ใช้ยาคุมได้จนถึงอายุเท่าไหร่?!?

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ใช้ยาคุมได้จนถึงอายุเท่าไหร่?!?
  • “อายุมากแล้ว ควรเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีใด?”
  • “ยาคุมตัวไหนที่เหมาะกับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี?
  • “อายุมากกว่า 40 ปีแล้ว ต้องเปลี่ยนยาคุมหรือไม่?”
  • “จะใช้ยาคุมได้จนถึงอายุเท่าไหร่?”

นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ ยังมีอีกหลากหลายคำถามที่ค้างคาใจสาวใหญ่และสาว (เหลือ) น้อย จริงหรือที่มีการจำกัดอายุของผู้ใช้ เพราะอะไร หรือขีดเส้นไว้ที่อายุเท่าไหร่ มาค่ะ... มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน

เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ฉบับปรับปรุงปี 2017 ที่เผยแพร่โดยกองควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) แนะนำการเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงอายุต่าง ๆ กันดังนี้ค่ะ

ยาคุมตัวไหน ใช้ได้ถึงอายุเท่าไหร่?

ห่วงอนามัย

ชนิดหุ้ม

ทองแดง

(Cu-IUD)

ห่วงอนามัย

ชนิดเคลือบ

ฮอร์โมน

(LNG-IUD)

ยาฝัง

คุมกำเนิด

(Implant)

ยาฉีด

คุมกำเนิด

ชนิด 3 เดือน

(DMPA)

ยาเม็ด

สูตรฮอร์โมน

โปรเจสติน

(POP)

ยาคุมฮอร์โมน

รวมทุกชนิด

(CHC)

เริ่มมีประจำเดือน จนถึง < 20 ปี

2

เริ่มมีประจำเดือน จนถึง < 20 ปี

2

เริ่มมีประจำเดือน จนถึง < 18 ปี

1

เริ่มมีประจำเดือน จนถึง < 18 ปี

2

เริ่มมีประจำเดือน จนถึง < 18 ปี

1

เริ่มมีประจำเดือน จนถึง < 40 ปี

1

ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

1

ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

1

18 – 45 ปี

1

18 – 45 ปี

1

18 – 45 ปี

1

ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

1

ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

2

ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

1

ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

2

หมายเหตุ : ความหมายของการแบ่งประเภทการใช้

ประเภท

นิยาม

ข้อสรุป

U.S. MEC 1

ไม่มีข้อจำกัด (สามารถใช้วิธีนี้ได้)

ใช้ได้ ไม่มีข้อจำกัด

U.S. MEC 2

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง แต่โดยทั่วไป ถือว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีเหนือกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ใช้ได้ แต่ควรมีการ

ตรวจติดตามผล

U.S. MEC 3

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง และไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้

ควรหลีกเลี่ยงการใช้

เว้นแต่ไม่มีทางเลือกอื่น

U.S. MEC 4

มีความเสี่ยงต่อสุขภาพซึ่งยอมรับไม่ได้ (ใช้วิธีนี้ไม่ได้)

ห้ามใช้โดยเด็ดขาด

 

จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่าในแต่ละช่องจะมี US MEC อยู่ในระดับ 1 หรือ 2 ซึ่งหมายถึงสามารถใช้วิธีนั้น ๆ ได้ค่ะ แม้ในบางกรณีควรต้องมีการติดตามผลก็ตาม แต่ก็ไม่มีระดับ 3 หรือ 4 ที่จะต้องหลีกเลี่ยงหรือห้ามใช้โดยเด็ดขาด

นั่นหมายถึง “อายุ” ไม่ใช่ข้อจำกัดในคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ นั่นเองค่ะ

ดังนั้น ผู้หญิงที่ยังมีไข่ตกและพร้อมจะตั้งครรภ์ได้ หากไม่ได้ทำหมันถาวร แต่ไม่พร้อมจะมีบุตร ก็สามารถใช้ยาคุมกำเนิดต่อไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสม ไม่ได้ใช้เฉพาะ “อายุ” มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ใช้ด้วย เช่น โรคประจำตัว หรือสภาวะทางสุขภาพบางอย่าง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจพบได้มากขึ้นตามอายุ จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกใช้วิธีคุมกำเนิด และในบางกรณี จะใช้อายุมาประกอบการตัดสินใจร่วมกับปัจจัยหลัก และอาจส่งผลให้ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ตามอายุ เช่น ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงหรือห้ามใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น

ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนจะใช้ยาคุมกำเนิด และโดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ควรมีการตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Which method of contraception suits me?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/which-method-suits-me/)
Factors influencing the contraceptive method choice: a university hospital experience. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3939130/)
Contraceptive methods and use by women aged 35 and over: A qualitative study of perspectives. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3050835/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)