กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) เพื่อวินิจฉัยและติดตามฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกาย พร้อมวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำมากยิ่งขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)

การตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ ทำเพื่อวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งมีด้วยกันหลายประเภท ผู้ที่มีอาการบ่งชี้ว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนชนิดนี้จะได้รับการตรวจเพื่อหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ชื่ออื่น: Corticotropin

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Adrenocorticotropic Hormone

จุดประสงค์ของการตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)

การตรวจเลือดหา Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) มักถูกทำควบคู่กับการตรวจคอร์ติซอลเพื่อช่วยตรวจหาความผิดปกติ วินิจฉัย และติดตามโรคที่เกี่ยวข้องกับการมีฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งประกอบไปด้วย

  • โรคคูชชิ่ง : มีคอร์ติซอลมากเกินไป เนื่องจากมีเนื้องอกที่ผลิต ACTH ในต่อมใต้สมอง
  • กลุ่มอาการคูชชิ่ง: อาการและสัญญาณที่สัมพันธ์กับการมีคอร์ติซอลมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอกต่อมใต้สมอง Adrenal Hyperplasia การใช้ยาสเตียรอยด์ หรือเกิดจากเนื้องอกที่ผลิต ACTH ที่อยู่ด้านนอกต่อมใต้สมอง
  • โรคแอดดิสัน: การผลิตคอร์ติซอลลดลง เนื่องจากต่อมหมวกไตได้รับความเสียหาย
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตทุติยภูมิ: การผลิตคอร์ติซอลลดลง เพราะต่อมใต้สมองผิดปกติ
  • Hypopituitarism: ต่อมใต้สมองผิดปกติ หรือเกิดความเสียหายที่นำไปสู่การลดลงของฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมใต้สมอง ซึ่งรวมถึงการผลิต ACTH

การวัดทั้ง ACTH และคอร์ติซอล ช่วยแยกความแตกต่างระหว่างโรคหรือปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ เพราะปกติแล้วระดับของ ACTH จะเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้ามกับระดับของคอร์ติซอล หากมีการตรวจพบระดับที่ผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อยืนยันสิ่งที่พบและช่วยหาสาเหตุของปัญหา

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)?

แพทย์อาจทำการตรวจ ACTH หลังจากที่พบว่าผลตรวจคอร์ติซอลผิดปกติ หรือพบอาการที่เกี่ยวข้องกับการมีคอร์ติซอลมากกว่าปกติ เช่น

  • โรคอ้วน ซึ่งน้ำหนักตัวส่วนใหญ่จะอยู่ที่ลำตัวของร่างกาย ไม่ได้อยู่บริเวณแขนและขา
  • ไขมันสะสมระหว่างหัวไหล่
  • ใบหน้ากลมและแดง
  • ผิวอ่อนแอและบาง
  • มีเส้นสีม่วงที่หน้าท้อง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแอ
  • มีสิวขึ้น
  • ผิวติดเชื้อ
  • ขนขึ้นตามร่างกายมากขึ้น
  • อ่อนเพลีย
  • ความดันโลหิตสูง โพแทสเซียมต่ำ ไบคาร์บอเนตสูง ระดับกลูโคสสูง

ส่วนผู้ที่มีคอร์ติซอลน้อยกว่าปกติอาจมีอาการ เช่น

สำหรับอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย (Hypopituitarism) โดยทั่วไปแล้วประกอบไปด้วย

  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย
  • รอบเดือนผิดปกติ
  • อวัยวะเพศทำงานผิดปกติ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกร้อนวูบวาบ
  • ไวต่อความเย็น

เมื่อโรคหรือภาวะต่างๆ เกิดจากเนื้องอกต่อมใต้สมอง ผู้ที่ได้รับผลกระทบอาจมีอาการที่สัมพันธ์กับการบีบอัดของเซลล์ข้างเคียงและเส้นประสาท เช่น เนื้องอกที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึ่งอาจส่งผลต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการมองเห็น

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)

แพทย์จะตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) จากเลือด โดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำในแขน ซึ่งแพทย์อาจให้คุณเข้านอนเร็วกว่าปกติ เพื่อรับการเจาะเลือดตรวจเวลา 08.00 - 09.00 น.

รายละเอียดการตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)

Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตคอร์ติซอล ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต ต่อมดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกลูโคส โปรตีน การเมทาบอลิซึมไขมัน ยับยั้งการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยรักษาความดันโลหิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยทั่วไปแล้วระดับของ ACTH จะเพิ่มขึ้นเมื่อคอร์ติซอลมีปริมาณต่ำ และจะน้อยลงเมื่อคอร์ติซอลมีปริมาณสูง โดยสมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) จะทำหน้าที่ผลิต Corticotropin-Releasing Hormone (CRH) เพื่อตอบสนองต่อการลดลงของระดับคอร์ติซอลในเลือด ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองผลิต ACTH เพราะฉะนั้น การที่จะมีปริมาณของคอร์ติซอลที่เหมาะสม ไฮไพทาลามัส ต่อมใต้สมอง และต่อมหมวกไตจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างสมบูรณ์

โรคหรือภาวะต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมอง หรือต่อมหมวกไตสามารถขัดขวางการควบคุม ACTH และการผลิตคอร์ติซอล ทำให้เกิดสัญญาณและอาการที่สัมพันธ์กับการมีคอร์ติซอลมากหรือน้อยเกินไป

ความหมายของผลตรวจ

มีหลายกรณี ที่การแปลผลเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากระดับของทั้ง ACTH และคอร์ติซอลมีการแปรผัน ซึ่งเกิดจากภาวะหรือโรคที่ส่งผลต่อการผลิต ACTH

ตารางด้านล่างนี้ บ่งชี้ได้ถึงรูปแบบทั่วไปของ ACTH และคอร์ติซอลที่พบในโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมอง

โรค คอร์ติซอล ACTH
โรคคูชชิ่ง เพิ่ม เพิ่ม
เนื้องอกต่อมหมวกไต เพิ่ม ลด
Ectopic ACTH (เนื้องอกด้านนอกต่อมใต้สมองผลิต ACTH โดยทั่วไปแล้วเป็นเนื้อเยื่อในปอด) เพิ่ม เพิ่ม
โรคแอดดิสัน ลด เพิ่ม
Hypopituitarism ลด ลดหรือปกติ

อย่างไรก็ตาม การแยกความแตกต่างของโรคคูชชิ่ง และ Ectopic ACTH จากการตรวจวัดคอร์ติซอลและ ACTH เพียงลำพัง เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องใช้การตรวจอื่นๆ เพื่อหาความแตกต่างต่อไป

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Adrenocorticotropic Hormone (ACTH)

  • การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาทาน ยาสูด ยาเฉพาะจุด หรือยาหยอดตา อาจทำให้ผลตรวจผิดปกติ
  • Megestrol Acetate หรือฮอร์โมนเพศหญิงในกลุ่มโปรเจสติน ก็สามารถทำให้ผลผิดปกติเช่นกัน
  • ยาไมเฟพริสโตน (Mifepristone) ที่ใช้ในการทำแท้ง มีแนวโน้มจะทำให้ระดับของ ACTH เปลี่ยนไป
  • ความเครียดอาจทำให้มีการหลั่ง ACTH มากขึ้น
  • มีการนำ ACTH มาใช้ในการรักษาโรค ในฐานะของยารักษาโรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบและโรคลมชักประเภทชักผวา (Infantile Spasms)

ที่มาของข้อมูล

Lab Test Online, Adrenocorticotropic Hormone (ACTH) (https://labtestsonline.org/tests/adrenocorticotropic-hormone-acth), 21 December 2018.

โรคคอร์ติซอลACTH
โรคคูชชิ่งเพิ่มเพิ่ม
เนื้องอกต่อมหมวกไตเพิ่มลด
Ectopic ACTH (เนื้องอกด้านนอกต่อมใต้สมองผลิต ACTH โดยทั่วไปแล้วเป็นเนื้อเยื่อในปอด)เพิ่มเพิ่ม
โรคแอดดิสันลดเพิ่ม
Hypopituitarismลดลดหรือปกติ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sandy Calhoun, Adrenocorticotropic Hormone (https://www.healthline.com/health/acth), September 22, 2017
medlineplus.gov, Adrenocorticotropic Hormone (https://medlineplus.gov/lab-tests/adrenocorticotropic-hormone-acth/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป