Antimitochondrial antibody และ AMA M2

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2 ทางเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Primary biliary cholangitis)
เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Antimitochondrial antibody และ AMA M2

การตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2 จากการเจาะเลือด ทำเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Primary biliary cholangitis: PBC) ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นที่บริเวณตับ

ชื่ออื่น: Mitochondrial antibody

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Antimitochondrial antibody และ Antimitochondrial M2 antibody

จุดประสงค์การตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2

แพทย์จะตรวจ AMA หรือ AMA-M2 เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Primary biliary cholangitis: PBC) โดยการตรวจจะช่วยแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งทางเดินน้ำดีออกจากโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดที่ทำให้ตับได้รับความเสียหาย และช่วยพยากรณ์ว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับหรือไม่

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2?

แพทย์จะตรวจ AMA หรือ AMA-M2 เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคตับแข็งทางเดินน้ำดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อตับ และทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งทางเดินน้ำดีระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการใดๆ แต่แพทย์สามารถตรวจพบได้จากผลตรวจ Liver panel ผิดปกติ โดยเฉพาะค่าเอนไซม์ Alkaline phosphatase (ALP) ที่ผิดปกติ

แพทย์จะตรวจ AMA หรือ AMA-M2 ควบคู่หรือหลังจากใช้วิธีตรวจอื่นๆ ที่ช่วยวินิจฉัย หรือตัดความเป็นไปได้ของสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคตับหรือเกิดการบาดเจ็บที่ตับ เช่น

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ
  • การได้รับสารพิษ
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคเมทาบอลิก
  • โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune hepatitis)

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2

แพทย์จะตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2 จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

รายละเอียดการตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2

Antimitochondrial antibody (AMA) เป็นออโตแอนติบอดีที่สัมพันธ์กับโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Primary biliary cholangitis: PBC เป็นอย่างมาก โดยโรคดังกล่าวเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดเรื้อรังที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดแผลที่ท่อน้ำดีในตับ โรคตับแข็งทางเดินน้ำดีเป็นโรคที่ลุกลามช้า แต่สามารถทำลายโครงสร้างของตับ และทำให้ท่อน้ำดีอุดตันได้

หากท่อน้ำดีอุดตัน ก็สามารถทำให้สารที่เป็นอันตรายก่อตัวภายในตับ และอาจทำให้เกิดแผลเป็นถาวรได้ในที่สุด แพทย์สามารถตรวจพบโรคตับแข็งทางเดินน้ำดีได้บ่อยในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 35-60 ปี ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคตับแข็งทางเดินน้ำดีประมาณ 90-95% จะมีปริมาณของ Antimitochondrial antibodies (AMA) สูงอย่างมีนัยสำคัญ

ความหมายของผลตรวจ Antimitochondrial antibody และ AMA M2

การมีระดับของ AMA หรือ AMA-M2 ในเลือดสูงสามารถบ่งชี้ได้ว่าสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดของความเสียหายที่ตับคือโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี แต่ระดับของ AMA ไม่ได้สัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการหรือการพยากรณ์โรค

ผลตรวจ AMA หรือ AMA-M2 ที่เป็นลบ อาจหมายถึงความเป็นไปได้ที่อาการของจะผู้ป่วยเกิดจากอย่างอื่นที่ไม่ใช่ โรคตับแข็งทางเดินน้ำดี แต่ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้เลย เนื่องจากมีผู้ป่วยโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี ประมาณ 5-10% ที่จะมีปริมาณของ AMA หรือ AMA-M2 ปริมาณน้อย

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Antimitochondrial antibody และ AMA M2

การตรวจ AMA และ AMA-M2 เพียงอย่างเดียวไม่สามารถวินิจฉัยโรคตับแข็งทางเดินน้ำดีได้ แต่หากทำควบคู่กับการตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ และพิจารณาจากอาการของผู้ป่วย แพทย์ก็สามารถใช้ AMA และ AMA-M2 วินิจฉัยโรคตับแข็งทางเดินน้ำดีได้ มีผู้ป่วยโรคตับแข็งทางเดินน้ำดีประมาณ 50% ที่ถูกตรวจพบโรคก่อนที่จะมีอาการเด่นชัด


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Antimitochondrial Antibody and AMA M2 (https://labtestsonline.org/tests/antimitochondrial-antibody-and-ama-m2), 22 December 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)