สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีสามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งช่องปากได้

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีสามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งช่องปากได้

สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดีไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลิ่นปากหรือฟันผุเท่านั้น แต่มันยังนำสู่โรคอันตรายอย่างมะเร็งช่องปากได้อีกเช่นกัน

การดูแลรักษาฟันที่ไม่ดีเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลอักเสบในปาก ฟันผุ และกลิ่นปาก แต่นอกจากนี้แล้วมันยังนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่หลวงมากกว่าคือการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก “มะเร็งช่องปาก” ส่งผลกระทบต่อรูปร่างของปาก หรือไปกัดกร่อนเนื้อเยื่อส่วนลึกลงไปอย่างกระดูก กล้ามเนื้อ และประสาทบริเวณปาก แม้ว่าการป้องกันมะเร็งชนิดนี้จะเป็นไปได้ แต่โชคไม่ดีที่มีผู้คนจำนวนมากต้องเสียชีวิตจากโรคร้ายนี้ เพียงเพราะว่าพวกเขาละเลยต่อการดูแลช่องปากของพวกเขาเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ช่องปากแย่แบบไหนจะกลายเป็นโรคมะเร็งช่องปาก?

ในสถานการณ์ทั่วไป มะเร็งที่ปากนั้นพบได้บ่อยกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่บางกรณีมันก็พบในผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อยด้วยเช่นกัน ปัจจัยทั่วไปที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเช่นนี้คือการสูบบุหรี่ การเคี้ยวยาสูบ การบริโภคแอลกอฮอล์ ริมฝีปากต้องแสงอาทิตย์มากเกินไป เป็นต้น นอกจากด้านความสะอาดแล้ว ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งศีรษะและลำคอ ผู้ที่มักเกิดการติดเชื้อในช่องปากบ่อยครั้ง กับผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นมะเร็งประเภทนี้ก็จะมีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน

มะเร็งช่องปากนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากอย่างมาก มันทำให้เกิดโรคเหงือกและฟันผุ มะเร็งประเภทนี้ยังส่งผลต่อต่อมสร้างน้ำลายในปาก ซึ่งไปกดกระบวนการสร้างน้ำหล่อลื่นในช่องปากลง ทำให้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อขึ้น

โรคมะเร็งช่องปากส่งผลต่อปากอย่างไรบ้าง?

ไม่ว่ามะเร็งนี้จะเกิดมาจากความเพิกเฉยต่อความสะอาดในช่องปาก หรือปัจจัยอื่น ๆ ก็ตาม มันก็ยังคงเป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อสุขอนามัยและสุขภาพของปากโดยจะมีผลดังนี้:

  • มะเร็งปากระยะแรกเริ่มจะแสดงตุ่มเล็ก ๆ หรือมีอาการปวดเมื่อย ซึ่งทำให้ปากหรือริมฝีปากผิดรูป
  • มะเร็งปากทำให้ฟันหลวมหรือคลอน และอาจทำให้ฟันหลุดออก
  • การเติบโตของก้อนเนื้อร้ายลามไปทำลายเนื้อเยื่อเหงือกส่วนที่ยังดีอยู่ ทำให้เหงือกไม่สามารถรองรับฟันได้อีก
  • มันยังทำลายเนื้อเยื่อกระดูก และทำให้ฟันที่เรียงบนกระดูกกรามคลอน
  • มะเร็งปากยังส่งผลต่อการเคี้ยวและกลืนอาหาร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวไปสร้างความเจ็บปวดที่เนื้อเยื่อในปากและลำคอของผู้ป่วย
  • การเติบโตของเซลล์มะเร็งส่งผลทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากปัญหาด้านการรับประทานอาหาร

อาการทั่วไปของมะเร็งปาก

  • เกิดแผลเปื่อยหรืออาการเมื่อยที่ไม่เจ็บปวดยาวนานถึง 14 วัน
  • ก้อนที่ปาก หรือคอ
  • เคี้ยวและกลืนลำบาก หรืออาจมีความเจ็บปวดร่วมด้วย
  • แก้มบวมออก
  • เสียงแหบแห้งที่เป็นระยะเวลานาน
  • มีพังผืดสีขาวหรือแดงในปาก
  • ขยับลิ้นหรือกรามลำบาก
  • ฟันปลอมหลุดและไม่พอดี
  • ฟันหลวม
  • มีปัญหาในการพูดคุย
  • มีเลือดออก หรือรู้สึกเจ็บในปากหรือบนริมฝีปาก
  • มีจุดแข็งบนริมฝีปากล่างด้านนอก
  • มีตุ่มเกิดขึ้นภายในปาก

แม้ว่าบางทีคุณอาจจะพบบางอาการนี้เกิดขึ้นภายในปาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นผลมาจากมะเร็งเสมอไป จึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจที่เหมาะสมจะดีที่สุด

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งช่องปาก

ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งช่องปาก

  • งดการสูบบุหรี่หรือยาสูบ: ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ประเภทไหนก็ตาม ต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งช่องปากกันทั้งนั้น ทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการก่อโรคนี้อีกด้วย สำหรับผู้ที่ทั้งดื่มและสูบนั้นความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มขึ้น
  • การสัมผัสกับแสงอาทิตย์: การต้องแสงอาทิตย์เกินไปก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งริมฝีปาก ซึ่งมักเกิดขึ้นบนริมฝีปากล่าง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็สามารถป้องกันด้วยการใช้ครีมกันแดดหรือลิบมัน
  • หมั่นตรวจสอบตัวเองเป็นประจำ: คอยสังเกตช่องปากและริมฝีปากตัวเองบ่อย ๆ โดยการมองและสัมผัสริมฝีปากทั้งในและนอก ตรวจสอบลิ้นทุกด้าน และส่องลำคอและกระพุ้งแก้มของตนเองเพื่อมองหาสิ่งผิดปรกติ หากคุณรู้สึกถึงก้อนข้างในปากหรือรอบคอ ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดทันที
  • เข้าพบทันตแพทย์: แม้คุณจะคอยตรวจสอบตนเองอยู่เสมอก็ตาม แต่บางครั้งภัยอันตรายหรือความเจ็บป่วยก็มักไม่แสดงออกมาให้คุณเห็นชัดเจนนัก ดังนั้นจึงควรเข้าตรวจกับทางทันตแพทย์เป็นประจำจะช่วยได้ดีที่สุด

ยิ่งมีการตรวจพบโรคร้ายเร็วเท่าไร ก็ยิ่งได้รับอันตรายจากมันน้อยลงเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบเร็ว มันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่คุณควรทราบถึงอาการต่าง ๆ ของโรคมะเร็งช่องปากนี้ เพื่อที่ว่าจะได้ทำการระแวดระวังทั้งร่างกายและนิสัยการใช้ชีวิตของคุณเอง

 


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oral health. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/oral-health)
Dental health 'may be sign of cancer risk'. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/cancer/dental-health-may-be-sign-of-cancer-risk/)
Poor oral Hygiene may be the Sole Cause of Oral Cancer. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3485455/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ลิ้นเป็นฝ้าขาว อันตรายหรือไม่?
ลิ้นเป็นฝ้าขาว อันตรายหรือไม่?

สาเหตุอาจไม่ได้มาจากการรักษาความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ แต่อาจเป็นสัญญานเตือนว่า "ร่างกายกำลังป่วย" ก็เป็นได้

อ่านเพิ่ม