Antistreptolysin O (ASO)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Antistreptolysin O (ASO) ทางเลือด เพื่อวินิจฉัยว่าเชื้อแบคทีเรียชนิด Group A Streptococcus เป็นสาเหตุของภาวะไตอักเสบ หรือภาวะไข้รูมาติกหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Antistreptolysin O (ASO)

การตรวจ Antistreptolysin O (ASO) โดยการเจาะเลือดไปตรวจ ทำเพื่อวินิจฉัยว่าเชื้อแบคทีเรียชนิด Group A Streptococcus เป็นสาเหตุของภาวะไตอักเสบ หรือไข้รูมาติก ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนจากอาการเจ็บคอหรือไม่ หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของภาวะไข้รูมาติก อาจต้องมีการทดสอบอื่นๆ เพิ่มด้วย เช่น การตรวจ Anti-DNAse B เป็นต้น

ชื่ออื่น: ASLO

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อทางการ: Antistreptolysin O Titer

จุดประสงค์การตรวจ Antistreptolysin O (ASO)

การตรวจ Antistreptolysin O (ASO) ทำเพื่อวินิจฉัยว่าการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Group A Streptococcus เป็นสาเหตุของภาวะไตอักเสบ หรือภาวะไข้รูมาติกในผู้ป่วยที่มีอาการเบื้องต้นหรือไม่

แพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจ ASO เพียงชนิดเดียว หรือทำควบคู่กับการตรวจ Anti-DNase B ซึ่งใช้ตรวจหาการติดเชื้อ Streptococcus ก็ได้ เมื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ Streptococcus และรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยจะสามารถหายเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Antistreptolysin O (ASO)?

แพทย์จะตรวจ ASO ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการที่แพทย์สงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ Streptococcus โดยเฉพาะอาการเจ็บคอ โดยการตรวจมักทำหลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอหรือติดเชื้อที่ผิวไปแล้ว 1 สัปดาห์ ซึ่งแบคทีเรียจะไม่ได้อยู่ในคอหรือผิวอีกต่อไป

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจ ASO เมื่อพบอาการเบื้องต้นของไข้รูมาติก เช่น

  • เป็นไข้
  • ข้อบวม และรู้สึกปวดมากกว่า 1 ข้อ โดยเฉพาะในข้อเท้า หัวเข่า ข้อศอก และข้อมือ
  • ข้อเคลื่อน
  • มีก้อนขนาดเล็กใต้ผิวซึ่งไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
  • เคลื่อนไหวแบบกระตุกและเร็ว
  • มีผื่นที่ผิว
  • หัวใจอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจหอบ ใจสั่น หรือเจ็บหน้าอก

รวมถึงตรวจ ASO ในผู้ที่มีอาการเบื้องต้นของภาวะไตอักเสบ ดังนี้

แพทย์อาจตรวจ ASO 2 ครั้ง โดยใช้ตัวอย่างที่เก็บห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งการตรวจนี้ช่วยให้วินิจฉัยได้ว่าระดับของแอนติบอดีเพิ่มขึ้น ลดลง หรือเท่าเดิม

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Antistreptolysin O (ASO)

แพทย์จะตรวจ ASO จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจจะต้องงดรับประทานอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รายละเอียดการตรวจ Antistreptolysin O (ASO)

Antistreptolysin O (ASO) เป็นแอนติบอดีที่จะไปทำลายเอนไซม์ Streptolysin O ที่ผลิตโดยแบคทีเรียชนิด Group A Streptococcus ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เป็นพิษต่อร่างกาย

Group A Streptococcus (Streptococcus pyogenes) เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการคออักเสบ และทำให้เกิดการติดเชื้อประเภทอื่นๆ เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง (Pyoderma Impetigo Cellulitis) เมื่อติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ แล้วผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาที่ไม่มีประสิทธิผล อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไข้รูมาติกหรือภาวะไตอักเสบ เป็นต้น ซึ่งทั้ง 2 ภาวะดังกล่าว อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ่อนที่ร้ายแรง เช่น

  • หัวใจเสียหาย
  • ไตทำงานผิดปกติแบบเฉียบพลัน
  • เนื้อเยื่อบวม
  • ความดันโลหิตสูง

ความหมายของผลตรวจ Antistreptolysin O (ASO)

ร่างกายจะผลิต ASO Antibodies ภายใน 1-4 สัปดาห์หลังจากที่ติดเชื้อ Streptococcus เริ่มแรก ปริมาณของ ASO antibody จะสูงที่สุดประมาณ 3-5 สัปดาห์ แม้อาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อจะดีขึ้นจนเกือบหายเป็นปกติแล้ว แต่ก็ยังคงตรวจพบ ASO ได้อีกหลายเดือน ผู้ป่วยมากกว่า 80% ที่เป็นโรคไข้รูมาติก และผู้ป่วย 95% ที่มีภาวะไตอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจาก Streptococcus จะมีค่า ASO มากขึ้น

ผลตรวจ ASO ที่เป็นลบ หรือ ASO มีความเข้มข้นน้อยหมายความว่าผู้เข้ารับการตรวจมีแนวโน้มที่จะไม่ได้ติดเชื้อ Streptococcus โดยเฉพาะถ้าเก็บตัวอย่างหลังจากผลตรวจเป็นลบ 10-14 วัน และหากผลตรวจ Anti-Dnase B เป็นลบ

ส่วนการมีผลตรวจ ASO เป็นบวก หรือความเข้มข้นของ ASO เพิ่มขึ้น หมายความว่าผู้เข้ารับการตรวจมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ Streptococcus อย่างไรก็ตาม การตรวจ ASO ไม่ได้พยากรณ์ว่าภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อ Streptococcus เป็นเพียงการยืนยันการวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวจริงเท่านั้น

สิ่งที่ควรรู้เกี่่ยวกับการตรวจ Antistreptolysin O (ASO)

การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด และคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจทำให้ ASO antibody ลดลงได้

นอกจากการตรวจ ASO แล้ว หากแพทย์สงสัยว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะไข้รูมาติก อาจต้องตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น Anti-DNAse B Anti-hyaluronidase หรือ Anti-streptozyme


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lab Test Online, Antistreptolysin O (ASO) (https://labtestsonline.org/tests/antistreptolysin-o-aso), 15 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)