โภชนาการทางเลือกต้านข้ออักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โภชนาการทางเลือกต้านข้ออักเสบ

โภชนาการทางเลือกต้านข้ออักเสบ

  • เมื่อราวกลางปี พ.ศ.2005 มีข่าวใหญ่ที่ทำให้คนที่ใช้ยารักษา ข้ออักเสบต้องสะดุ้งไปตามๆกัน คือยาที่นิยมใช้ในการรักษาข้ออักเสบถูกสั่ง “ห้ามใช้และห้ามซื้อขาย” เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายทำให้เกิดหัวใจวายได้ ผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบจึงต้องมองหาทางเลือกใหม่ๆในการรักษา

โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่พบบ่อย แต่มักจะรู้จักกันในชื่อของ ข้อเสื่อม

  • โรคข้ออักเสบเป็นโรคที่มากับอายุ เกิดจากกระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อเสื่อมสภาพลง ทำให้ข้อต่อเสียดสีกันจนเกิดอาการอักเสบและปวดข้อ พบได้บ่อยในผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 45 ปี แต่ในผู้หญิงที่อายุ 45 ปี ขึ้นไปจะพบมากขึ้นเป็น 10 เท่า
  • ข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่งคือโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจำเซลล์ตัวเองไม่ได้ จึงเริ่มต่อต้านและจู่โจมเนื้อเยื่อตัวเองที่อยู่ส่วนปลายของกระดูก กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และมีผลให้เกิดอาการปวดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อ
  • นักวิจัยพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินพิกัด 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เพิ่มความเสี่ยงโรคข้ออักเสบมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติถึง 3 เท่า ฉะนั้นผู้มีน้ำหนักเยอะจึงจำเป็นต้องลดน้ำหนักเพื่อลดภาวะข้อต่อในการรองรับน้ำหนัก
  • เชื่อหรือไม่ว่า เพียงแค่ลดน้ำหนักลงเล็กน้อย เช่น ½ กิโลกรัม ก็จะบรรเทาอาการปวดลงได้มาก เพราะช่วยลดน้ำหนักที่ข้อต่อจะต้องรองรับได้ถึง 2 กิโลกรัม และยังช่วยลดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่จะตามมากับน้ำหนักตัวได้
  • การลดน้ำหนักอย่างน้อยเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการปวด

อาหารต้านข้ออักเสบ

  • อาหารสามารถป้องกันข้ออักเสบและช่วยในการบำบัดข้อเสื่อมได้ ฉะนั้นสิ่งที่คุณเลือกตักใส่ปากจะมีผลต่อการลดหรือเพิ่มอาการเจ็บปวดของข้อด้วย นักวิจัยชาวเยอรมันพบว่า การอดอาหารช่วงสั้นๆ และตามด้วยการกินอาหารมังสวิรัติประมาณ 3 เดือนช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อได้ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ก็สามารถลดอาการจากโรคข้อเสื่อมได้เช่นกัน
  • นักวิจัยชาวสวีเดนพบว่า ผู้ที่ทนทุกข์ทรมานกับโรคข้ออักเสบหลังจากที่เปลี่ยนมาบริโภคอาหารเมติเตอร์เรเนียน ซึ่งประกอบไปด้วย ผัก ถั่วต่างๆ ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ปลา น้ำมันมะกอด และแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะไวน์) เพียงเล็กน้อยติดต่อกันเพียง 3 เดือน (หากไม่มีข้อห้ามจากปัญหาโรคร่วมอื่นหรือจากแพทย์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวให้น้อยที่สุด) พบว่า สามารถลดการอักเสบและทำให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้น
  • การบริโภคผัก ผลไม้ และสมุนไพรเป็นประจำจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคมากมาย รวมทั้งข้ออักเสบ นักวิจัยจากอังกฤษพบว่า อาหารที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ เบต้าคริปโทแซนทิน และ ซีแซนทิน ซึ่งมีสีแดง ส้ม เหลือง เขียว จากผักและผลไม้จะช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ได้ดีกว่าอาหารที่มีสารพิกเมนต์หรือเม็ดสีน้อย นักวิจัยแนะว่า เพียงดื่มน้ำส้มวันละแก้วก็สามารถลดความเสี่ยงของข้ออักเสบรูมาทอยด์ได้
  • ล่าสุดนักวิจัยพบว่าผลไม้ประเภทเชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และแบล็กเบอร์รี่มีสารฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำบัดอาการจากโรคข้ออักเสบได้ นอกจากนี้กระเทียม หอม แขนงผัก และกะหล่ำปลี ยังมีสารประกอบของกำมะถันซึ่งมีฤทธิ์เป็นยา ช่วยในการบำบัดอาการข้ออักเสบได้
  • สมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง มีฤทธิ์ลดอาการปวดและต้านการอักเสบ เชื่อกันว่าขิงสามารถช่วยลดอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ และป้องกันกระเพาะอาหารจากผลข้างเคียงในคนที่ใช้ยาต้านการอักเสบประเภทเอ็นเสดส์ (NSAIDs) ได้ มีข้อมูลการวิจัยทางคลินิกที่แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากขิงช่วยลดอาการปวดจากโรคข้อเข่าได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alternative Treatments for Rheumatoid Arthritis - Alternative Health Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/alternative-health/treatment-regimens/rheumatoid-arthritis-and-cam.aspx)
Nutrition Changes Bring Relief to Rheumatoid Arthritis Sufferers. WebMD. (https://www.webmd.com/rheumatoid-arthritis/news/19991119/nutrition-changes-bring-relief-rheumatoid-arthritis#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป