กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Lipitor (ตัวยา Atorvastatin)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

อะทอร์วาสแตติน หรือที่รู้จักในชื่อการค้า ลิปิเตอร์ (lipitor) เป็นยาในกลุ่มของยาสแตติน (statin) ที่ทำหน้าที่หลักเป็นยาลดระดับไขมันในเลือด และใช้เพื่อป้องกันภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ยาอะทอร์วาสแตตินมีกลไกแบบเดียวกันกับยาสแตตินตัวอื่น คือเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในตับ มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างคอเรสเตอรอลในร่างกาย อะทอร์วาสแตตินถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปีค.ศ. 1985 ในค.ศ. 1996 ถึงปีค.ศ. 2012 ยาอะทอร์วาสแตตินวางจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้า ลิปิเตอร์ และถือเป็นยาที่มียอดการจำหน่ายสูงสุดในโลกในช่วงเวลานั้น มีมูลค่าการจำหน่ายสูงกว่าหนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันดอลล่าร์สหรัฐในระยะเวลาประมาณ 14.5 ปี

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Atorvastatin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Atorvastatin Sandoz

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีผู้ผลิตคือ Sandoz

  • ยาเม็ดขนาด 10 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาด 20 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาด 40 มิลลิกรัม

Chlovas

มีผู้ผลิตคือ Milimed

  • ยาเม็ดขนาด 40 มิลลิกรัม

Lipitor

มีผู้ผลิตคือ Pfizer

  • ยาเม็ดขนาด 10 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาด 20 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาด 40 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาด 80 มิลลิกรัม

Xarator

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีผู้ผลิตคือ Pfizer

  • ยาเม็ดขนาด 10 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาด 20 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาด 40 มิลลิกรัม

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับระดับไขมันในเลือดผิดปกติชนิดผสม
  • ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงชนิด heterozygous familial hypercholesterolemia และ non familial hypercholesterolemia

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Atorvastatin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ อะทอวาสแตติน เป็นยาลดระดับไขมันในเลือด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เอชเอ็มจี-โคเอ รีดักเตส (HMG-CoA reductase) แบบแข่งขันซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งเปฏิกิริยาและเป็นเอนไซม์ในขั้นกำหนดอัตราของชีวสังคราะห์คอเลสเตอรอล ในการเปลี่ยน HMG-CoA ให้เป็นกรดเมวาโลนิก(mevalonate) เป็นผลให้เกิดการลดการเหนี่ยวนำของตัวรับ LDL และกระตุ้นการสลาย LDL นำไปสู่การลดลงของระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL ในกระแสเลือด

ข้อบ่งใช้ของยา Atorvastatin

ข้อบ่งใช้สำหรับระดับไขมันในเลือดผิดปกติชนิดผสม ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงชนิด heterozygous familial hypercholesterolemia และ non familial hypercholesterolemia ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มต้น 10 ถึง 20 มิลลิกรัม วันละหนึ่งครั้ง อาจปรับขนาดยาทุกสี่สัปดาห์ อาจให้ขนาดยาเริ่มต้น 40 มิลลิกรัมวันละครั้ง ในผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL มากกว่า 45% โดยขนาดยาสูงสุด 80 มิลลิกรัมต่อวัน ขนาดการใช้ยาในเด็กสำหรับ heterozygous familial hypercholesterolemia อายุ 10 ถึง 17 ปี ขนาด 10 มิลลิกรัมวันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาอย่างน้อยหลังจากใช้ขนาดเดิมสี่สัปดาห์ ขนาดยาสูงสุด 20 มิลลิกรัมต่อวัน ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Atorvastatin

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Atorvastatin

- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีระดับเอนไซม์ทรานส์อะมิเนส (transaminase) ในกระแสเลือดสูง - ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาไซโคลสปอริน (cyclosporin) เจมไฟโบรซิล (gemfibrozil) ทีลาพีเวีย (telapevia) ทิพรานาเวีย (tipranavir) - ห้ามใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการดื่มแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของปัจจัยในการเกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือภาวะกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis) - ในผู้ป่วยที่มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำควรได้รับการรักษาก่อนที่จะเริ่มใช้ยานี้ - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต - ระวังการใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี - ระวังการใช้ยานี้ในสตรีที่มีประจำเดือนก่อนวัย

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Atorvastatin

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ปวดศีรษะ ท้องอืด ท้องผูกอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดแขนขา ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อกระตุก ปวดข้อ เยื่อจมูกและลำคออักเสบ นอนไม่หลับ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เพิ่มระดับเอนไซม์อะมิโน ทรานส์เฟอเรส (amino transferase) เพิ่มระดับไกลโคไซเลท ฮีโมโกลบิน (glycosated hemoglobin) เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังจากอดอาหาร อาการอันไม่พึงประสงค์รุนแรง ได้แก่ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis) รุนแรงร่วมกับไตวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ อาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้ร้อย ได้แก่ การแพ้ยาแบบ Steven-Johnson syndrome การแพ้ยาแบบ anaphylaxis

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลการใช้ยา Atorvastatin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category X คือไม่แนะนำให้ใช้ยาในสตรีมีครรภ์เนื่องจากตัวยาสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับสตรีให้นมบุตร ไม่แนะนำให้ให้นมบุตรระหว่างการรับประทานยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Atorvastatin

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
pubchem, Atorvastatin (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Atorvastatin), 25 January 2020.
ncbi, Atorvastatin (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK548236/), 3 August 2017.
University of Illinois-Chicago, Drug Information Group, Atorvastatin, Oral Tablet (https://www.healthline.com/health/atorvastatin-oral-tablet), 5 July 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)