กนกกาญจน์  ดวงสุวรรณกุล
เขียนโดย
กนกกาญจน์ ดวงสุวรรณกุล
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

แพ้แอลกอฮอล์ อาการเป็นแบบไหน อันตรายไหม ทำอย่างไรดี?

ภาวะแพ้แอลกอฮอล์มีความใกล้เคียงกับภาวะไม่ทนต่อแอลกอฮอล์แต่อันตรายกว่ามาก หากมีอาการรุนแรงต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 26 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แพ้แอลกอฮอล์ อาการเป็นแบบไหน อันตรายไหม ทำอย่างไรดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะแพ้แอลกอฮอล์ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองอย่างรุนแรงมากผิดปกติ ต่อแอลกอฮอล์ 
  • หากแพ้แอลกอฮอล์ ปริมาณแอลกอฮอล์เล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการได้ 
  • อาการแพ้แอลกอฮอล์เล็กน้อย เช่น ผื่นลมพิษ แดง คัน คัดจมูก ส่วนอาการแพ้แอลกอฮอล์รุนแรง เช่น หายใจมีเสียงหวีด ปวดท้อง บวม คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ซึม อาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ
  • อาการแพ้ไม่รุนแรงบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้แพ้ แต่หากแพ้รุนแรงจะต้องฉีดยาอีพิเนฟรินทันทีเพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • การตรวจภูมิแพ้จะช่วยให้รู้ถึงระดับความรุนแรงของการแพ้ได้ ทำได้โดยการทดสอบทางผิวหนัง หรือการตรวจเลือด (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ ได้ที่นี่)

"แพ้แอลกอฮอล์" เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย อาการแพ้แอลกอฮอล์มีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรง มีเพียงผื่นลมพิษเกิดขึ้น จนทำให้สับสนกับภาวะไม่ทนทานต่อแอลกอฮอล์ (Alcohol Intolerance) ซึ่งพบได้บ่อยกว่า ไปจนถึงอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงชีวิต

แพ้แอลกอฮอล์สาเหตุเกิดจากอะไร?

ภาวะแพ้แอลกอฮอล์ เกิดขึ้นเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองอย่างรุนแรงมากผิดปกติต่อแอลกอฮอล์ ผู้ที่แพ้แอลกอฮอล์จะแสดงอาการแพ้ได้แม้ดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ซึ่งต่างจากภาวะไม่ทนทานต่อแอลกอฮอล์ ซึ่งเกิดจากเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยแอลกอฮอล์มีปริมาณลดลง ทำให้ย่อยสลายแอลกอฮลล์ได้น้อยกว่าคนปกติ หรืออาจย่อยไม่ได้เลย

อาการแพ้แอลกอฮอล์

อาการที่แสดงว่า แพ้แอลกอฮอล์ มีดังนี้

หากมีอาการดังกล่าวเหล่านี้หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยว่าแพ้แอลกอฮอล์ หรือเป็นแค่ภาวะไม่ทนต่อแอลกอฮอล์เท่านั้น เพราะในกรณีที่แพ้รุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

ผลข้างเคียงจากการดื่มแอลกอฮอล์

อาการเหล่านี้ถือว่าเป็น”ผลข้างเคียง” จากการดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่ใช่อาการแพ้แอลกอฮอล์

  • หน้าแดงตัวแดง
  • รู้สึกร้อนวูบวาบ
  • ใจสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ไม่สบายท้อง
  • ความดันโลหิตตก

ใครเสี่ยงต่อการแพ้แอลกอฮอล์บ้าง

  • คนเอเชีย
  • คนที่เป็นโรคหอบหืด
  • คนที่เคยแพ้อาหารกลุ่มธัญพืช
  • คนที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด

วิธีวินิจฉัยภาวะแพ้แอลกอฮอล์

การวินิจฉัยภาวะแพ้แอลกอฮอล์ แพทย์อาจมีวิธีในการทดสอบหลายวิธี เช่น 

  • แพทย์อาจทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังโดยวิธีสะกิด (Skin prick test) เพื่อดูว่า แพ้แอลกออฮอล์ หรือสารอาหารประเภทใดบ้าง
  • แพทย์อาจให้วิธีดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยแล้วสังเกตอาการ
  • แพทย์อาจทำการเจาะเลือดตรวจวัดระดับเอนไซม์ทริปเทส (Tryptase) ที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 3 ชั่วโมง หลังได้รับสารก่ออาการแพ้อย่างรุนแรง

วิธีวินิจฉัยดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อภาวะแพ้อย่างรุนแรง ดังนั้นจึงต้องทำอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แม้ว่าจะมีการตรวจการแพ้แอลกอฮอล์ แต่ในบางรายอาจพบว่าไม่แพ้ได้ เนื่องจากร่างกายจะมีการผลิตแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยๆ เพื่อใช้งานอยู่แล้ว

แพ้แอลกอฮอล์ หน้าแดง หน้าบวม ตาบวม หน้ามืด ต้องทำอย่างไร?

หากเริ่มมีอาการที่รุนแรง เช่น เริ่มหายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที

เนื่องจากผู้ป่วยต้องได้รับการฉีดยาอีพิเนฟริน (Epinephrine) เข้ากล้ามเนื้อที่ต้นขาด้านใน เพื่อช่วยชีวิตอย่างรวดเร็ว

ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายยาอีพิเนฟริน (Epinephrine) ในรูปแบบปากกาฉีด เพื่อให้พกติดตัวไว้ หากมีอาการอีกจะได้ฉีดรักษาอาการได้ทันท่วงที เพราะอาหารบางอย่างอาจมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ทำให้คุณเผลอรับประทานโดยไม่รู้ตัวได้

อีกทั้งเมื่อเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงแล้ว ในครั้งต่อไปมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้อีก 

แต่หากเกิดภาวะแพ้แอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย เช่น ผื่นคันเล็กน้อย คัดจมูก สามารถให้ยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้

สำหรับคำแนะนำในการดื่มอย่างปลอดภัย

แนะนำให้เลือกสั่งมอกเทล (Mocktail) หรือเครื่องดื่มลักษณะคล้ายคอกเทล (Cocktail) แต่ใช้ผลไม้ผสมกับน้ำหวานจากข้าวหมัก ซึ่งไม่มีแอลกอฮอล์ แล้วเติมโซดาแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำแนะนำสำหรับผู้มีภาวะไม่ทนต่อแอลกอฮอล์

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า มีอีกภาวะที่อาการใกล้เคียงกับภาวะแพ้แอลกอฮอล์ คือ ภาวะไม่ทนต่อแอลกอฮอล์

ผู้มีภาวะไม่ทนต่อแอลกอฮอล์ยังสามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่ควรต้องทำความเข้าใจคำว่า 1 ดื่มมาตรฐาน เสียก่อน

1 ดื่มมาตรฐาน คือ หน่วยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 10 กรัม และสามารถขับออกจากร่างกายได้ภายใน 1 ชั่วโมง เช่น วิสกี้ หรือวอดคา (แอลกอฮอล์ 40-43%) 30 มิลลิลิตร หรือ เบียร์ (แอลกอฮอล์ 5%) 1 กระป๋อง

โดยผู้ที่มีภาวะไม่ทนต่อแอลกอฮอล์มีข้อแนะนำดังนี้

  • ผู้ชาย: ไม่ควรดื่มเกิน 2 ดื่มมาตรฐาน
  • ผู้หญิง: ไม่ควรดื่มเกิน 1 ดื่มมาตรฐาน (Standard drink) 

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อาจเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน ด้วยหลายๆ เหตุผล เช่น ช่วยเพิ่มอรรถรสในการสังสรรค์ ช่วยเจริญอาหาร อย่างไรก็ตาม ควรดื่มอย่างปลอดภัยและเหมาะสมต่อสภาพร่างกาย 

เนื่องจากหากมีอาการแพ้ หรือมีภาวะไม่ทนต่อแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากเกินไปอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายได้ และบางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heather Cruickshank, Alcohol Allergies (https://www.healthline.com/health/allergies/alcohol), 4 March 2020.
มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์, ดื่มมาตรฐานคืออะไร (https://www.morporor.org/storage/images/knowledge/pdf/1554898536.pdf), 5 กุมภาพันธ์ 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)