โรคน้ำกัดเท้า

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า  หรือ โรคฮ่องกงฟุต (Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot) เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ที่เท้าอยู่ในที่อับชื้นตลอดเวลา หรือ เท้าเปียกน้ำหรือลุยน้ำเป็นเวลานาน  เราจึงเรียกโรคนี้ว่า “โรคน้ำกัดเท้า”

โรคฮ่องกงฟุต (Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot) นั้น มาจากกสมัยสงครามฝิ่น ทหารอังกฤษที่มาอยู่ในฮ่องกงแล้วสวมรองเท้าบูททหารที่ไม่มีการระบายอากาศที่ดี ทั้งๆ ที่อากาศร้อนชื้น ทำให้ทหารอังกฤษเป็นโรคผิวหนังที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน คือ เป็นตุ่มเม็ดเล็กๆ มากมาย คัน บวมแดง และเป็นหนอง แพทย์ชาวอังกฤษไม่เคยพบโรคในลักษณะนี้ จึงเรียกอาการนี้ว่า “ฮ่องกงฟุต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของโรคน้ำกัดเท้า

เกิดจากการติดเชื้อรา หรือ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ร่วมด้วยได้ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของ โรคน้ำกัดเท้า ได้แก่ เกิดจากเชื้อรา ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับ กลาก  (Tine) ซึ่งเป็นเชื้อราที่เจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น เปียกเหงื่อ  ยืนบนน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน หรือ เท้าอยู่ในที่อับชื้น หรือ การสัมผัสพื้นดิน หรือ พื้นผิวที่มีเชื้อรา เช่น ห้องน้ำสาธารณะ พื้นสระว่ายน้ำ รองเท้าที่มีเชื้อรา หรือ ถุงเท้าที่อับชื้น

อาการของโรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า มักเกิดตามง่ามมือ ง่ามเท้า พบบ่อยในง่ามนิ้วเท้าที่ 3-5 โดยอาการที่พบบ่อย คือ ผิวหนังจะเริ่มแดง ตกสะเก็ด เป็นแผล บางรายเป็นตุ่มเม็ดเล็กๆ ขึ้นเต็มเท้า ซึ่งเกิดการจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ ซึ่งจะส่งผลให้โรคมีอาการรุนแรงขึ้น 

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ยังสามารถติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ ซึ่งโดยปกติเมื่อผิวหนังชั้นนอกลอก และความอับชื้น เป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทำให้เท้ามีกลิ่นเหม็นและมีแผลหนองไหลออกจากแผล แผลบวมแดง มีกลิ่น เป็นแผลเรื้อรังได้

การรักษาโรคน้ำกัดเท้า

การรักษา โรคน้ำกัดเท้า จะแบ่งออกเป็น การรักษาอาการติดเชื้อ และ การรักษาตามอาการ ดังนี้

1. การรักษาอาการติดเชื้อ  ถ้าเป็นเชื้อรา สามารถรับประทานยาฆ่าเชื้อรา ร่วมกับ ยาทาฆ่าเชื้อราได้   หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย อาจต้องประทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

2. การป้องกันการไม่ให้เชื้อลุกลาม ด้วยการดูแลความสะอาดเท้า อย่าให้เท้าอับชื้นดังนี้

  • หากเป็นเชื้อรา หรือ แบคทีเรีย หลีกเลี่ยง การสวมรองเท้าที่อับชื้น ไม่มีรูเปิดระบายอากาศ
  • สวมใส่รองเท้าที่สะอาด ซักใหม่ทุกครั้ง แนะนำรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี ที่ทำมาจากผ้าฝ้ายเป็นหลัก หากมีเหงื่อออกมาก จนอรองเท้าเปียกชื้น แนะนำให้เปลี่ยนระหว่างวัน หรือ ถอดผึ่งเท้า
  • ทำความสะอาดเท้า ขัดลอกเซลล์ผิวหนังที่ตายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ผิวหนังที่ตายกลายเป็นอาหารของเชื้อราและแบคทีเรีย
  • หากรองเท้าที่สวมใส่ มีเชื้อรา แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใส่ เพราะเชื้อราจะฝังแน่นในซอกรองเท้า ถ้ารองเท้าผ้าควรซักให้สะอาดและผึ่งแดดให้แห้ง รองเท้าหนังให้ผึ่งลมให้แห้ง และผึ่งแดดนานๆ อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง
  • ผู้ที่มีแผลที่เท้า ควรทำแผลให้หายก่อนที่จะสวมใส่รองเท้า
  • เมื่อทำความสะอาดเท้าแล้ว ให้เช็ดเท้าให้แห้งสนิท สามารถใช้แป้งโรยเท้าตามซอกเท้าเพื่อลดความอับชื้นได้

ดังนั้น โรคน้ำกัดเท้า นั้น เป็นโรคพบบ่อย ในทุกเพศและทุกวัย แต่พบมากในผู้ชายวัยมากกกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่เท้าเท้าเปียกน้ำหรือลุยน้ำอยู่บ่อยๆ  บ้านเราจึงเรียกว่า “โรคน้ำกัดเท้า”  หัวใจสำคัญที่สุด ในการป้องกันโรคน้ำกัดเท้า คือ การดูแลและรักษาความสะอาดของเท้า การหลีกเลี่ยงไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำ หรือสิ่งสกปรก หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรสวมเครื่องป้องกันจะเป็นการดีที่สุด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Athlete's Foot Causes, Symptoms, and Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/how_to_prevent_athletes_foot/views.htm)
Athlete’s Foot - Fungal Disease in Britain and the United States 1850–2000. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK169220/)
Athlete's foot: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/261244)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป