การส่องกล้องตรวจภายในข้อคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การส่องกล้องตรวจภายในข้อคืออะไร?

การส่องกล้องตรวจภายในข้อ (Arthroscopy) เป็นหัตถการที่ช่วยให้แพทย์เห็นโครงสร้างต่างๆ ที่อยู่ภายในข้อ รวมทั้งใช้ซ่อมแซมโครงสร้างเหล่านั้นหากเกิดการเสียหายได้เช่นกัน วิธีนี้เป็นวิธีการผ่าตัดที่อาศัยการเปิดแผลเพียงเล็กน้อย แล้วสอดกล้องเล็กๆ ผ่านแผลเข้าไปในข้อ เพื่อวินิจฉัยและรักษาภาวะต่างๆ ที่เกิดกับข้อต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงส่วนอื่นๆ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • กระดูกอ่อนฉีกหรือได้รับความเสียหาย
  • ข้อติดเชื้อหรือข้ออักเสบ
  • กระดูกงอก
  • ชิ้นกระดูกบางๆ ที่แตกออก
  • เอ็นฉีก
  • ข้อติดยึดเป็นพังผืด

ก่อนการส่องกล้องตรวจภายในข้อ

ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องงดอาหารก่อนการส่องกล้องตรวจภายในข้อ ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์จะใช้วิธีระงับความรู้สึกแบบใด ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาทุกตัวที่รับประทานอยู่ก่อนเข้ารับการส่องกล้อง เนื่องจากแพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาบางชนิดนาน 2-3 สัปดาห์ นอกจากนี้ควรแจ้งแพทย์ด้วยหากดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากกว่า 1-2 แก้วต่อวัน หรือสูบบุหรี่

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจภายในข้อ

การส่องกล้องตรวจภายในข้อมักใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการตรวจอาจได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน การระงับความรู้สึกที่ไขสันหลัง หรือการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย หลังจากนั้นแพทย์จะวางแขนหรือขาของผู้เข้ารับการตรวจบนอุปกรณ์จัดท่า ก่อนจะฉีดน้ำเกลือเข้าไปในข้อหรือใช้อุปกรณ์ทูนิเกต์ (Tourniquet device) เพื่อให้แพทย์มองเห็นภายในข้อได้ดีขึ้น 

ระหว่างนี้แพทย์จะลงแผลเล็กๆ แล้วสอดท่อเล็กๆ ที่มีกล้องขนาดจิ๋วเข้าไปส่งภาพมายังจอวีดีโอขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นรายละเอียดภายในข้อ ในบางกรณีแพทย์อาจลงแผลเล็กๆ อีกหนึ่งแผลเพื่อใส่เครื่องมือเข้าไปซ่อมแซมภายในข้อ เมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้น แพทย์จะเย็บแผลกลับให้เป็นเหมือนเดิม

หลังการส่องกล้องตรวจภายในข้อ

หลังการส่องกล้องตรวจภายในข้อ ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องอยู่ในห้องพักฟื้น 2-3 ชั่วโมงก่อน จึงจะกลับบ้านได้ ภายหลังจากการส่องกล้องตรวจภายในข้อ ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องใช้สายคล้องแขนหรือไม้ค้ำเพื่อไม่ให้บาดแผลได้รับการกระทบกระเทือน 

ส่วนมากแล้วผู้เข้ารับการตรวจสามารถทำงานเบาๆ ได้ในช่วงสัปดาห์แรก แต่อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์จึงจะกลับไปทำงานหนักๆ ได้ ระหว่างที่รอให้แผลหายแพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ พร้อมกับแนะนำให้ประคบเย็น และรัดข้อไว้เป็นเวลาหลายวัน 

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบกลับไปพบแพทย์ทันที

  • ไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • แผลมีเลือดซึม
  • มีอาการปวดที่รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
  • ข้อแดงหรือบวม
  • รู้สึกชาบริเวณบาดแผล

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jon Johnson, arthroscopy (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322099.php), June 11, 2018
Mary Ellen Ellis, arthroscopy (https://www.healthline.com/health/knee-arthroscopy), September 14, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป