หลังออกกำลังกายควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หลังออกกำลังกายควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่หรือไม่?

โฆษณาเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬานี้ดูยอดไปเลยใช่ไหมครับ ภาพเบ่งกล้ามเหงื่อเม็ดงามๆ หยด ทีมของนักกีฬาผู้พิชิตชัยชนะ นักกีฬายิ้มกว้างชูสองแขนแสดงความดีใจ ถ้าอยากทำให้ได้อย่างพวกมืออาชีพก็ควรจะดื่มแบบเดียวกับพวกเขาถูกต้องไหมครับ? คำตอบคือผิดครับเมื่อดูจากยอดขายเครื่องดื่มเกลือแร่ซึ่งอยู่ที่ 117 ล้านบาทคุณอาจจะไม่เชื่อผม แต่ถ้าคุณไม่ได้ออกแรงฝึกฝนตนเองหนักหน่วงและยาวนานเหมือนนักกีฬาอาชีพแล้วแล้วก็คุณไม่ต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่หรอกครับ น้ำเปล่าธรรมดาธรรมดานี่แหละดีที่สุด

เรื่องดื่มเกลือแร่ทำการตลาดด้วยการโฆษณาว่าถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและพลังงาน โดยมีส่วนประกอบของน้ำ คาร์โบไฮเดรต (ตัวเด่นมักจะเป็นน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดซึ่งมีน้ำตาลฟรุกโทสสูง) และเกลือแร่ (โดยเฉพาะเกลือ) มุ่งทดแทนสิ่งที่สูญเสียไปกับเหงื่อในระหว่างการออกกำลังกาย แต่สำหรับคนธรรมดาๆ ได้รับแป้งและเกลือมากมายอยู่แล้วจากอาหารที่กิน มีความจำเป็นน้อยมากที่จะต้องเสริมจากเครื่องดื่มอีก ส่วนพลังงานนั้นคุณก็ตุนเอาไว้เหลือเฟืออยู่แล้วในร่างกาย รอให้นำมาเผาผลาญเป็นพลังงานขณะออกกำลังกายเสียที ทั้งหมดร่างกายต้องการคือน้ำครับ อย่างอื่น ร่างกายมีครบอยู่แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เครื่องดื่มเกลือแร่มีข้อเสียหรือไม่? 

เครื่องดื่มเกลือแร่รสอร่อยกว่าน้ำเปล่าและเป็นสิ่งที่นักกีฬาที่ฝึกหนักดื่มกันไม่ใช่หรือ? ข้อเสียอยู่ตรงมากไปน่ะสิครับ เครื่องดื่มและทั่วๆไปปริมาตร 600 ซีซีประกอบด้วยน้ำตาลปริมาณแปดช้อนชา โซเดียม 275 มิลลิกรัมและให้พลังงาน 125 แคลอรีถ้าคุณออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักหรือความดันแคลอรีและโซเดียม ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับคุณ หากคุณดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่หนึ่งขวดคุณจะต้องวิ่งเพิ่มอีกหนึ่งไมล์เพื่อเผาผลาญแคลอรีที่ได้รับมาครับ

สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริกาแนะนำว่าไม่ควรให้เด็กดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ ยกเว้นเฉพาะกรณีที่มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง (ไม่ใช่เกมเบสบอลแน่) เป็นเวลานาน สหพันธ์สมาคมโรงเรียนมัธยมประจำเมือง ออกคำแนะนำว่า น้ำเปล่าเป็นสิ่งทดแทนการเสียน้ำของร่างกายที่ดีที่สุด เว้นแต่จะเป็นนักกีฬาที่ออกแรงอย่างต่อเนื่องนานเกิน 45 นาทีหรืออยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด คำแนะนำนี้ก็ใช้ได้สำหรับผู้ใหญ่เช่นกันครับ หากว่าคุณออกแรงเหมือนนักกีฬาอาชีพคุณก็สมควรทดแทนเหงื่อแบบเดียวกับพวกเขา แต่ถ้าไม่ใช่ก็ดื่มน้ำดีกว่าครับ

เราควรดื่มน้ำเพื่อชดเชยตั้งแต่ก่อนเริ่ม ระหว่างและภายหลังการออกกำลังกาย ร่างกายของคุณต้องการทดแทนน้ำที่เสียไปโดยเฉพาะถ้าอากาศร้อน ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างเห็นพ้องแล้วว่า วิธีที่สุดในการป้องกันภาวะขาดน้ำ ก็คือการดื่มน้ำโดยไม่ต้องรอให้รู้สึกกระหาย ต่อไปนี้ก่อนจะไปวิ่งออกกำลังกายหรือเดินทางไปยิม ดื่มน้ำเลยแล้วอย่าลืมพกน้ำไปด้วยนะครับ

ขออีกอย่าง อย่าเข้าใจสับสนระหว่างเครื่องดื่มเกลือแร่ กับเครื่องดื่มบำรุงกำลังนะครับ มันต่างกันคนละเรื่องเลยทีเดียวเครื่องดื่มบำรุงกำลังนั้นมีส่วนผสมของสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่ายัง อย่างเช่นกาเฟอีนหรือกัวรานา ไม่สมควรเอามาใช้เป็นเครื่องดื่มของนักกีฬาอย่างยิ่งครับ

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

ความหลงใหลในเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬาเป็นตัวอย่างอันแสนคลาสสิกของอิทธิพลโฆษณาที่ชักชวนให้เราอยากซื้ออะไรที่ไม่มีความจำเป็น น้ำเป็นเครื่องดื่มที่มอบความชุ่มชื่นได้อย่างยอดเยี่ยมมานานนับศตวรรษ ไม่มีหลักฐานใดๆที่สนับสนุนว่าในการออกร่างกายตามปกติจะต้องทดแทนของเหลวอื่นนอกไปจากน้ำ มาประหยัดสตางค์และสะสมแคลลอรีที่คุณออกแรงเผาผลาญใช้ออกไปได้สำเร็จกันดีกว่าครับ

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”

 


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Deep mineral water accelerates recovery after dehydrating aerobic exercise: a randomized, double-blind, placebo-controlled crossover study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4083353/)
Food and drinks for sport. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/food-and-drinks-for-sport/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป