การตรวจหาเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) จากเลือด

ทำเพื่อวินิจฉัยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และความผิดปกติอื่นๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจหาเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) จากเลือด

การตรวจหา Amylase จากเลือด ทำเพื่อวินิจฉัยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และความผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตับอ่อน ในบางครั้งแพทย์อาจตรวจหา Amylase จากปัสสาวะเพิ่มด้วย หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะที่ตับอ่อนได้รับความเสียหายมาก เช่น เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน

ชื่ออื่น: Amy

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Amylase?

แพทย์อาจตรวจ Amylase จากเลือด เมื่อผู้ป่วยมีสัญญาณ หรืออาการที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติของตับอ่อนดังนี้

  • อาการเจ็บท้องช่วงบนระดับรุนแรงซึ่งลามไปด้านหลัง หรือรู้สึกแย่หลังจากรับประทานอาหาร
  • เป็นไข้
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาหรือผิวเป็นสีเหลือง
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • อุจจาระเหลว มัน และมีกลิ่นเหม็น

ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งให้ตรวจหาอะไมเลสในปัสสาวะควบคู่ไปด้วย หรือทำหลังจากตรวจหาอะไมเลสในเลือด เพื่อประเมินประสิทธิผลของการรักษา และเพื่อตัดสินว่าระดับของอะไมเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

รายละเอียดการตรวจ Amylase

Amylase เป็นเอมไซม์ที่ตับอ่อน และต่อมน้ำลายผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต การตรวจนี้จะวัดปริมาณของอะไมเลสในเลือด ปัสสาวะ หรือ Peritoneal fluid ซึ่งเป็นน้ำที่อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อที่หุ้มช่องท้อง และด้านนอกของอวัยวะช่องท้อง

เลือด และปัสสาวะมักมีอะไมเลสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อเซลล์ในตับอ่อนเสียหาย ตับอ่อนก็จะหลั่งอะไมเลสสู่กระแสเลือดมากขึ้น และทำให้ความเข้มข้นของอะไมเลสในปัสสาวะเพิ่มขึ้น เพราะเอนไซม์ชนิดนี้ถูกกำจัดออกจากเลือดและออกมากับปัสสาวะ การมีระดับของอะไมเลสเพิ่มขึ้นสามารถเกิดร่วมกับโรคตับอ่อนอักเสบ หรือเมื่อเกิดนิ่วในถุงน้ำดีอุดที่ท่อของตับอ่อน

ดังนั้น แพทย์จึงอาจสั่งให้ตรวจอะไมเลสในปัสสาวะเพื่อตรวจหาโรคตับอ่อนอักเสบ ซึ่งในบางครั้งอาจต้องตรวจหาระดับของครีอะตินีน (Creatinine) ในปัสสาวะควบคู่กับตรวจหาอะไมเลสในปัสสาวะ เพื่อประเมินการทำงานของไตด้วย เพราะหากไตทำงานผิดปกติ ก็จะส่งผลให้อัตราการกำจัดอะไมเลสช้าลง

ความหมายของผลตรวจ Amylase

การมีระดับของอะไมเลสในเลือดสูงอาจบ่งชี้ถึงภาวะที่ส่งผลกระทบต่อตับอ่อน ผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน มักมี Amylase ในเลือดเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า โดยปกติแล้ว อะไมเลสจะเพิ่มขึ้นภายใน 4-8 ชั่วโมงเมื่อเกิดความผิดปกติกับตับอ่อน และจะยังคงอยู่ในระดับสูงจนกว่าจะรักษาต้นเหตุของปัญหาได้สำเร็จ ซึ่งค่าของอะไมเลสจะกลับมาสู่ระดับปกติในเวลาไม่กี่วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระดับของอะไมเลสอาจเพิ่มขึ้นทั้งในเลือดและปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญในผู้ที่มีภาวะท่อตับอ่อนอุดตันและเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน ส่วนผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจะมีระดับของอะไมเลสเพิ่มขึ้นปานกลางในช่วงแรก แต่จะลดลงเมื่อความเสียหายของตับอ่อนลุกลาม หากเกิดกรณีนี้ การที่อะไมเลสกลับมาอยู่ในระดับปกติอาจไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยหายจากโรคแล้ว

การมีอะไมเลสใน Peritoneal Fluid เพิ่มขึ้น สามารถพบได้ในผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และผู้ที่มีความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับช่องท้อง เช่น ลำไส้อุดตัน หรือมีเลือดไหลไปยังลำไส้เล็กน้อยลง และหากพบผู้ที่มีอาการของโรคตับอ่อนอักเสบที่มีระดับของอะไมเลสในเลือดและปัสสาวะลดลง อาจบ่งชี้ได้ว่าเซลล์ในตับอ่อนที่ผลิตอะไมเลสเสียหายถาวร หรืออาจเกิดจากโรคไต และโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก

มีอะไรเกี่ยวกับ Amylase ที่ควรรู้อีกบ้าง?

  • การมีระดับ Amylase เพิ่มขึ้น ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นโรคตับอ่อนเสมอไป เพราะอะไมเลสอาจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในคนที่ถุงน้ำดีมีปัญหา รวมถึงอะไมเลสในปัสสาวะและเลือดอาจเพิ่มขึ้นระดับปานกลางเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคหรือภาวะอื่นๆ เช่น
    • โรคมะเร็งรังไข่
    • โรคมะเร็งปอด
    • การตั้งครรภ์ในท่อนำไข่
    • ไส้ติ่งอักเสบชนิดเฉียบพลัน
    • ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน
    • โรคคางทูม
    • ลำไส้เล็กอุดตัน
    • มีแผลทะลุ
  • มียาหลายชนิดที่อาจทำให้อะไมเลสเพิ่มขึ้น เช่น




2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Amylase ทางเลือด เพื่อวินิจฉัยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และความผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบ, โรคตับอ่อนอักเสบ, โรคมะเร็ง, ช่องท้อง, ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง, ตับอักเสบ, ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน, มะเร็งตับ, มะเร็งตับอ่อน, ลำไส้เล็ก
Amylase (https://labtestsonline.org/tests/amylase), 29 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)