Antinuclear antibody (ANA)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Antinuclear antibody (ANA) ทางเลือด เพื่อช่วยประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคลูปัส โรคโจเกร็น เป็นต้น
เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Antinuclear antibody (ANA)

การตรวจ Antinuclear antibody (ANA) จากการเจาะเลือดไปตรวจ ทำเพื่อช่วยประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเองในผู้ป่วยที่มีอาการและสัญญาณเบื้องต้น เมื่อได้ผลตรวจแล้ว อาจต้องมีการทดสอบอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด

ชื่ออื่น: ANA, Fluorescent antinuclear antibody, FANA, Antinuclear antibody screen

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จุดประสงค์การตรวจ Antinuclear antibody

การตรวจ Antinuclear antibody (ANA) เป็นการตรวจพื้นฐานที่ช่วยประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ทั้งร่างกาย และเป็นหนึ่งในการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค Systemic lupus erythematosus (SLE)

บางครั้ง แพทย์อาจใช้การตรวจ ANA ควบคู่ไปกับการพิจารณาประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและผลการตรวจร่างกาย เพื่อช่วยวินิจฉัย หรือตัดความเป็นไปได้ของโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น Sjögren syndrome ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ และภาวะ Scleroderma

การตรวจ ANA ในแต่ละห้องปฏิบัติการ อาจมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้

  • Indirect fluorescent antibody (IFA) วิธีนี้เป็นวิธีดั้งเดิม ตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยจะถูกนำมาผสมกับเซลล์ที่ติดอยู่บนสไลด์ เพื่อให้ออโตแอนติบอดีที่อยู่ในเลือดทำปฏิกิริยากับเซลล์ จากนั้นจะนำสไลด์ไปย้อมสีด้วยสารเรืองแสง และตรวจสอบผ่านกล้องจุลทรรศน์ แล้วบันทึกรูปแบบของการเรืองแสง และการมีหรือไม่มีของ ANA
  • Immunoassays ห้องปฏิบัติการบางแห่งอาจใช้วิธี Immunoassay เพื่อคัดกรอง ANA และอาจใช้วิธี IFA เพื่อยืนยันผลตรวจที่เป็นบวก หรือผลที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นบวกหรือลบ ซึ่งมักจะต้องใช้เครื่องมืออัตโนมัติในการตรวจ วิธีนี้อาจมีความเร็วที่จะตรวจหา ANA น้อยกว่าวิธี IFA แต่อาจจำเพาะสำหรับโรคแพ้ภูมิตัวเองมากกว่า

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Antinuclear antibody?

เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีสัญญาณและอาการของโรคแพ้ภูมิตัวเอง ก็จะมีการตรวจ ANA เพื่อยืนยันผล ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอาจมีสัญญาณและอาการดังนี้

  • มีไข้ต่ำ
  • อ่อนเพลียตลอดเวลา อ่อนแอ
  • เจ็บเหมือนกับเป็นโรคข้ออักเสบที่มากกว่าหนึ่งข้อต่อ
  • มีผื่นแดง
  • ผิวไวต่อแดด
  • ผมร่วง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • มือและเท้าชา
  • อวัยวะและเนื้อเยื่ออักเสบและเสียหาย เช่น ไต ปอด หัวใจ เยื่อบุหัวใจ ระบบประสาทส่วนกลาง และหลอดเลือด

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ

แพทย์จะตรวจ Antinuclear antibody จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า แต่หากมีการใช้ยาใดๆ ควรแจ้งแพทย์ก่อน เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ในการตรวจ

รายละเอียดการตรวจ Antinuclear antibody

Antinuclear antibodies (ANA) เป็นกลุ่มของออโตแอนติบอดีที่ระบบภูมิคุ้มกันผลิตขึ้น โดย ANA จะทำปฏิกิริยากับองค์ประกอบเซลล์ที่มีสุขภาพดีของร่างกาย และทำให้เกิดสัญญาณและอาการต่างๆ เช่น การอักเสบของเนื้อเยื่อและอวัยวะ เจ็บข้อต่อและกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย เนื่องจากไม่สามารถแยกระหว่างเนื้อเยื่อของตัวเองออกจากสิ่งแปลกปลอมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ANA สามารถทำให้เนื้อเยื่อเสียหายโดยทำปฏิกิริยากับสารในนิวเคลียส ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาเมื่อเซลล์ได้รับบาดเจ็บหรือตาย อย่างไรก็ตาม การตรวจ ANA เป็นหนึ่งในการตรวจพื้นฐานสำหรับช่วยวินิจฉัยโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือตัดความเป็นไปได้ของภาวะต่างๆ ที่มีสัญญาณและอาการคล้ายกัน

ความหมายของผลตรวจ Antinuclear antibody

ผลตรวจ ANA ที่เป็นบวกหมายความว่าร่างกายมีออโตแอนติบอดีชนิดนี้ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง แต่ก็ยังต้องมีการประเมินเพิ่มเติมเพื่อช่วยวินิจฉัยอีกครั้ง เพราะผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคดังกล่าวก็สามารถมีผลตรวจ ANA เป็นบวกเช่นกัน

ผลตรวจ ANA ด้วยวิธี IFA ที่เป็นบวกจะรวมถึงลักษณะของรูปแบบการเรืองแสงที่พบด้วย ซึ่งรูปแบบที่ต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับโรคแพ้ภูมิตัวเองต่างชนิด ตัวอย่างของรูปแบบที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้

  • Homogenous (diffuse) สัมพันธ์กับโรค SLE โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบผสม และโรคลูปัสที่เกิดจากการเหนี่ยวนำโดยยา
  • Speckled สัมพันธ์กับโรค SLE กลุ่มอาการ Sjögren ภาวะ Scleroderma โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบผสม
  • Nucleolar สัมพันธ์กับภาวะ Scleroderma และโรคกล้ามเนื้ออักเสบ
  • Centromere: สัมพันธ์กับภาวะ Scleroderma และภาวะ CREST

แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใดตรวจก็ตาม ยิ่งค่าที่รายงานสูงมากเท่าไร ผลที่ได้ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นผลบวกจริงมากขึ้นเท่านั้นมีผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE ประมาณ 95% ที่มีผลตรวจ ANA เป็นบวก เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรค Sjögren syndrome ที่มีภาวะนี้ประมาณ 80% มีผลตรวจ ANA เป็นบวกเช่นกัน

นอกจากนี้แพทย์อาจพบผล ANA เป็นบวกในผู้ที่เป็นโรคดังนี้

  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • Raynaud syndrome
  • โรคปวดข้อ
  • โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ
  • โรคกล้ามเนื้อเกี่ยวพันแบบผสม
  • โรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดอื่นๆ

แพทย์จะต้องใช้ผลตรวจ อาการของผู้ป่วย และประวัติการเจ็บป่วยสำหรับวินิจฉัยโรค เพราะอาการต่างๆ อาจเกิดขึ้นและหายไป ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีที่จะแสดงรูปแบบที่อาจบ่งชี้ถึงโรคลูปัส และโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดอื่นๆ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Antinuclear antibody

ผู้เข้ารับการตรวจบางคนสามารถมีผลตรวจ ANA ที่เป็นบวก และอาจมากถึง 10-37% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เพราะ ANA จะเพิ่มขึ้นตามอายุ กลุ่มคนเหล่านี้อาจมีผลบวกลวงโดยที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lab Test Online, Antinuclear Antibody (ANA) (https://labtestsonline.org/tests/antinuclear-antibody-ana), 5 March 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป