มีเซ็กส์ทางทวารหนัก (Anal Sex) ปลอดภัยหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีเซ็กส์ทางทวารหนัก (Anal Sex) ปลอดภัยหรือไม่?

หลายคนอาจคุ้นชินกับการมีเซ็กส์ทางช่องคลอด แต่ความจริงแล้วเราก็สามารถมีเซ็กส์ทางทวารหนักได้เช่นกัน ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีอายุอยู่ใน 20-39 ปี มากกว่า 20% ที่เคยมีเซ็กส์ทางประตูหลัง อย่างไรก็ดี ผู้หญิงบางคนพบว่าการมีเซ็กส์ทางทวารหนักก็ทำให้รู้สึกสุขสมได้ไม่แพ้กัน หากตอนนี้คุณกำลังเบื่อเซ็กส์แบบเดิมๆ และอยากลองเพิ่มสีสันให้กิจกรรมบนเตียง แต่ก็ยังไม่กล้ามีเซ็กส์ทางประตูหลัง วันนี้เราจะพาคุณไปไขข้อข้องใจในบางประเด็นที่คุณอาจแอบสงสัย มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บหรือไม่?

การมีเซ็กส์ทางประตูหลังอาจทำให้เสี่ยงต่อการฉีกขาดที่ทวารหนัก โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นมือใหม่ แต่ก็มีหลายวิธีที่สามารถช่วยคุณ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเริ่มโดยใช้ Butt Plug อันเล็กๆ แล้วค่อยสอดใส่องคชาต หรือการใช้สารหล่อลื่นเพื่อลดโอกาสที่รูทวารจะฉีกขาด อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำยาสวนทวารสามารถทำให้เกิดการอักเสบหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเยื่อเมือกของทวารหนัก ทางที่ดีให้คุณถ่ายอุจจาระก่อนที่จะเริ่มกิจกรรม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การมีเซ็กส์ทางทวารหนักสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้หรือไม่?

อุจจาระออกมาทางรูทวาร และมีแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ภายใน ซึ่งมันสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องคลอด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหลังจากที่คุณทำธุระหนักแล้ว คุณควรใช้กระดาษทิชชู่เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ซึ่งการติดเชื้อที่เกี่ยวกับการมีเซ็กส์ทางทวารหนักก็คือ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) อย่างไรก็ตาม คุณสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวโดยให้คู่ของคุณใส่ถุงยาง และถ้ามีเซ็กส์สลับจากรูทวารมาเป็นช่องคลอด ให้เขาเปลี่ยนถุงยางชิ้นใหม่ทุกครั้ง การทำเช่นนี้สามารถช่วยลดการส่งผ่านแบคทีเรีย นอกจากนี้หากคุณชอบใช้ลิ้นกระตุ้นรูทวารอีกฝ่าย ให้คุณใช้ Dental Damn ก่อนทุกครั้ง ซึ่งมันสามารถช่วยลดการนำแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย

มีความเสี่ยงที่ร้ายแรงในระยะยาวหรือไม่?

การมีเซ็กส์ทางประตูหลังโดยไม่ได้ป้องกันจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV มากขึ้น รอยถลอกหรือรอยฉีกขาดเล็กๆ ที่เกิดในระหว่างมีเซ็กส์ทางรูทวารมีแนวโน้มที่จะทำให้ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น สำหรับปัญหาที่เป็นไปได้อื่นๆ คือ ภาวะไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ เพราะมีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2016 พบว่า การมีเซ็กส์ทางทวารหนักมีความสัมพันธ์กับการมีความเสี่ยงที่จะกลั้นอุจจาระไม่ได้สูงขึ้นเล็กน้อยในผู้หญิง นอกจากนี้ผู้ควบคุมงานวิจัยยังให้ความเห็นด้วยว่า การมีเซ็กส์ทางประตูหลังสามารถทำให้หูรูดทวารหนักทั้งภายในและภายนอกขยายและยืดออก ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเหล่านี้

ถึงกระนั้นก็ตาม งานวิจัยไม่ได้สนใจว่าผู้เข้าร่วมทดลองมีเซ็กส์ทางทวารหนักบ่อยมากเพียงใด ดังนั้นจึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการมีเซ็กส์ทางประตูหลังกี่ครั้งถึงทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะไม่สามารถกลั้นอุจจาระ หากคุณรู้สึกกังวล การออกกำลังกายที่เรียกว่า Kegels สามารถช่วยให้หูรูดแข็งแรงได้ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรอายที่จะไปพบแพทย์ถ้าคุณตกอยู่ในภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเซ็กส์ทางทวารหนักหรือไม่ก็ตาม

มีสัญญาณอะไรไหมที่บอกว่าเราไม่ควรมีเซ็กส์ทางทวารหนัก?

การที่คุณจะปกป้องตัวเองจากปัญหาที่เกี่ยวกับเซ็กส์ทางทวารหนักคือ ถ้าคุณรู้สึกเจ็บในระหว่างที่ทำกิจกรรม คุณก็ควรหยุด และให้คุณมีเซ็กส์กับคนที่คุณคิดว่าปลอดภัยและสามารถสื่อสารได้ง่าย หากคุณมีความเข้าใจตรงกัน คุณก็จะได้รับประสบการณ์ที่ดีและปลอดภัยร่วมกัน

การมีเซ็กส์ทางทวารหนักอาจเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับคุณ แต่คุณก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัย และอย่าลืมใช้ถุงยางเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามมาในอนาคต รวมถึงหมั่นสื่อสารกับอีกฝ่ายอยู่เสมอ และหากการมีเซ็กส์รูปแบบนี้ไม่ใช่ทางของคุณ คุณก็ไม่ควรฝืนค่ะ

ที่มา: https://www.womenshealthmag.co...

 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medicalnewstoday.com, Anal Sex (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324637.php), March 6, 2019
healthline.com, Anal Sex (https://www.healthline.com/health/healthy-sex/anal-sex-safety), January 10, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)