อายุที่มากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยามากขึ้น

ผลข้างเคียงจากยาเพิ่มมากขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อายุที่มากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยามากขึ้น

เมื่อเรามีอายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงในร่างกายของเราสามารถมีผลต่อยาที่ถูกดูดซึมและนำไปใช้ในร่างกาย เราอาจไวต่อยามากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะได้รับผลข้างเคียงจากยา (side effect) ปฏิกิริยาระหว่างยา (drug reaction) และผลไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction) 

ผลจากยาประเภทต่าง ๆ ปฏิกิริยาระหว่างยา และตารางการกินยา

ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะมีโรคเรื้อรังหนึ่งโรคหรือมากกว่า เช่น คอเลสเตอรอลสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานประเภทที่สอง ข้ออักเสบ และซึมเศร้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะโรคเรื้อรังเหล่านี้อาจรักษาด้วยยาหลายชนิด ทำให้เกิดประเด็นเรื่องความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผลข้างเคียงจากยา ซึ่งประเด็นเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับ

ประเภทของยา: ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับผู้ที่มีอายุมากขึ้นที่จะมีภาวะโรคเรื้อรังหลายโรค ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุหลายคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่สองจะมีโรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และซึมเศร้าร่วมด้วย ยาตามปกติของประชากรกลุ่มนี้อาจมีทั้งยากินสำหรับโรคเบาหวาน (glucophage) ยาความดัน (diovan HCT) ยาลดคอเลสเตอรอล (Zocor) และยาต้านซึมเศร้า (Zoloft) ยาเหล่านี้รวมกันทั้งหมดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์จากยาได้

ปฏิกิริยาระหว่างยา: ผู้ที่มีอายุมากขึ้นหลายคนอาจกินยามากกว่าห้าชนิด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้น ยิ่งกินยามากขึ้น โอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หรือปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหารและแอลกอฮอล์ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

ตารางการกินยาที่ซับซ้อน: การกินยาหลายชนิดในเวลาต่าง ๆ กันของวันอาจเป็นเรื่องซับซ้อนและเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาด ตัวอย่างเช่น คุณอาจลืมกินยาตามเวลาที่ถูกต้องหรืออาจกินยาซ้ำ 

ผลจากกระบวนการชราภาพ

เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพ ยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (ปกติแล้วจะผ่านทางลำไส้) กระจายไปในร่างกายตามตำแหน่งที่ต้องการ (มักผ่านทางกระแสเลือด) มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือถูกเปลี่ยนรูป (metabolize) ไป (มักเกิดขึ้นในตับหรือไต) และถูกขับออกจากร่างกายหลังจากนั้น (ส่วนใหญ่แล้วคือทางปัสสาวะ)

กระบวนการชราภาพสามารถเปลี่ยนแปลงการดูดซึม การเปลี่ยนรูปของยาในร่างกาย การกระจายของยาในร่างกายและการขับยาออกจากร่างกาย ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เด่นชัดมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เปอร์เซ็นต์ของไขมันในร่างกายที่สูงขึ้น

เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายของเราจะมีไขมันมากขึ้นเมื่อเทียบกับกระดูกและกล้ามเนื้อ แม้ว่าน้ำหนักของเราจะเท่าเดิม แต่เปอร์เซ็นต์ของไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น ยาที่ละลายในไขมันอาจถูกกักไว้ในเซลล์ไขมันในร่างกายและอยู่ในระบบเป็นเวลานานกว่า

น้ำในร่างกายที่ลดลง

เมื่อเรามีอายุมากขึ้น เซลล์ในร่างกายจะสูญเสียน้ำไปบางส่วน และสามารถละลายยาที่ละลายในน้ำได้น้อยลง ผลคือยาบางชนิดอาจมีความเข้มข้นมากเกินไปในร่างกาย และอาจทำให้ผลของยาเพิ่มขึ้น

การทำงานของระบบย่อยอาหารที่ลดลง

เมื่อเรามีอายุมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอาหารที่สามารถมีผลกระทบต่อการเข้าสู่กระแสเลือดของยาในร่างกายได้ การเคลื่อนไหวในกระเพาะอาหารจะช้าลง และทำให้ยาเข้าสู่ลำไส้เพื่อถูกดูดซึมได้ช้าลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ กระเพาะอาหารยังสร้างกรดน้อยลง และทำให้ยาบางตัวถูกย่อยได้ช้าลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้ยาทำงานได้น้อยลงหรือช้าลงด้วย

การทำงานของตับที่ลดลง

ตับเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกายที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปหรือย่อยสลายยา เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ตับจะเล็กลง มีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง และเอนไซม์ในตับที่ย่อยสลายยาก็ลดลง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสะสมของยาในตับ และทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการตามมา และอาจทำให้ตับเสียหายได้อีกด้วย

การทำงานของไตที่ลดลง

การเปลี่ยนแปลงของการทำงานของไตเกิดขึ้นเมื่ออายุของเรามากขึ้นเช่นเดียวกับตับ ไตอาจเล็กลง มีเลือดมาเลี้ยงลดลง และอาจมีประสิทธิภาพในการกำจัดยาที่เหลือได้น้อยลง การทำงานของไตจะเริ่มเสื่อมลง 1 % ในทุก ๆ ปีนับตั้งแต่เรามีอายุประมาณ 40 ปี ผลคือยาจะอยู่ในร่างกายนานขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง 

ความจำที่ลดลง

อาการหลง ๆ ลืม ๆ พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากขึ้น และเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ ก็เพิ่มขึ้น ปัญหาด้านความจำสามารถทำให้เราลืมกินยาได้ ซึ่งทำให้ควบคุมโรคเรื้อรังได้ไม่ดี ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมยังอาจไม่เข้าใจหรือไม่สามารถทำตามคำแนะนำของผู้ให้บริการทางสุขภาพได้ โดยเฉพาะในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับการกินยาที่ซับซ้อน 

การมองเห็นและการได้ยินที่ลดลง

ปัญหาทางสายตา เช่น จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ต้อหิน และต้อกระจก เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากขึ้นและผู้ที่มีภาวะทางตา ทำให้อ่านฉลากยาบนขวดได้ยาก ทั้งยาที่ได้รับมาหรือยาที่ร้านขายยา ปัญหาทางการได้ยินอาจทำให้ฟังคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรได้ลำบากเช่นกัน 

ความคล่องตัวลดลง

ผู้ที่มีอายุมากขึ้นหลายคนมีปัญหาข้ออักเสบ ความบกพร่องทางกาย และโรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน ภาวะโรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความลำบากในการเปิดขวด หยิบยาเม็ดเล็ก ๆ หรือการใช้ยา (ยาหยอดตา ยาพ่นสำหรับโรคหอบหืดและถุงลมโป่งพอง และยาฉีดอินซูลิน) 

ขอความช่วยเหลือ

หากคุณมีปัญหาในการกินยาเนื่องจากอายุของคุณ คุยกับแพทย์และเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำในการจัดการที่ดีกว่า และขอความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือศูนย์ผู้สูงอายุแถวบ้าน สุดท้ายนี้ ก่อนที่คุณจะเริ่มใช้ยาชนิดใหม่ ต้องแน่ใจก่อนว่าคุณเข้าใจเรื่องผลข้างเคียงจากยาและความเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาหรือกับอาหารด้วยเช่นกัน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
As You Age: You and Your Medicines. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/drug-information-consumers/you-age-you-and-your-medicines)
How Age Increases the Risk for Medication Side Effects. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/age-increases-risk-for-medication-side-effects-1123957)
Adverse Drug Events in Adults | Medication Safety Program. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/medicationsafety/adult_adversedrugevents.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)