กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Ampicillin (แอมพิซิลิน)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Ampicillin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ group B Streptoccocalในเด็กแรกเกิดระหว่างคลอด
  • ข้อบ่งใช้สำหรับติดเชื้อที่ถุงน้ำดีถุงลมอักเสบเยื่อบุหัวใจอักเสบกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ติดเชื้อ listeria หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อ streptococcal ก่อนคลอด เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับโรคไข้ไทฟอยด์และพาราไทฟอยด์
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อโกนอเรีย ชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อ ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือด

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Ampicillin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ แอมพิซิลินมีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้งกระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและหยุดการประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์แบคทีเรียจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์ออโตไลซิน (autolysin) และมูเรอิน ไฮโดรเลส (murein hydrolase)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้ของยา Ampicillin

ข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อหุ้มสมองอักเสบยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 2 กรัมทุก 6 ชั่วโมงขนาดการใช้ยาในเด็ก 150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันโดยแบ่งให้ยา ข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ group B Streptoccocalในเด็กแรกเกิดระหว่างคลอด ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่เริ่มต้นขนาด 2 กรัมให้ยาทางหลอดเลือดดำจากนั้นตามด้วยขนาด 1 กรัมทุก 4 ชั่วโมงจนกระทั่งคลอด ข้อบ่งใช้สำหรับติดเชื้อที่ถุงน้ำดีถุงลมอักเสบเยื่อบุหัวใจอักเสบกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ติดเชื้อ listeria หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อ streptococcal ก่อนคลอด เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 0.25-1 กรัม ทุกหกชั่วโมง ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุน้อยกว่า 10 ปี ขนาดยาครึ่งหนึ่งของขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ ข้อบ่งใช้สำหรับโรคไข้ไทฟอยด์และพาราไทฟอยด์ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 1-2 กรัม ทุกหกชั่วโมง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ในกรณีเป็นการติดเชื้อชนิดเฉียบพลัน และ 4-12 สัปดาห์ในกรณีเป็นพาหะของเชื้อ ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อโกนอเรีย ชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ขนาด 2 กรัมร่วมกับ 1 กรัมของยา probenacidแบบครั้งเดียว แนะนำให้ใช้ยาซ้ำในผู้ป่วยสตรี ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อ ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือด ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีใช้ขนาดยาครึ่งหนึ่งของขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยาAmpicillin

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยาAmpicillin

- ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาแอมพิซิลลิน หรือยาเพนนิซิลลิน (penicillin) อื่น - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มบีต้า-แลกแทม (beta-lactam) - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต - ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาAmpicillin

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อาการขึ้นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เกิดผื่นแดง เจ็บปาก ลิ้นเป็นสีดำ เกิดคืน อาการแพ้ยาแบบ Steven-Johnson การเกิดพิษต่อผิวหนัง อาการบวม เป็นไข้ ปวดข้อ ภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เลือดแข็งตัวช้าลง พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อาการชัก เกิดพิษต่อไต ไตอักเสบ ตับอักเสบ ดีซ่านชนิดที่มีการสะสมของคลอเรสเตอรอล การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ตับ อาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ การแพ้ยาแบบ Anaphylaxis อาการท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile

ข้อมูลการใช้ยาAmpicillinในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายาAmpicillin

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส ยาผงสำหรับละลายน้ำ เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 8 ถึง 8 องศาเซลเซียส ยามีอายุ 14 วัน

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Pharmacokinetics of Ampicillin and Sulbactam in Pediatric Patients (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC89137/)
University of Illinois-Chicago, Drug Information Group, Ampicillin, Oral Capsule (https://www.healthline.com/health/ampicillin-oral-capsule), 15 March 2018.
ncbi.nlm.nih, Ampicillin (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK547894/), 30 March 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)