พีรศักดิ์ คานทองดี
เขียนโดย
พีรศักดิ์ คานทองดี

“การฝังเข็ม” ทางเลือกการดูแลและรักษาสุขภาพ

การฝังเข็ม ศาสตร์แพทย์แผนจีน ที่เข้ามาเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ รักษาโรค ฝังเข็มทำอย่างไร รักษาอาการใดได้บ้าง ราคาเท่าไร ดูข้อมูลที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
“การฝังเข็ม” ทางเลือกการดูแลและรักษาสุขภาพ

การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรค ป้องกันโรค ฟื้นฟู และสร้างเสริมสุขภาพตามหลักของแพทย์แผนจีนที่มีมานานกว่า 4,000 ปี และมีการเผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายร้อยปี

จนในปัจจุบันการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มได้เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ได้ให้การรับรองผลการรักษาโรคด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเซี่ยงไฮ้ ได้จัดอบรมแพทย์ฝังเข็มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนกว่า 500 คนทั่วประเทศ

การฝังเข็มคืออะไร?

การฝังเข็ม คือ การใช้เข็มที่มีขนาดบางและเล็ก ประมาณ 0.2 มิลลิเมตร หรือเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปประมาณ 4-6 เท่า ฝังตามจุดต่างๆ บนเส้นลมปราณ (Meridian) ของร่างกาย ทำให้ให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และช่วยปรับสมดุลของร่างกาย

มีงานวิจัยพบว่า การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่ช่วยระงับการปวด ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่มีการอักเสบ

จุดฝังเข็มในร่างกายอยู่ที่ใดบ้าง?

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน ในร่างกายจะมีเส้นลมปราณใหญ่อยู่ 14 เส้น ซึ่งมีจุดที่สามารถฝังเข็มได้ประมาณเกือบ 800 จุด

อย่างไรก็ดี จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิงขององค์การอนามัยโลก (WHO) มีอยู่ด้วยกันจำนวน 349 จุด ซึ่งการดำเนินการรักษาหรือฝังเข็มในแต่ละจุดจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและอาการของโรคที่ต้องการรักษา

ประโยชน์ของการฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารต่างๆ ในระบบประสาท ฮอร์โมน และกลไกของร่างกายโดยรวม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งยังช่วยทำให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้การฝังเข็มยังเป็นการควบคุมเส้นเลือดและการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ซึ่งจากกลไกเหล่านี้ สามารถจำแนกประโยชน์ของการฝังเข็มได้ ดังต่อไปนี้

การฝังเข็มเพื่อรักษาโรค

จากทฤษฎีแพทย์จีนเชื่อว่ามนุษย์และทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติจะประกอบด้วยพลังธรรมชาติ 2 ประการ ได้แก่ หยินและหยาง เมื่อใดที่หยิน หยาง ในตัวเสียสมดุลก็อาจเกิดภาวะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคต่างๆ ได้ การฝังเข็มรักษาโรคจึงเป็นรูปแบบการรักษาโรคที่ช่วยรักษาสมดุลของร่างกายและการไหลเวียดของเลือด

โดยในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยการใช้การฝังเข็มในการรักษาโรค ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังได้ประกาศยืนยันว่าโรคที่สามารถรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มได้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มที่ได้ผลเด่นชัด

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่

  1. กลุ่มโรคเกี่ยวกับอาการปวด เช่น ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากการเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดศีรษะ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน ตลอดจนอาการซึมเศร้า เป็นต้น
  2. กลุ่มโรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นเหียรอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด

2. การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มที่ให้ผลดี

ได้แก่ การฝังเข็มรักษาอาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู สายตาสั้นในเด็ก เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มที่ได้ผล

ได้แก่ การฝังเข็มรักษาท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ

การฝังเข็มเพื่อความงาม

นอกเหนือจากการักษาโรคแล้ว ในปัจจุบันยังมีการศึกษาและพัฒนาศาสตร์การฝังเข็มมาช่วยในเรื่องการดูแลความงาม

เนื่องจากการปัญหาสุขภาพเรื่องความงามโดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมน เลือดลมในร่ายกาย สภาวะอารมณ์ ตลอดจนความเครียด ซึ่งล้วนก่อเกิดปัญหาทางด้านผิวพรรณในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิว ฝ้า กระ หรือรอยเหี่ยวย่น

ดังนั้นในกรณีที่มีระดับฮอร์โมนมาเกินไป การฝังเข็มจะช่วยในการปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับกลาง รักษาความสมดุลของร่างกายให้ดีขึ้นได้ หรือถ้าเกิดสภาวะขาด ก็สามารถใช้การฝังช่วยในการกระตุ้นร่างกายสามารถให้สร้างเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น

พูดง่ายๆ คือ เมื่อร่างกายเรามีความสมดุลในเรื่องของเลือด เกลือแร่ และของฮอร์โมนต่างๆ แล้ว ก็จะได้ผลลัพธ์ของผิวพรรณที่มีสุขภาพดีนั่นเอง

ใครบ้างที่ควรระวังเรื่องการฝังเข็ม?

ถึงแม้ว่าการฝังเข็มจะเป็นรูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพที่ปลอดภัย เนื่องจากเข็มที่ใช้การรักษาไม่มีการเคลือบยาหรือสารใดๆ จึงไม่มีความเสี่ยงเรื่องการใช้เกินขนาด (Overdose) หรือการเกิดพิษ (Intoxication) ตลอดจนผู้ที่มีอาการแพ้ยา

อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ไม่ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม ได้แก่

  • ผู้ป่วยที่หวาดกลัวการฝังเข็มมากเกินไป
  • ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายหนัก เนื่องจากร่างกายอาจอยู่ในสภาวะอ่อนเพลีย หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตไม่คงที่
  • สตรีมีครรภ์ หากต้องการฝังเข็มจริงๆ ให้แจ้งแพทย์เพื่อเลี่ยงบางจุดที่อาจทำให้มดลูกบีบรัดตัว
  • ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือด
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย เนื่องจากการฝังเข็มในปัจจุบันอาจมีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายได้
  • ผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ในสภาวะดังกล่าวนี้ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ จากการฝังเข็ม เช่น เป็นลม เลือดออกหรือมีรอยช้ำที่จุดฝังเข็ม และอาจเกิดการติดเชื้อได้
  • ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิตเวช หรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้

ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็ม

ปัจจุบันในประเทศไทย มีการให้บริการการรักษาด้วยการฝังเข็มตามโรงพยาบาล และคลินิกต่างๆ มากขึ้น

ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็มจะขึ้นอยู่กับโรคหรืออาการที่ต้องการรักษาและสถานพยาบาลนั้นๆ เช่น การฝังเข็มหนึ่งครั้ง (ซึ่งอาจมีการฝังหลายจุด) จะอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาท หรือการฝังเข็มแบบโปรแกรมหรือคอร์ส จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้ง

ถึงแม้ว่าการฝังเข็มจะสามารถช่วยดูแลรักษาสุขภาพได้หลากหลายด้าน มุ่งเน้นการรักษาสมดุลของร่างกายตามหลักการแพทย์แผนจีน แต่เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า การฝังเข็มจึงควรดำเนินควบคู่ไปกับการรักษาในรูปแบบอื่นๆ หรือการปรับรูปแบบการใช้ชีวิต

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจการรักษาในรูปแบบฝังเข็ม ควรศึกษาและเลือกสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้การดำเนินการรักษาเป็นไปอย่างปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ฝังเข็มออฟฟิศซินโดรม กระตุ้นไฟฟ้า ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิว ฝังเข็ม Office Syndrome กระตุ้นไฟฟ้า และโคมไฟอินฟาเรด ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิวฝังเข็ม บรรเทาภูมิแพ้ ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall
รีวิวทุกขั้นตอน ฝังเข็ม ครอบแก้ว ติดหมุดใบหู ที่ Mandarin Clinic | HDmall
รีวิวฝังเข็ม รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall

รีวิวการรักษาอาการไหล่ติด ด้วยวิธีผสมผสาน 3 ศาสตร์ กายภาพบำบัด นวดคลายกล้ามเนื้อ และฝังเข็ม ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝังเข็มแบบจีนกับแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร? ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาการของเรา? (https://hdmall.co.th/c/what-difference-dry-needling-vs-acupuncture).
ฝังเข็ม อันตรายไหม? ช่วยอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-chinese-acupuncture).
การฝังเข็มแบบตะวันตกคืออะไร? Dry Needling รักษาโรคอะไรได้บ้าง? (https://hdmall.co.th/c/what-is-dry-needling-puncture).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป