กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการปวดหลังระหว่างการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการปวดหลังระหว่างการตั้งครรภ์

อาการปวดหลังพบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน มันแสดงถึงการเติบโตที่ปกติของลูกน้อยของคุณ อย่างไรก็ตาม ก็อาจสร้างความลำบาก และไม่สบายระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน

เมื่อเกิดอาการนี้ขึ้น ข่าวดีก็คือ มันเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยของคุณกำลังเติบโต และเป็นสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ปกติ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็อาจสร้างความไม่สบายให้กับส่วนหลังของคุณได้ในชีวิตประจำวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยมากระหว่างการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่นั้นจะพบอาการปวดหลังอย่างน้อยครั้งหนึ่งในการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยปกติจะเริ่มในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์

คุณควรทราบว่าสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อลดอาการปวดหลังของคุณจากบทความต่อไปนี้

สาเหตุอาการปวดหลังในหญิงตั้งครรภ์

อาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ มักจะเกิดขึ้นตำแหน่งที่กระดูกเชิงกรานต่อกับกระดูกสันหลังของคุณ ซึ่งเรียกว่าข้อต่อกระดูกเชิงกราน (Sacroiliac joint)

มีสาเหตุที่เป็นไปได้หลายประการ สาเหตุที่พบบ่อยดังต่อไปนี้

  • น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น - ในระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดี หญิงตั้งครรภ์มักมีน้ำหนักเพิ่มอยู่ในช่วงระหว่าง 25 ถึง 35 ปอนด์ (ประมาณ 11-16 กิโลกรัม) กระดูกสันหลังจะต้องรองรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนั้น อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ นอกจากนี้ น้ำหนักของทารกที่กำลังเจริญเติบโต และมดลูกนั้นยังสามารถกดทับบริเวณหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณกระดูกเชิงกราน และหลังของคุณแม่ได้อีกด้วย
  • ท่าทางที่เปลี่ยนไป - การตั้งครรภ์จะเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของคุณ เป็นผลให้คุณค่อยๆเริ่มที่จะปรับท่าทางของคุณ และวิธีในการเคลื่อนไหวทีละนิดๆ แบบที่คุณอาจไม่สังเกตเห็น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวด หรือเมื่อยหลังได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายของคุณจะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า relaxin ซึ่งฮอร์โมนนี้ช่วยให้เอ็น บริเวณอุ้งเชิงกรานผ่อนคลาย และข้อต่อจะหลวมขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนเดียวกันนั้นอาจทำให้เกิดเอ็นบริเวณกระดูกสันหลังคลายตัวลง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงขณะเคลื่อนไหว และเกิดความเจ็บปวดขึ้นได้
  • การแยกกล้ามเนื้อ ในขณะที่มดลูกขยายตัวขึ้น กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ขนานสองแผ่น (กล้ามเนื้อหน้าท้อง - rectus abdominis) ซึ่งวิ่งจากโครงกระดูกซี่โครงไปยังกระดูกอกนั้น อาจถูกแยกออกตามกลางลำตัว การแยกตัวของกล้ามเนื้อนี้อาจทำให้อาการปวดหลังแย่ลง
  • ความเครียด - ความตึงเครียดทางอารมณ์อาจทำให้เกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณด้านหลังได้ ซึ่งอาจรู้สึกออกมาเป็นอาการปวดหลังหรืออาการกระตุกเกร็ง คุณอาจพบว่าคุณมีอาการปวดหลังที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เครียดในการตั้งครรภ์ของคุณ

การรักษาอาการปวดหลังในสตรีตั้งครรภ์

ข่าวดีที่ควรทราบ: หากคุณไม่เคยมีอาการปวดหลังเรื้อรังก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ อาการปวดหลังของคุณจะลดลงเรื่อยๆ ก่อนคุณจะคลอดบุตร

ในขณะเดียวกันนั้น มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือทำให้มันบรรเทาลงกว่าเดิมได้หลายประการ:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การออกกำลังกาย - การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่น ที่สามารถบรรเทาความเครียดบนกระดูกสันหลังของคุณ การออกกำลังกายที่ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ส่วนใหญ่ ได้แก่ การเดินเร็ว การว่ายน้ำ และการขี่จักรยานอยู่กับที่ แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดประจำตัวคุณสามารถแนะนำการออกกำลังกายอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหลังและช่องท้องของคุณได้
  • การประคบอุ่นและการประคบเย็น การใช้ความร้อนและเย็นกับหลังของคุณอาจช่วยบรรเทาอาการได้ หากแพทย์ประจำตัวคุณแนะนำ ให้เริ่มด้วยการประคบเย็น (เช่น ใช้ถุงน้ำแข็ง หรือถุงประคบเย็นห่อด้วยผ้าเช็ดตัว) ในบริเวณที่เจ็บปวดไม่เกิน 20 นาที และทำหลายๆ ครั้งต่อวัน หลังจากสองหรือสามวัน ให้เปลี่ยนเป็นใช้ความร้อน หรือประคบอุ่นแทน - ให้ใส่แผ่นความร้อน หรือขวดน้ำร้อนประคบบริเวณที่เจ็บปวด แต่ระวังอย่าให้ประคบร้อนโดนบริเวณท้องในระหว่างตั้งครรภ์
  • ปรับปรุงท่าทางของคุณ - ทำให้ลดแรงตึงเครียดต่อกระดูกสันหลังของคุณ ดังนั้น การใช้ท่าทางที่เหมาะสมเมื่อทำงาน นั่ง หรือนอนเป็นสิ่งที่ดี ตัวอย่างเช่น การนอนตะแคงและใช้หมอนรองแทรกระหว่างเข่าจะช่วยลดแรงความตึงเครียดจากหลังของคุณ เมื่อนั่งอยู่ที่โต๊ะ ให้วางม้วนผ้าเช็ดตัวไว้ด้านหลังเพื่อรองรับน้ำหนักบริเวณหลัง  วางเท้าบนกองหนังสือขณะนั่งเก้าอี้ และนั่งหลังตรง ไม่ห่อไหล่ นอกจากนี้การใส่เข็มขัดช่วยรองรับน้ำหนักก็อาจช่วยให้อาการปวดหลังดีขึ้นได้
  • การเข้ารับคำปรึกษา - หากอาการปวดหลังเกี่ยวข้องกับความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ การพูดคุย ระบายปัญหาต่างๆกับเพื่อนที่เชื่อถือได้ หรือที่ปรึกษาทางจิตวิทยาอาจเป็นประโยชน์เช่นกัน
  • การฝังเข็ม - การฝังเข็มเป็นรูปแบบหนึ่งของการแพทย์แผนจีนซึ่งใช้เข็มบาง ๆ สอดเข้าไปในผิวของคุณในบางตำแหน่ง การศึกษาหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการฝังเข็มสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ตรวจสอบบริการทางการแพทย์เหล่านี้กับโรงพยาบาล หรือคลินิกใกล้บ้านของคุณ หากคุณสนใจที่จะทดลอง
  • การแพทย์ไคโรแพรคติก - เมื่อดำเนินการอย่างถูกต้อง การแพทย์ไคโรแพรคติกต่อกระดูกสันหลังถือว่าปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ให้ปรึกษากับแพทย์ประจำตัวของคุณ ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาไคโรแพรคติกใดๆ

เคล็ดลับเพิ่มเติม:

  • ถ้าคุณต้องการหยิบอะไรบางอย่างจากพื้น ให้งอขาของคุณนั่งลงไป แทนที่จะโค้งงอหลังเพื่อเอื้อมไปเก็บ
  • อย่าสวมรองเท้าส้นสูง
  • อย่านอนราบ ให้น้ำหนักลงบนหลังของคุณ
  • สวมถุงเท้ายาวกระชับน่อง

หากอาการปวดหลังของคุณยังคงมีอยู่ คุณอาจต้องเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อดูว่ามีอะไรอีกบ้างที่คุณอาจทำได้เพื่อบรรเทาอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ปวดใดๆ ยาพาราเซตามอล (Acetaminophen (Tylenol)) นั้นถือว่าปลอดภัยสำหรับสตรีส่วนใหญ่ ในระหว่างตั้งครรภ์ ไม่แนะนำอย่างยิ่งให้ใช้ยาแอสไพริน และยาแก้อักเสบอื่นที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยา ibuprofen หรือยา naproxen ในบางกรณี แพทย์ของคุณอาจแนะนำยาแก้ปวดอื่น ๆ หรือยาคลายกล้ามเนื้อที่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์

ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางเมื่อใด

อาการปวดหลังโดยปกติ มักไม่ใช่เหตุผลหลักในการเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณ แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรโทรหา หรือเข้าพบแพทย์ของคุณทันทีหากคุณประสบปัญหาใด ๆ ต่อไปนี้:

  • อาการปวดอย่างรุนแรง
  • ความเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาการปวดที่เริ่มฉับพลัน
  • ปวดเกร็งเป็นจังหวะๆ
  • ปัสสาวะยากหรือ "เจ็บจี๊ดเหมือนเข็มทิ่ม" ในปลายมือปลายเท้าของคุณ

ในบางกรณี อาการปวดหลังอย่างรุนแรงอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ เช่น โรคกระดูกพรุนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โรคข้อเข่าเสื่อมส่วนกระดูกสันหลัง หรือโรคข้ออักเสบแบบติดเชื้อ อาการปวดเกร็งเป็นจังหวะนั้น อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น หากคุณประสบปัญหาเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือต้องได้รับการตรวจ และวินิจฉัยโดยแพทย์ประจำตัวของคุณ

https://www.webmd.com/baby/guide/back-pain-in-pregnancy#1

 


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Back pain in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/backache-pregnant/)
Back pain in pregnancy: Causes, pain relief, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324545)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์

แนวประสานกระดูกหัวเหน่ามีความผิดปกติ (Symphysis Pubis Dysfunction)

อ่านเพิ่ม