ลูกกินนมจากขวดนมแบบพลาสติกมีโอกาสเป็นมะเร็งจริงเหรอ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลูกกินนมจากขวดนมแบบพลาสติกมีโอกาสเป็นมะเร็งจริงเหรอ

คุณแม่สมัยนี้ที่เพิ่งคลอดลูกอาจจะไม่ได้มีโอกาสเลี้ยงลูก ให้ลูกได้กินนมจากอกแม่เหมือนสมัยก่อนๆ ซึ่งคุณแม่หลายคนจำเป็นต้องปั้มน้ำนมจากอกแล้วให้ลูกกินจากขวดนมแทน แต่ทราบหรือไม่ว่า ในขวดนมที่เราให้ลูกดูดกินนมอย่างอร่อยนั้น มีภัยร้ายแฝงมาด้วย

ขวดนมที่ใช้สำหรับทารกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ขวดนมที่ทำจากพลาสติก
  2. ขวดนมที่ทำจากแก้ว

จริงหรือที่ขวดนมพลาสติกจะมีสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

โดยทั่วไปแล้วขวดนมใหม่ๆ ที่ทำจากพลาสติก จะไม่มีสารตกค้างใดๆ  เพียงแต่ว่าเมื่อเรานำไปใช้นานๆ เข้า จนผิว (พลาสติกด้านใน) เริ่มเป็นรอยอันอาจจะเกิดจากการล้างทำความสะอาด หรือการโดนความร้อนจัด หรือเย็นจัดแล้วโดนกระแทก ก็อาจจะเกิดรอยขูดขีด (ซึ่งบางครั้งเราอาจจะไม่ทันสังเกตเห็น เพราะมันอยู่ด้านใน)

เมื่อเนื้อพลาสติกเป็นรอย สารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA (Bisphenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate Plastic) และ อีพอกซีเรซิ่น (Epoxy Resins) (นิยมเอามาใช้ทำ ขวดและทำให้ขวดพลาสติกมีความใส) สารพิษ BPA นี้จะซึมออกมาปนเปื้อนในน้ำนมในขวดนมของลูกเราด้วย!!!

จากการทดลองในหนู พบว่า สาร BPA แค่เพียง 3 ส่วนในล้านส่วน ก็มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย แม้ว่าปริมาณสารที่ปนเปื้อน นี้อาจจะมีน้อย แต่เนื่องจากว่าเราต้องให้ลูกของเรากินนมจากขวดติดต่อกัน ก็เป็นการสะสมสารพิษนี้ได้เช่นกัน ซึ่งข้อดีข้อเสียของขวดนมแต่ละแบบมีดังนี้

ข้อดีของขวดนมแบบแก้ว

  • ไม่มีสาร BPA เป็นส่วนประกอบของขวด
  • ล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรอยขีดขวด
  • ทนความร้อนและความเย็นได้ดี

ข้อเสียของขวดนมแบบแก้ว

  • ต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแลเป็นอย่างมาก
  • น้ำหนักขวดมาก
  • ให้ลูกถือขวดนมกินเองยาก เพราะหนักและอาจจะตกแตกได้ง่าย
  • ราคาสูงกว่าขวดนมพลาสติก และอาจจะหาซื้อได้ยากหรือมีตัวเลือก (ยี่ห้อ) น้อยกว่า (กรณีอยู่ต่างจังหวัด)
  • ขวดนมแบบแก้วอาจจะเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิดจนถึง 4 เดือน เพราะยังไม่ต้องกังวลเรื่องการหย่าขวดนมหรือการฝึกให้ลูกถือขวดนมกินเอง

ข้อดีของขวดนมแบบพลาสติก

  • ขวดนมมีน้ำหนักเบา ไม่ต้องกลัวขวดนมตกแตก
  • ราคาถูก หาซื้อง่าย

ข้อเสียของขวดนมแบบพลาสติก

  • เวลาทำความสะอาด หากใช้ความรุนแรง (น้ำยาล้างขวดที่มีฤทธิ์แรงเกินไป) หรือใช้วัสดุทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ขวดด้านในเป็นรอย เมื่อเป็นรอยสาร BPA ก็จะปนเปื้อนออกมา
  • ยิ่งขวดนมพลาสติกเป็นแบบใสมากเท่าไร ขวดนั้นยิ่งมีสาร BPA มากเท่านั้น เพราะสาร BPA ใช้ทำให้ขวดนมใส หากเป็นขวดนมแบบขุ่น ก็จะมีสาร BPA น้อยกว่า

นอกจากขวดนมแล้ว จุกนมที่ทำจากพลาสติกก็เป็นอีกเรื่องที่คุณแม่ทั้งหลายควรจะใส่ใจ เพราะจุกนมนั้นมี 2 แบบคือ ทำจากพลาสติกและแบบซิลิโคน ซึ่งแบบพลาสติกนั้น โอกาสที่ลูกของเราจะดูดไปหม่ำจุกนม (ขบกัดเพราะกำลังหมั่นเขี้ยว ฟันกำลังขึ้น) จนทำให้จุกนม (ทำจากพลาสติก) ฉีกขาด ก็มีโอกาสที่สาร BPA จะปนเปื้อนได้เช่นกัน ส่วนที่เป็นจุกนมแบบซิลิโคนเด็กจะขบ กัด ยังไงก็ไม่ขาด

ในปัจจุบันมีผู้จำหน่ายขวดพลาสติกไม่กี่รายที่ทำขวดนมแบบ BPA-Free ออกมา (ไม่มีสาร BPA) ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าหากสามารถเลือกซื้อมาใช้งานได้ แต่หากหาซื้อไม่ได้จริงๆ ให้สังเกตหลีกเลี่ยงขวดนมพลาสติกใสที่มีตัวเลขใต้นขวด  07 หรือ PC เนื่องจากมักมี BPA ให้เลือกใช้ขวดนมพลาสติกแบบขุ่น ลูกจะไดรับ BPA น้อยกว่า หรือขวดนมแบบ แก้วแทนก็ได้ เพียงแต่ต้องระวังเรื่องการแตก หรือบิ่น ซึ่งหากขวดนมแบบแก้วมีรอยบิ่นแล้วเราก็ไม่ควรที่จะใช้งานต่อเช่นกัน แต่หากมีโอกาสก็ให้ลูกกินนมจากอกแม่เรานี่แหละดีที่สุดแล้ว เพราะนอกจากจะปลอดภัยแล้ว ลูกยังได้รับอ้อมกอดที่อบอุ่นจากแม่ และยังได้สบตาปิ้งๆ กับคุณแม่ด้วย ทำให้ลูกอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Commission Directive 2011/8/EU of 28 January 2011 amending Directive 2002/72/EC as regards the restriction of use of Bisphenol A in plastic infant feeding bottles Text with EEA relevance
Caring for Your Baby and Young Child: Birth to Age 5, Fifth Edition Harstad, Elizabeth MD; Albers-Prock, Lisa MD, MPH Journal of Developmental & Behavioral Pediatrics: February-March 2011 - Volume 32 - Issue 2 - p 102

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป