำตาลน้อยจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ภายในถั่วงอกมีสรรพคุณที่ช่วยรักษาหลายอย่าง เช่น ช่วยรักษาจอประสาทตาเสื่อม ลดระดับความดันโลหิต ช่วยลดการอักเสบ ช่วยขับเสมหะ 
  • นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงโดย เสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความแข็งแรงกระดูก ป้องกันท้องผูก บำรุงผิว แต่ก่อนกินควรแช่น้ำ 1 ชั่วโมง เพื่อล้างสารฟอกขาวให้หมด 
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

ถั่วงอกเป็นพืชที่มีการนำไปประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ทั้งต้ม ผัด รวมถึงเอามาทานแบบดิบๆ เพราะมีรสชาติเฉพาะตัวและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี โดยถั่วงอกสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักถั่วงอก

ถั่วงอก (Bean Sprouts) คือต้นอ่อนที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่ว ต้นอ่อนที่นิยมนำมารับประทานนั้น มักจะเพาะมาจากถั่วเขียว และถั่วเหลือง ในบางประเทศอาจพบการรับประทานต้นอ่อนที่เพาะมาจากถั่วดำ ถั่วแดง หรือถั่วลันเตา ซึ่งจะมีรสชาติ และสารอาหารที่แตกต่างกันออกไป ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเขียวจะมีวิตามินและแร่ธาตุสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางอาหารของถั่วงอก

ถั่วงอก 100 กรัม ให้พลังงาน 30 แคลอรี มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

สรรพคุณของถั่วงอก

ถั่วงอก มีสรรพคุณที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. ช่วยบำรุงตับและสมอง จากการทดลองในหนู พบว่า การให้หนูกินสารสกัดจากถั่วงอก สามารถป้องกันตับถูกทำลายได้ เนื่องจากถั่วงอกมีสารซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสหรือเอสโอดี (SOD) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูง นอกจากนั้นยังพบสารกาบา (GABA) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้อย่างดี
  2. ลดความวิตกกังวลที่เกิดจากความเครียด จากผลการศึกษาพบว่า การบริโภคถั่วงอกจะช่วยเพิ่มระดับเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมวัฏจักรการนอนหลับและช่วยปรับสภาวะอารมณ์ให้เป็นปกติ จึงช่วยลดความวิตกกังวล และลดความเสี่ยงการเป็นโรคนอนไม่หลับ
  3. ช่วยรักษาจอประสาทตาเสื่อม การศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอาการจอประสาทตาเสื่อม เมื่อได้รับประทานถั่วงอกที่มีโฟเลตสูงอย่างต่อเนื่องจะมีอาการดีขึ้นและสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นกว่าปกติ
  4. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดที่พบในถั่วงอก ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง จึงทำให้มีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วยบ่อย
  5. เพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก ถั่วงอกมีแมงกานีสและแคลเซียม แร่ธาตุที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยจะช่วยเพิ่มมวลกระดูก และลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน
  6. ลดระดับความดันโลหิต ในถั่วงอกมีโพแทสเซียม แมกนีเซียม และใยอาหาร ที่มีส่วนสำคัญในการลดระดับความดันโลหิต การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจที่มีผลมาจากความดันโลหิตสูงได้
  7. รักษาสุขภาพเส้นผมและเล็บ โปรตีนและวิตามินต่าง ๆ ในถั่วงอก ช่วยรักษาสุขภาพของเส้นผมและเล็บได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผมแตกปลายหรือเล็บเปราะบาง
  8. บรรเทาอาการวัยทอง ถั่วงอกมีสารไฟโตเอสโตรเจน ที่ช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงให้มากขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการต่างๆ จากวัยทอง
  9. บำรุงผิว สารไฟโตเอสโตรเจนในถั่วงอก ยังมีผลต่อการเพิ่มจำนวนของคอลลาเจน อิลาสตินและกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสารสำคัญต่อการบำรุงผิว ช่วยลดการเกิดริ้วรอย ทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์กว่าวัย
  10. ป้องกันครรภ์ผิดปกติ ถั่วงอกเป็นแหล่งของวิตามินบีและกรดโฟลิก สารอาหารสำคัญของสตรีมีครรภ์ที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทของทารก รวมถึงป้องกันทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์
  11. ป้องกันอาการท้องผูก ถั่วงอกมีปริมาณเส้นใยสูง ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และยังช่วยให้ลำไส้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  12. ช่วยลดการอักเสบ ถั่วงอกมีสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่ชื่อว่าแซนโทน (Xanthone) มักจะพบในพืชที่มีสีขาวและสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ
  13. ช่วยขับเสมหะ เนื่องจากถั่วงอกเป็นแหล่งของวิตามินซี การแพทย์แผนจีนนิยมนำถั่วงอกมาต้มกินเพื่อช่วยขับเสมหะและทำให้ปอดโล่ง
  14. เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ถั่วงอกมีปริมาณน้ำตาลน้อยจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  15. เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ถั่วงอกให้พลังงานต่ำและมีเส้นใยอาหารสูง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องน้ำหนักตัว หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเป็นพิเศษ 

เมนูสุขภาพจากถั่วงอก

ถั่วงอกสามารถนำมาทานแบบดิบ หรือจะนำมาประกอบอาหารเป็นเมนูต่างๆ ก็ได้ เช่น

  1. ซีซ่าร์สลัดถั่วงอก กระเทียม มายองเนส แองโชวี่ พาเมซานชีส วูสเตอร์ซอส มัสตาร์ด และน้ำมะนาวมาผสมให้เข้ากัน ตามด้วยเกลือและพริกไทย แล้วนำไปแช่เย็น เตรียมผักสลัด โดยหั่นผักกาดคอสขนาดพอดีคำ ใส่ลงในชามพร้อมด้วยถั่วงอกและเบคอน ราดด้วยน้ำสลัดที่ทำเตรียมไว้ นำไปแช่เย็นอีกประมาณ 10-15 นาที นำมารับประทานได้ทันที
  2. ยำถั่วงอกกุ้งเนยสด ล้างกุ้งแล้วพักในจานให้สะเด็ดน้ำ นำไปย่างกับเนยจนสุก แกะเปลือกเอาเนื้อมาหั่นให้พอดีคำ หั่นพริก ตะไคร้ ใบมะกรูด และหอมแดง ทำน้ำปรุงรสโดยการผสมน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลและพริกในถ้วย คนจนส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นนำกุ้งใส่ในชามเคล้ากับถั่วงอก แล้วราดด้วยน้ำปรุงรสที่เตรียมไว้ โรยด้วยสะระแหน่
  3. ผัดซีอิ๊วถั่วงอก ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อย นำหมูลงไปผัด ตอกไข่ลงไป ตามด้วยน้ำปลา น้ำตาล ซีอิ๊วดำ ผงชูรส เมื่อหมูสุกก็ให้ใส่ถั่วงอกและผักคะน้าลงไปผัดต่อจนผักสุกก็ปิดเตา ยกขึ้นเสิร์ฟได้ทันที

ข้อควรระวัง

  • ก่อนรับประทานถั่วงอก ควรแช่น้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงเพื่อล้างสารฟอกขาวที่ติดมากับถั่วงอกให้หมด การรับประทานอาหารปนเปื้อนสารฟอกขาว อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง เวียนหัว อาเจียน ท้องร่วง จนถึงช็อกหมดสติได้
  • ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรระมัดระวังการรับประทานถั่วงอก เนื่องจากถั่วงอกถือเป็นยอดอ่อนของพืชซึ่งมีกรดยูริกระดับปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีระดับของกรดยูริกไม่สูงมากนักสามารถรับประทานได้เป็นบางวัน ซึ่งไม่ควรเกินวันละ 100 กรัม และไม่ควรเกินสัปดาห์และ 2 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคถั่วงอก

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นิตยสารหมอชาวบ้าน, ถั่วงอก ผักเล็กๆที่มองข้ามไม่ได้, หน้าที่ 10, ฉบับที่ 414, สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, ตุลาคม 2556
รามาชาแนล, ถั่วงอก ผักปลูกง่าย มากประโยชน์ (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20150210-1/), 10 กุมภาพันธ์ 2558
พืชผัก พืชสมุนไพร, ถั่วงอก (http://thailand-an-field.blogspot.com/2009/12/blog-post_9441.html), 11 ธันวาคม 2552

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)