กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยอายุน้อยคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยอายุน้อยคืออะไร?

ถึงแม้ว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แต่บางครั้งโรคนี้ก็สามารถเกิดในคนอายุ 30-50 ปีได้เช่นกัน

โรคอัลไซเมอร์มักเกิดกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี แต่เมื่อพิจารณาผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มากกว่า 5 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา กลับพบว่ามีผู้ป่วยราว 5% (หรือ 200,000 คน) ที่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุก่อน 65 ปี และบางครั้งเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 30, 40 หรือ 50 ปี โรคอัลไซเมอร์ในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยนี้มีผลต่อสมองแบบเดียวกันที่เกิดในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า แต่เกิดจากสาเหตุที่ต่างกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยอายุน้อย

โรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทภายในสมอง (neuron) หยุดทำงาน  ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเซลล์ประสาทอื่นและตายในเวลาต่อมา ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองหดตัวลง ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่จากการศึกษาพบว่าสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีสะเก็ดอะไมลอยด์ ( amyloid plaque) จำนวนมาก (ซึ่งเป็นการสะสมโปรตีนที่ผิดปกติระหว่างเซลล์ประสาท) และมีเส้นใยประสาทที่ยุ่งเหยิง (เกิดการพันกันของสารโปรตีนที่ชื่อ tau) ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่อายุน้อยส่วนมากเกิดจากการกลายพันธุ์ที่ผิดปกติของยีน 1 ใน 3 ตัวต่อไปนี้ ได้แก่  APP, PSEN1 หรือ PSEN2 การกลายพันธุ์ของยีน 3 ตัวดังกล่าวคือ APP, PSEN1 หรือ PSEN2 ทำให้เกิดการผลิตสารตั้งต้นของ amyloid (amyloid precursor proteins  : APP) ที่ผิดปกติ คือ โปรตีน presenilin-1 หรือ presenilin-2 ตามลำดับ เชื่อว่าการกลายพันธุ์นี้นี้มีส่วนในการสลาย APP ซึ่งทำให้เกิดเป็นสะเก็ดอะไมลอยด์  (amyloid plaque) หากพ่อหรือแม่แท้ๆ ของคุณมีการยีนที่กลายพันธุ์เหล่านี้อยู่ จะทำให้คุณมีโอกาส 50% ที่จะได้รับยีนกลายพันธุ์นี้ และหากคุณมียีนนี้ คุณจะมีโอกาสสูงมากในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่อายุน้อย อ้างอิงจากสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ (National Institute on Aging) และเรายังคงไม่ทราบสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยอายุน้อย ที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีน

อาการของโรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยอายุน้อย

อาการของโรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยอายุน้อยประกอบด้วย

  • สูญเสียความทรงจำอย่างชัดเจน เช่นลืมเรื่องที่เพิ่งเรียนหรือวันและเหตุการณ์สำคัญ
  • มีความยากลำบากในการวางแผนหรือแก้ปัญหา ซึ่งรวมถึงการทำงานเกี่ยวกับตัวเลขหรือการทำตามสูตรต่าง ๆ
  • มีปัญหากับการทำงานหรือกิจกรรมที่คุ้นเคย
  • ลืมวัน ช่วงเวลา สถานที่หรือวิธีการที่ไปถึงสถานที่นั้น
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา เช่นมองภาพมุมลึก, การแยกความแตกต่างของสี หรือการอ่านลำบากขึ้น
  • มีปัญหาด้านภาษา เช่นไม่สามารถระบุหรือใช้คำที่เหมาะสมในระหว่างการสนทนา
  • วางของผิดที่ และไม่สามารถกลับมาหาของเหล่านั้นได้
  • มีการตัดสินใจที่แย่ลง โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับการเงิน
  • มีการแยกตัวจากสังคมหรือการทำงาน
  • มีอารมณ์หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง

เมื่อเวลาผ่านไป อาการเหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้น จนถึงขั้นที่คุณต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน (เช่นอาบน้ำหรือแต่งตัว) ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ และไม่สามารถจดจำคนที่รักได้

การวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์มาจาก

  • ประวัติการรักษาและประวัติครอบครัว ซึ่งรวมถึงประวัติเกี่ยวกับความจำ พฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลง
  • การตรวจร่างกายและการตรวจระบบประสาทด้านความจำ ทักษะด้านภาษา การแก้ปัญหาหรือทักษะอื่นๆ เกี่ยวกับความทรงจำที่เปลี่ยนไป
  • ข้อมูลจากครอบครัวและเพื่อนเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวันหรือพฤติกรรม
  • การตรวจอื่น เช่นการเอกซเรย์สมองเพื่อตัดสาเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ (เช่น อาการสมองขาดเลือด (stroke) หรือเนื้องอกในสมอง)

มียาบางตัวที่สามารถช่วยผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ให้สามารถคงความทรงจำและควบคุมอาการได้ชั่วคราว เช่น

  • Aricept (donepezil)
  • Exelon (rivastigmine)
  • Razadyne (galantamine)
  • Namenda (memantine)
  • Namzaric (donepezil and memantine)

รายงานเรื่อง Alzheimer’s & Dementia ปี 2014 ได้กล่าวว่าประสิทธิภาพของยาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ยาเหล่านี้ไม่สามารถหยุดยั้งการทำงานที่ผิดปกติหรือการตายของเซลล์ประสาทได้ การรักษาด้วยวิธีอื่น  เช่น การใช้ยาตัวอื่น อาจช่วยรักษาพฤติกรรมหรือปัญหาด้านจิตใจที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอัลไซเมอร์ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือกระสับกระส่าย ได้ นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยบางฉบับที่เสนอว่าการฝึกความจำ การกระตุ้นความจำ และการฝึกการทำกิจวัตรประจำวันอาจช่วยผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์บางคนให้สามารถคงความจำไว้ได้


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alzheimer's disease. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alzheimers-disease/)
Young People With Dementia (Early Onset Alzheimer's). Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/younger-people-dementia-alzheimers-98751)
Early-onset Alzheimer's: When symptoms begin before age 65. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/alzheimers-disease/in-depth/alzheimers/art-20048356)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก

คำอธิบายของอาหารคีโตเจนิกและตัวอย่างรายการอาหาร

อ่านเพิ่ม
24 ข้อดีของการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ
24 ข้อดีของการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ

การลดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตส่งให้เกิดผลดี

อ่านเพิ่ม