ช็อกจากการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylactic Chock) คืออะไร

แนะนำวิธีป้องกัน และปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดอาการแพ้รุนแรง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ช็อกจากการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylactic Chock) คืออะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการช็อกจากการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylactic Shock) จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะอาจอันตรายถึงชีวิต
  • หากเป็นอาการแพ้ชนิดรุนแรงจะมีอาการแพ้เฉียบพลัน คือ เกิดอาการแพ้ภายในไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมงหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ในระบบต่างๆ ของร่างกายมากกว่า 1 อาการพร้อมกัน เช่น แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี๊ด และลมพิษพร้อมกัน
  • การดูแลเบื้องต้นคือ ให้ฉีดยาอิพิเนฟรินทันทีที่เกิดอาการ และรีบพาผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล
  • หากสงสัยว่า ตัวเองเป็นโรคภูมิแพ้ ควรตรวจภูมิแพ้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันอาการภูมิแพ้กำเริบ หรือตรวจระดับความรุนแรงของการแพ้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่)

“Anaphylactic Shock” หรือที่เรียกว่า “อาการช็อกจากการแพ้อย่างรุนแรง” จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน เนื่องจากอาการแพ้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วร่างกาย จนส่งผลให้เกิดภาวะช็อก หมดสติ และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการ Anaphylactic Shock จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และคนรอบข้าง เพราะเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงจะได้ปฐมพยาบาลด้วยตัวเอง หรือบุคคลใกล้ชิดให้ความช่วยเหลือได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รู้จักกับ Anaphylactic Shock

การแพ้ชนิดรุนแรงทางการแพทย์เรียกว่า “แอแนฟิแล็กซิส (Anaphylaxis)” แต่ในเวชปฏิบัติอาจเรียกว่า Anaphylactic Shock ในการแพ้รุนแรงมาก โดยเฉพาะจากการแพ้ยา ซึ่งมีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน

อาการแพ้ชนิดรุนแรง คืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วร่างกายเมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ช็อก หมดสติ หัวใจล้มเหลว และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

สาเหตุของการแพ้ชนิดรุนแรง

สาเหตุของการแพ้ชนิดรุนแรง สามารถแยกได้ตามกลไกลการเกิดโรค ดังนี้

1. Immunologic mechanisms ชนิด IgE-dependent

  • แพ้อาหาร เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในการเกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรง เช่น แพ้อาหารทะเล นม ไข่ หรือกลูเตนในแป้งสาลี
  • แพ้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาในกลุ่ม Beta-lactams (Penicillin, Cephalosporin), Sulfonamides, Quinolones หรือ Macrolides
  • แพ้แมลง โดยเฉพาะแมลงตระกูลไฮมีนอพเทรา (Hymenoptera) ได้แก่ ต่อหัวเสือ แตน ผึ้ง และกลุ่มมดมีพิษ
  • แพ้ไรฝุ่นที่ปนเปื้อนมาในอาหารจำพวกแป้ง
  • สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergens) จากสัตว์เลี้ยง หรือละอองเกสรดอกไม้
  • แพ้วัคซีนภูมิแพ้ (Allergen immunotherapy)
  • สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ น้ำอสุจิ (พบได้น้อยมาก)

2. Immunologic mechanisms ชนิด IgE-independent

ตัวอย่างสารที่ทำให้เกิดการแพ้ชนิดรุนแรงในกลไกนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • กลุ่มยาแก้อักเสบชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • สารทึบรังสี (Radiocontrast media)
  • สารภูมิต้านทานโมโนโคลนอล (Monoclonal antibodies)
  • โปรตามีน (Protamine)

สารบางชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้ชนิดรุนแรงได้มากกว่า 1 กลไก

3. Non-Immunologic mechanisms

เป็นการแพ้ชนิดรุนแรงที่เกิดจากการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมสต์เซลล์ (Mast cell) โดยตรง

  • เกิดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น การออกกำลังกาย ความร้อน ความเย็น และแสงแดด
  • เอทานอล (Elthanol)
  • ยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids)

4. Idiopathic anaphylaxis

  • ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุของการแพ้ชนิดรุนแรง

ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการแพ้ชนิดรุนแรง

  • อายุ ในเด็ก และวัยรุ่นจะพบว่า อาหารเป็นสาเหตุของการแพ้ชนิดรุนแรง ในขณะที่ผู้ใหญ่มักเกิดจากยา ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่า
  • โรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น การใช้ยารักษาโรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ และโรคหืด จะทำให้การตอบสนองยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) ยารักษาอาการแพ้ชนิดรุนแรงลดลง นอกจากนี้ยังมีโรคบางชนิดที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือการแสดงอาการของภูมิแพ้อีกด้วย
  • ยาที่ผู้ป่วยใช้ มียาหลายชนิดที่ส่งผลต่อการแสดงอาการแพ้ชนิดรุนแรงให้ช้าลง เช่น ยานอนหลับ หรือยาเบต้าบล็อกเกอร์ และมียาบางตัวที่หากกินร่วมกันสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ ดังนั้นก่อนใช้ยาทุกชนิดจะต้องสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร
  • ปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดการแพ้ชนิดรุนแรง เช่น ความเครียด การติดเชื้อ ภาวะก่อนมีประจำเดือน การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) ร่วมกับออกกำลังกาย ปัจจัยเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้รุนแรงได้

หากสงสัยว่า เป็นโรคภูมิแพ้ แนะนำให้ตรวจภูมิแพ้เพื่อดูว่า แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด และอาการแพ้รุนแรงมากน้อยแค่ไหน โดย 2 วิธีตรวจภูมิแพ้ที่นิยมคือ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin Prick Test: SPT) และการตรวจเลือดเพื่อหา specific IgE antibody (sIgE)

อาการแพ้ชนิดรุนแรง

อาการแพ้ชนิดรุนแรงมักเกิดภายใน 5-30 นาที หลังได้รับสิ่งกระตุ้น แต่อาจเกิดช้ากว่านี้ในสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากอาหาร ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงหลังบริโภค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยอาการแพ้ชนิดรุนแรงที่พบมากที่สุด คืออาการแพ้ทางผิวหนัง ได้แก่ ผื่นลมพิษ และบวมที่ปาก ลิ้น และเพดานอ่อน (Angioedema)

อาการแพ้ชนิดรุนแรงอื่นๆ มีดังนี้

รู้ได้อย่างไรว่า แพ้ชนิดรุนแรง?

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะแพ้ชนิดรุนแรงแบ่งเป็น 3 เกณฑ์ ดังนี้

  1. มีอาการแพ้เฉียบพลัน (เกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง) ของระบบผิวหนัง ร่วมกับอาการในระบบอื่นๆ
  2. มีอาการแพ้เฉียบพลันในระบบร่างกายต่างๆ ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป หลังสัมผัสกับสารที่น่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้
  3. ความดันโลหิตลดลงเฉียบพลันหลังสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ที่ทราบอยู่แล้ว
    • เด็กจะมีค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic) ต่ำกว่าความดันปกติตามเกณฑ์ หรือลดลงมากกว่า 30% ของความดันโลหิตตัวบนเดิม โดยค่าความดันโลหิตตัวบนต่ำในเด็กคือ
      • น้อยกว่า 60 mmHg ในเด็กอายุ 0-28 วัน
      • น้อยกว่า 70 mmHg ในเด็กอายุ 1 เดือนถึง 1 ปี
      • น้อยกว่า 70 mmHg + (2 x อายุเป็นปี) ในเด็กอายุ 1-10 ปี
      • น้อยกว่า 90 mmHg ในเด็กอายุ 11-17 ปี เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
    • ผู้ใหญ่จะมีค่าความดันโลหิตตัวบนน้อยกว่า 90 mmHg หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 30%

แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรง

  • ประเมิน และแก้ไขระบบทางเดินหายใจ ให้ผู้ป่วยหายใจได้ปกติ และระบบการไหลเวียนของเลือดของผู้ป่วยก่อน
  • ฉีดยาอิพิเนฟริน ปกติแล้วผู้ป่วยจะได้รับยาฉีดชนิดนี้ไว้พกติดตัวเมื่อถูกวินิจฉัย หรือมีประวัติว่า เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง โดยต้องให้ทันทีเมื่อเกิดอาการ และให้ฉีดซ้ำทุก 5-15 นาที
  • ให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล

วิธีรักษาระยะยาว และป้องกันการเกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรง

  • ผู้ป่วย และบุคคลใกล้ชิด ควรเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะแพ้ชนิดรุนแรง เช่น สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง และวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการแพ้รุนแรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • พกบัตรประจำตัวผู้ป่วย
  • พกยาฉีดอิพิเนฟรินติดตัวตลอดเวลา
  • พกยาแก้แพ้อื่นๆ เช่น ยาต้านฮิสทามีนชนิด H1 ที่ไม่ทำให้ง่วง (non-sedating H1-antihistamines) เพรดนิโซโลน (Prednisolone) ยาขยายหลอดลม และยาอื่นๆ ที่แพทย์เห็นสมควร
  • หากเกิดภาวะแพ้ชนิดรุนแรงหลังถูกแมลงกัดต่อย ควรฉีดวัคซีนภูมิแพ้เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแพ้ชนิดรุนแรงในครั้งต่อไป
  • ยาหลายชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้รุนแรงได้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

อาการแพ้ชนิดรุนแรงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสามารถเกิดได้จากสารก่อภูมิแพ้ทุกชนิด ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หากสงสัยว่า ตนเองเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้อาหาร หรือภูมิแพ้อาหารแฝง ควรไปตรวจภูมิแพ้

การตรวจภูมิแพ้จะทำให้รู้ว่า ตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด และมีอาการแพ้รุนแรงมากน้อยแค่ไหน นอกจากจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคภูมิแพ้แล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยจากโรคภูมิแพ้ด้วย

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, การแพ้อาหารคืออะไร (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OBS/admin/knowledges_files/25_65_1.pdf).
คณะทำงานเพื่อการรักษาและป้องกันการแพ้ชนิดรุนแรงแห่งประเทศไทย, แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพ้ชนิดรุนแรง พ.ศ.2560 (https://www.allergy.or.th/2016/pdf/Thai_CPG_Anaphylaxis_2017_Full_version.pdf).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สารก่อภูมิแพ้คืออะไร
สารก่อภูมิแพ้คืออะไร

สำรวจความหมาย และประเภทของสารก่อภูมิแพ้ แล้วต้องทำอย่างไรจึงจะป้องกันสารก่อภูมิแพ้ได้

อ่านเพิ่ม