การตัดต่อมอะดีนอยด์คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การตัดต่อมอะดีนอยด์คืออะไร?

อะดีนอยด์เดคโตมี (Adenoidectomy) คือ การผ่าตัดเอาต่อมอะดีนอยด์ออก โดยต่อมอะดีนอยด์เป็นแผ่นเนื้อเยื่อหนาๆ ที่อยู่ด้านหลังโพรงจมูก ทำหน้าที่ป้องกันแบคทีเรียและไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูก หากมีต่อมอะดีนอยด์ใหญ่เกินไป อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจทางปากหรือจมูกลำบาก
  • นอนกรน
  • หายใจมีเสียงดัง
  • หยุดหายใจขณะหลับ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับไซนัส
  • มีการติดเชื้อที่หูเรื้อรัง หรือมีการติดเชื้อที่อื่น

ปกติแล้ว แพทย์จะผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ออกก็ต่อเมื่อการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้วเท่านั้น ซึ่งการผ่าตัดนี้มักทำในเด็กไปพร้อมๆ กับการทำทอนซิลเลคโตมี (Tonsilectomy) หรือ การผ่าตัดต่อมทอนซิลออก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ก่อนการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์

ผู้เข้ารับการผ่าตัดจำเป็นต้องบอกแพทย์ว่ารับประทานยาอะไรอยู่บ้าง เพราะแพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาบางชนิด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยาแอสไพริน (Aspirin) ซึ่งจะต้องหยุดยาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด 

ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์

การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ มักใช้เวลาไม่เกิน 45 นาทีและใช้การระงับความรู้สึกทั่วร่างกายขณะทำการผ่าตัด ซึ่งหมายความว่าผู้เข้ารับการตรวจจะไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกเจ็บปวดในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะใส่อุปกรณ์เล็กๆ เข้าไปในปากแล้วเปิดออกให้กว้างขึ้น จากนั้นจึงใช้เครื่องมือผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ออก 

แพทย์บางคนอาจใช้กระแสไฟฟ้าหรือพลังงานความถี่ (Radiofrequency) เพื่อให้ความร้อนและตัดเนื้อเยื่อออกได้ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ผ่านทางปาก จึงไม่มีแผลเป็นบริเวณผิวหนัง

หลังการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์

ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้เลยภายหลังจากผ่าตัดเสร็จ ในระหว่างนี้อาจต้องรับประทานอาหารเบาๆ หรืออาหารที่เย็นๆ เช่น โยเกิร์ต และต้องดื่มน้ำมากๆ 

ต่อมอะดีนอยด์บริเวณที่ถูกตัดไปจะสมานได้เองตามธรรมชาติและจะหายเป็นปกติใน 1-2 สัปดาห์ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจรู้สึกว่าเสียงเปลี่ยนไปบ้างหลังการผ่าตัด อาการนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่ถ้าหากพบความผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • มีเลือดออกรุนแรงหรือมีเลือดสดไหลออกจากจมูกหรือปาก 
  • ไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • มีอาการปวดบาดแผลไม่หายหรือปวดศีรษะจากบาดแผล
  • จมูกและตาบวมหรือแดงมากขึ้น

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, Adenoidectomy (https://www.healthline.com/health/adenoid-removal), August 16, 2017
emedicine.medscape.com, Adenoidectomy (https://emedicine.medscape.com/article/872216-overview), Nov 05, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)