เอชไอวีและโรคเอดส์ HIV and AIDS

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เอชไอวีและโรคเอดส์ HIV and AIDS

โรคเอดส์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ข้อมูลต่อไปนี้คือความจริงเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ รวมถึงอาการที่ส่งผลต่อร่างกายและวิธีการดูแลรักษาตัวเอง ซึ่งจะทำให้คุณรู้จักเชื้อไวรัสตัวนี้มากขึ้น

เอชไอวีและโรคเอดส์คืออะไร

ไวรัสเอชไอวี (HIV) เป็นหนึ่งในไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยมีขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ ซึ่งเอชไอวีทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือที่รู้จักกันดีคือ “โรคเอดส์” นั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อติดเชื้อแล้ว เอชไอวีจะทำลายเซลล์ป้องกันชนิดหนึ่งในร่างกายที่เรียกว่า CD4 helper lymphocyte ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำหน้าที่ป้องกันและต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ และเมื่อเอชไอวีทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้แล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะอ่อนแอลงส่งผลให้ผู้ติดเชื้อสามารถติดเชื้อร้ายแรงอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก

เนื่องจากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับเชื้อไวรัสเอชไอวีมีอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน ทำให้วิวัฒนาการทางการแพทย์เพื่อการรักษาโรคนี้พัฒนาไปมาก จนมียาต้านเชื้อที่สามารถกดเชื้อไม่ให้เจริญเติบโตไว้ได้และพบว่าตัวยาสามารถชะลอโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อผู้ติดเชื้อได้รับการรักษา พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติและนานขึ้นเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคเอดส์ โรคเบาหวาน หรือโรคหอบหืด ต่างก็ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้

การระบาดของเชื้อ

ในแต่ละปี มีวัยรุ่นและหนุ่มสาวหลายพันคนติดเชื้อเอชไอวี โดยเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถแพร่จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ผ่านของเหลวในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเลือด อสุจิ มูกในช่องคลอด หรือนมแม่ ซึ่งเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายด้วยวิธีต่างๆ เช่น

  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก (ซึ่งจำเป็นต้องมีการป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง)
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ทั้งเพื่อการเสพยา การฉีดสเตียรอยด์ หรือการสักตามผิวหนัง เป็นต้น

โอกาสเสี่ยงอื่นๆ

  • ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่แล้ว เช่น ซิฟิลิส เริมที่อวัยวะเพศ หนองในเทียม หนองในแท้ หรือช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้เป็นโรคเหล่านี้
  • หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถแพร่เชื้อไปยังลูกในครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ระหว่างคลอด หรือจากการให้นมแม่

หากแพทย์พบว่าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวี แพทย์จะทำการรักษาและป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่สู่ทารกในครรภ์ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าหญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อรับการรักษาและป้องกันเชื้อสู่ลูกตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นเอง

ลักษณะของเชื้อที่ส่งผลต่อร่างกาย

ร่างกายของเราที่แข็งแรงปกติดีนั้น จะมีเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ที่คอยช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ตามปกติและต่อสู้กับการติดเชื้อต่างๆ โดยเซลล์ CD4 จะทำหน้าที่เหมือนผู้ส่งสารและคอยบอกให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหากมีเชื้อโรคบุรุกเข้าสู่ร่างกาย

หากมีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสจะเข้ายึดติดกับเซลล์ CD4 ทำให้เซลล์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและไวรัสเอชไอวีจะใช้เซลล์ชนิดนี้ในการเพิ่มปริมาณเชื้อให้มากขึ้นเป็นทวีคูณ และเมื่อเซลล์ CD4 อ่อนแอลงก็จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายอยู่เป็นจำนวนมากได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีจำนวนเซลล์ CD4 ในร่างกายลดน้อยลงมากและการแพร่กระจายเชื้อไม่หยุด แพทย์จะเรียกระยะนี้ว่า ระยะของโรคเอดส์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์จะไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้ออื่นๆ ตามมาด้วย เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือไวรัสสมองอักเสบ เป็นต้น ทำให้อาการป่วยของพวกเขาทรุดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการใช้ยาต้านไวรัสอย่างไม่ถูกต้อง

โรคเอดส์จะส่งผลต่อทุกระบบภายในร่างกาย และด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่บกพร่องทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ตามมา เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื้องอกในหลอดเลือด หรือมะเร็งบริเวณผิวหนัง เป็นต้น

เนื่องจากโรคเอดส์นั้นเป็นโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิต ดังนั้นการตรวจพบเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ หรือเร็วที่สุด จะช่วยให้การรักษาชะลอการแพร่เชื้อไวรัสก่อนเข้าสู่ระยะโรคเอดส์ได้

เราจะทราบได้อย่างไรว่ากำลังติดเชื้อ

ระยะเวลาแสดงอาการของเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์นั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยผู้ติดเชื้อบางรายอาจดูเป็นปกติและมีสุขภาพดีเป็นเวลาหลายปี ทว่าพวกเขาเหล่านี้สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้แม้จะไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็นเลยก็ตาม ดังนั้นคุณจึงไม่สามารถบอกได้เลยว่าใครที่กำลังติดเชื้อเอชไอวีอยู่

เมื่อการติดเชื้อเข้าสู่ระยะการเป็นโรคเอดส์แล้ว คนเหล่านี้จะมีอาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เหนื่อยล้ามาก และเป็นลมบ่อยๆ
  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ป่วย เป็นไข้ ไม่สบายบ่อย และเป็นนานในแต่ละครั้งโดยไม่มีสาเหตุ
  • เหงื่อออกมากในขณะนอนหลับ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • เกิดผื่นบริเวณผิวหนัง มีแผลพุพองในปาก รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก
  • มีจุดสีขาวในปากหรือในลำคอ
  • ท้องเสียรุนแรง
  • ไอเรื้อรัง
  • ขี้หลงขี้ลืม
  • ในเด็กผู้หญิง จะมีการติดเชื้อราในช่องคลอดอย่างรุนแรงและจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาปกติ

การป้องกันการติดเชื้อ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การติดเชื้อเอชไอวีนั้นเป็นอันตรายมากคือ การที่ผู้ติดเชื้อไม่ทราบว่าตนติดเชื้อและปล่อยเชื้อไว้เป็นเวลานาน ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและเลี่ยงการใช้สารเสพติดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ได้

นอกจากนี้ คุณยังสามารถป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์ (abstinence)
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางปาก ช่องคลอดหรือทวารหนัก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

การวินิจฉัยและการตรวจหาเชื้อ

แพทย์แนะนำให้เด็กวัยรุ่นทุกคนตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงวัยรุ่น และเมื่อคุณมีเพศสัมพันธ์ เคยมีเพศสัมพันธ์ หรือเคยใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น แพทย์จะแนะนำให้คุณตรวจเลือดเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีหรือต้องการตรวจหาเชื้อ คุณสามารถปรึกษาผู้ปกครอง แพทย์ กุมารแพทย์ หรือสูตินรีแพทย์

คุณสามารถตรวจหาเชื้อเอชไอวีหรือเชื้อเอดส์ได้จากคลินิคหรือโรงพยาบาลทั่วไปในท้องที่ โดยคลินิคมีทั้งคลินิคนิรนามที่การตรวจนั้นจะไม่ทราบว่าใครคือผู้ตรวจและผลการตรวจจะถูกเก็บเป็นความลับ และคลินิคที่ทราบตัวผู้ตรวจแต่ผลตรวจจะถูกเก็บเป็นความลับ หากตรวจเสร็จแล้วคลินิคเหล่านี้จะนัดพบคุณอีกครั้งเพื่อรับผลเลือดไม่ว่าผลนั้นจะเป็นบวกหรือลบก็ตาม

การตรวจหาเชื้อนั้นทำได้ทั้งแบบการตรวจเลือดและการตรวจจากเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผู้ตรวจเองว่าจะเลือกแบบไหน โดยผลตรวจนั้นจะทราบได้ตั้งแต่ไม่กี่นาทีไปจนถึงหลายวันหลังการตรวจ ดังนั้นคุณจึง

ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับประเภทการตรวจที่คุณต้องการและวิธีการรับผลที่คุณอาจไม่ต้องการให้ใครรับรู้

หากคุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือหากคุณถูกข่มขืนหรือถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์กับใครก็ตาม คุณจะต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะแพทย์จะรีบให้ยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีทันทีซึ่งต้องอยู่ภายในเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง และทำการตรวจหาเชื้อต่อไป

หากคุณไม่แน่ใจว่าจะพบแพทย์หรือตรวจหาเชื้ออย่างไรดี แนะนำให้คุณติดต่อไปยังศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อในท้องที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศูนย์จะสามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับคุณได้

เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และแม้ว่ายาต้านไวรัสและยาเพิ่มภูมิคุ้มกันจะสามารถยื้อชีวิตของผู้ติดเชื้อให้ยาวนานขึ้นหรือมีสุขภาพปกติดี แต่การทานยาไม่ได้เป็นการรักษา ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่วัคซีนใดๆ สามารถป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวีและเชื้อเอดส์ได้ แม้จะมีนักวิจัยพยายามค้นคว้าและพัฒนาให้มีวัคซีนป้องกันก็ตาม

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/std-hiv.html

 


29 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HIV/AIDS and other sexually transmitted infections. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/ith/diseases/hivaids/en/)
STD Facts - HIV/AIDS & STD. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/std/hiv/stdfact-std-hiv.htm)
Sexually transmitted diseases (STDs) - Symptoms and causes - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sexually-transmitted-diseases-stds/symptoms-causes/syc-20351240)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป