กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

ฤดูกาลของโรคภูมิแพ้ อาการคืออะไร รักษาอย่างไร?

โรคภูมิแพ้ มีอาการอย่างไร รักษาให้หายขาดได้ไหม มีวิธีการบรรเทาอาการหรือป้องกันอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ฤดูกาลของโรคภูมิแพ้ อาการคืออะไร รักษาอย่างไร?

ภูมิแพ้ โรคยอดฮิตที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย จากข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก อย่างน้อย 3-4 เท่า

สาเหตุสำคัญมาจากสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป อากาศแปรปรวน ช่วงเปลี่ยนผ่านของฤดู ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 อาการภูมิแพ้เป็นอย่างไร รักษาได้ไหม มีวิธีบรรเทาอาการนั้นในเบื้องต้นอย่างไร HD มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคภูมิแพ้ คืออะไร?

โรคภูมิแพ้ (Allergy) คือโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ จนทำให้ร่างกายแสดงอาการผิดปกติ ซึ่งแต่ละคนจะตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้แตกต่างกัน แสดงอาการแตกต่างกัน และความรุนแรงของอาการก็ไม่เท่ากันด้วย

ทั้งนี้กระบวนการแพ้นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ โดยร่างกายจะหลั่งฮีสตามีน (Histamines) ออกมา ซึ่งฮีสตามีนเป็นสารที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกาย ทั้งระบบประสาท ทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อฮีสตามีนหลั่งออกมาจะทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง อาจมีหลอดลมตีบ หายใจลำบาก หากออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหารจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

อาการของโรคภูมิแพ้เป็นอย่างไร?

อาการของโรคภูมิแพ้นั้นเกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย โดยแบ่งออกเป็น 4 ระบบหลักๆ ได้แก่

1. ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อภูมิแพ้อากาศ อาการของภูมิแพ้ระบบนี้จะแสดงต่อเมื่อผู้ป่วยหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันร่างกายจะทำปฏิกิริยาเพื่อต่อต้านสารชนิดนั้น ทำให้ร่างกายแสดงอาการผิดปกติ เช่น จามบ่อย คันบริเวณใบหน้าหรือลำคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ หายใจไม่ออก หอบ หืด เจ็บคอ หูอื้อ ตาแดง หรืออาจมีไข้ร่วมด้วย

2. ภูมิแพ้อาหารหรือยา

อาการมักเกิดกับระบบทางเดินหายใจหรือระบบทางเดินอาหาร เช่น ไอ จาม น้ำตาไหล คัดจมูก คันตามร่างกาย มีอาการบวมแดงหรือคันบริเวณปาก ลิ้น อาจมีอาการใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. ภูมิแพ้ตา

มีอาการแพ้ที่แสดงออกทางดวงตา เช่น แสบตา ตาแดง ตาบวม หนังตาบวม คันหรือระคายเคืองบริเวณดวงตา มีน้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีก้อนหรือสะเก็ดเม็ดทรายติดอยู่ในดวงตา

4. ภูมิแพ้ทางผิวหนัง

มีอาการคันบริเวณผิวหนังที่ได้รับสารที่ก่อภูมิแพ้ ผดผื่นขึ้นตามตัว ผิวแห้ง มีรอยนูนแดง หรืออาจมีตุ่มบวมอักเสบ เป็นแผล ผิวลอกหากมีอาการมากอาจลุกลามเป็นลมพิษขึ้นเป็นบริเวณกว้าง

แต่กลุ่มอาการที่พบบ่อยคือ ภูมิแพ้ทางเดินหายใจหรือภูมิแพ้อากาศ ซึ่งมักเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ช่วงหน้าฝน หรือเกิดมลภาวะต่างๆ เช่น ควันท่อไอเสีย ฝุ่น PM 2.5 หรือบางครั้งอาจเกิดจากการแพ้ไรฝุ่น เชื้อรา หญ้า ละอองเกสร ขนสัตว์

การรักษาหรือบรรเทาอาการภูมิแพ้

กลุ่มอาการภูมิแพ้เป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ โดยยาที่สามารถบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้มีหลากหลายรูปแบบ

ยาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ในเบื้องต้นคือ ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทำให้ง่วงซึม และยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม

1. ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิมหรือยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทำให้ง่วงซึม (Conventional Antihistamines)

ยาในกลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ในผู้ป่วยที่มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล เยื่อจมูกอักเสบ ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นคันเนื่องจากแมลงกัดต่อย สัมผัสพืชพิษ หรือสัมผัสสารเคมีบางอย่าง นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตัวยาในกลุ่มนี้ เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) คีโตติเฟน (ketotifen) ออกซาโทไมด์ (oxatomide) ซึ่งตัวอย่างยี่ห้อยาที่ซื้อได้ตามท้องตลาด ได้แก่ เซทริซิน (Cetirizine) อะเลอแร็กซ์ (Allerax) หรือ คลอเฟน (Chlorphen)

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยาชนิดนี้คือ ยากลุ่มนี้จะเข้าไปกดระบบประสาท ทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการง่วงซึม จึงต้องระมัดระวังในการใช้ โดยมีข้อควรระวังดังนี้

  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักร ขับขี่ยานพาหนะหรืองานที่มีความเสี่ยงสูง ควรระวังในการใช้ยา ไม่ควรใช้ยาก่อนหรือขณะกำลังปฏิบัติงาน
  • ห้ามใช้ร่วมกับยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ระมัดระวังการใช้ยานี้ในเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยบางโรค เช่น ความดันในลูกตาสูง ต้อหินบางชนิด และต่อมลูกหมากโต เพราะอาจทำให้อาการความดันในลูกตาผิดปกติและภาวะปัสสาวะคั่งแย่ลง
  • ระวังการใช้ในผู้ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรเนื่องจากยาสามารถขับออกทางนํ้านมได้
  • หญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์
  • อาการข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ไม่สบายทางเดินอาหาร ปัสสาวะคั่ง นํ้าหนักตัวเพิ่ม

2. ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม (Non-sedating antihistamines)

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับกลุ่มแรก สามารถบรรเทาอาการได้คล้ายคลึงกันคือ บรรเทาอาการแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา แสบตา เนื่องจากโรคภูมิแพ้บรรเทาอาการของลมพิษเรื้อรังและอาการแพ้ทางผิวหนังอื่นๆ แต่ยากลุ่มนี้จะผ่านเข้าสมองได้น้อยมาก ทำให้เกิดอาการง่วงซึมน้อยกว่ายากลุ่มแรก

ตัวอย่างตัวยาต้านฮีสตามีนที่ไม่ทำให้ง่วงซึม เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) เซทิริซีน (Cetirizine) เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) ซึ่งตัวอย่างยี่ห้อยาที่ซื้อได้ตามท้องตลาด เช่น คลาริทิน (Clarityne) หรือ บอสนัม (Bosnum)

ซึ่งยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึมนี้ มีข้อดีคือ มีผลข้างเคียงจากการรับประทานยาน้อยกว่ายาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม เช่น อาการง่วงซึม จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า โดยส่วนใหญ่ผู้ที่รับประทานยาแล้วสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

แม้จะเป็นกลุ่มยาที่ไม่ทำให้ง่วงซึม แต่ก็มีข้อระวังในการใช้เช่นกัน ดังนี้

  • ยานี้ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมในขนาดยาที่แนะนำให้ใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ยาบางรายอาจมีอาการง่วงซึมได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรและการขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานที่มีความเสี่ยงสูง
  • ผู้ที่รับประทานยาอื่นร่วมด้วยควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อน เนื่องอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อรับประทานร่วมกัน
  • ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร เนื่องจากยาสามารถขับออกทางนํ้านมได้
  • ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต และผู้ที่มีประวัติคลื่นหัวใจผิดปกติ
  • หญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์
  • อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ จมูกแห้ง ปากแห้ง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ กระวนกระวาย คลื่นไส้ กระเพาะอาหารอักเสบ ผมร่วง

วิธีการบรรเทาอาการภูมิแพ้ที่ยกมาข้างต้นนั้นสามารถบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้บางรูปแบบเท่านั้น สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจมีอาการของโรคภูมิแพ้ หรือมีการอาการอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

โรคภูมิแพ้ โดยส่วนใหญ่มักเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงนัก (เว้นแต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการแพ้รุนแรง จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต) แต่ก็ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งในแง่การรับประทานยาที่เหมาะสมกับกลุ่มอาการ และในแง่การป้องกันโรค เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลกรุงเทพ, ภูมิแพ้ รู้ให้ทันดูแลได้ (https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/allergy-care-to-keep-up).
Rama Channel, โรคภูมิแพ้นั้นรักษาไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/โรคภูมิแพ้นั้นรักษาไม่/).
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์,โรคภูมิแพ้ คืออะไร? (Allergy) (http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/608).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มลพิษในอากาศ อันตรายกว่าที่คุณคิด

มลพิษในอากาศ อันตรายกว่าที่คุณคิด


“คนเรา” ในฐานะที่ต้องอยู่ในสังคมจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันมลพิษใกล้ตัวเสียแล้ว เพื่อสุขภาพของเราและคนที่เรารัก

อ่านเพิ่ม