กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Acyclovir (อะไซโคลเวียร์)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) เป็นยาต้านเชื้อไวรัสที่เกิดจากเชื้อไวรัสเริม (Herpes Simplex Virus) และเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus)
  • กลไกการออกฤทธิ์ยา Acyclovir คือ เข้าไปยับยั้งการแพร์พันธุ์ของเชื้อไวรัส โดยการรบกวนการสร้างและสังเคราะห์สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส
  • ยา Acyclovir มีหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาครีมทาภายนอก ยาขี้ผึ้งป้ายตา หรือยาฉีดเข้าเส้นเลือด
  • ยา Acyclovir สามารถทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาประจำตัว สมุนไพร หรือวิตามินที่กำลังรับประทานอยู่ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  • ยา Acyclovir สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง จึงควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกร หากเกิดอาการแพ้ยารุนแรง ให้หยุดใช้ยา และไปพบแพทย์ทันที (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนงูสวัดได้ที่นี่)

“อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)” เป็นยาต้านเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสเริม (Herpes Simplex Virus: HSV) และไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ ( Varicella Zoster Virus: VZV) ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1980

ยา Acyclovir จะออกฤทธิ์ยับยั้งการแพร่พันธุ์ของเชื้อไวรัส โดยรบกวนการสร้างและสังเคราะห์สารทางพันธุกรรม (DNA) ของเชื้อไวรัส ทำให้ไวรัสอ่อนกำลังลง และไม่สามารถก่อโรคได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Acyclovir ใช้รักษาโรคอะไรบ้าง?

  • ใช้เพื่อบรรเทาอาการ และลดระยะเวลาการเกิดเป็นแผล หรือตุ่มน้ำพอง ในผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส หรือผู้ป่วยโรคงูสวัด

  • ใช้รักษาเริมในที่ต่างๆ เช่น ผิวหนัง ตา จมูก ริมฝีปาก หรืออวัยวะเพศ ทั้งในผู้ป่วยที่เป็นครั้งแรก หรือผู้ที่กลับเป็นซ้ำ

  • ใช้รักษาภาวะอักเสบของโรคผิวหนังที่เป็นผื่นแดง (Eczema Herpeticum)

  • ใช้รักษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือโรคแฮรีลิวโคพลาเกีย (Hairy leukoplakia)

ในปัจจุบันมีงานวิจัยชี้ว่า ประสิทธิภาพการรักษาของ Acyclovir ลดลง เนื่องจากไวรัสก่อโรคพัฒนาสายพันธุ์ที่ดื้อยาขึ้น โดยภาวะดื้อยาสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันดี และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

กลไกการออกฤทธิ์ยา Acyclovir

Acyclovir มีกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะต่อเอ็นไซม์ของไวรัส (Viral thymidine kinase (TK) enzyme) ซึ่งจะเปลี่ยน Acyclovir ให้เป็นรูป Active เข้าไปยับยั้งขบวนการสร้างสารพันธุกรรม (DNA) ของไวรัสภายในเซลล์ ทำให้ไวรัสไม่สามารถแพร่พันธ์ได้

รูปแบบของยา Acyclovir

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน มี 3 ขนาด คือ 200 400 และ 800 มิลลิกรัม

  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน

  • ยาครีมสำหรับทาภายนอก ประกอบด้วยอะไซโคลเวียร์ ความเข้มข้น 5%

  • ยาน้ำ

  • ยาขี้ผึ้งป้ายตา ประกอบด้วยอะไซโคลเวียร์ ความเข้มข้น 3%

  • ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ประกอบด้วย อะไซโคลเวียร์ ความเข้มข้น 25 mg/ml

ยา Acyclovir ชนิดรับประทาน

  • รักษาโรคงูสวัด 800 มิลลิกรัม 5 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7-10 วัน

  • รักษาโรคเริมอวัยวะเพศ 200 - 400 มิลลิกรัม 5 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7-10 วัน

  • ป้องกันการกำเริบของโรคเริมที่อวัยวะเพศ 400 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน

  • โรคอีสุกอีใสในผู้ใหญ่ 800 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง หรือ 4 ครั้ง/วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน

  • โรคอีสุกอีใสในเด็ก 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 6 ชม. เป็นเวลา 5 วัน โดยขนาดสูงสุดไม่เกิน 800 มิลลิกรัม/ครั้ง

ยา Acyclovir ชนิดครีมสำหรับทาภายนอก

มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสเริม 

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ คือ ขนาดความเข้มข้น 5% ทาบริเวณที่ติดเชื้อวันละ 5-6 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 5-10 วัน

ยา Acyclovir ชนิดขี้ผึ้งป้ายตา

มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสเริม

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาดความเข้มข้น 3% ป้ายเปลือกตาล่างด้านในวันละ 5 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมง ใช้ยาต่อเนื่องกัน 3 วัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หลังจากอาการหายดีแล้วไม่ควรใช้ต่อ เนื่องจากยาขี้ผึ้งสำหรับป้ายตาอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการมองเห็น และไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรหลังการใช้ยา 

ข้อควรระวังของ Acyclovir

  • Acyclovir ไม่ได้รักษาโรคติดเชื้อไวรัส แต่ทำให้ภาวะติดเชื้อหายเร็วขึ้น และรุนแรงน้อยลงในบางคน

  • หากใช้ Acyclovir เพื่อรักษาเริมที่อวัยวะเพศ ยานี้สามารถลดความรุนแรง หรือป้องกันการเกิดซ้ำของโรคได้

  • หากใช้ Acyclovir เพื่อรักษาโรคอีสุกอีใส หรืองูสวัด ยานี้สามารถลดความรุนแรงของภาวะติดเชื้อได้

  • การรักษาด้วย Acyclovir จะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อเริ่มใช้ทันทีที่มีผื่นปรากฏ หรือภายใน 3 วัน แต่หากเป็นผื่นงูสวัดต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง

    ทั้งนี้ในเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงแล้วเป็นผื่นอีสุกอีใสอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้ แต่ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอีสุกอีใส ควรใช้ยารักษาควบคู่กับการดื่มน้ำตามมากๆ

  • เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรใช้ยานี้

  • หากคุณมีโรคไต หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรใช้ยา Acyclovir ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง

  • กรณีติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เพราะเชื้อสามารถแพร่กระจายผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้ และการใช้ยา Acyclovir เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

การใช้ Acyclovir ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

ยังไม่มีการศึกษาการใช้ยา Acyclovir ในผู้หญิงตั้งครรภ์ จึงไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะบอกว่าปลอดภัย จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา 

นอกจากนี้ ยา Acyclovir สามารถส่งผ่านทางน้ำนมได้ ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกัน

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปของยา Acyclovir

ผลข้างเคียงร้ายแรงที่ควรพบแพทย์ทันที

  • ผื่นรุนแรง ลมพิษ หรือมีผื่นที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำ และแผลถลอก
  • ผิวหนัง หรือดวงตามีสีเหลือง
  • มีเลือดออกผิดปกติ หรือมีอาการฟกช้ำ
  • ภาวะชัก
  • หมดสติ
  • อาการบวมของใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น
  • หายใจลำบาก
  • ปัสสาวะน้อยลง หรือมีเลือดในปัสสาวะ
  • ง่วงนอนอย่างรุนแรง หรือมีภาวะสับสน
  • เห็นภาพหลอน
  • เหน็บชาและเดินเซ

ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อาจได้รับผลข้างเคียงจาก Acyclovir มากกว่าคนอื่น เพราะมักมีปัญหาเรื่องไตไม่สามารถกำจัดยาได้เท่ากับคนอายุน้อย จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

ปฏิกิริยาต่อยาอื่นของ Acyclovir

หากคุณรับประทานยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ ควรแจ้งแพทย์ก่อนใช้ยา เพราะยาเหล่านั้นอาจทำปฏิกิริยากับ Acyclovir ได้ 

ตัวอย่างยาที่มีผลต่อยา Acyclovir เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา เช่น amphotericin B (Fungizone), amikacin (Amikin) และ gentamicin

  • Garamycin (Kantrex) และ Tobramycin (Tobi, Nebcin)

  • ยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์ หรือเรียกว่า ยา OTC (Over The Counter drugs) เช่น AdvilMotrin หรือ Aleve

  • ยาที่ใช้รักษา HIV เช่น Zidovudine (Retrovir, AZT)

  • ยาที่ใช้ขยายหลอดลม เช่น Aminophylline, Theophylline

หากลืมรับประทานยา Acyclovir ต้องทำอย่างไร?

โดยทั่วไปถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า 

อย่างไรก็ตาม การลืมรับประทานยาอาจทำให้การรักษาภาวะติดเชื้อไม่สมบูรณ์ หรือทำให้เกิดอาการเชื้อดื้อยาได้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเกินขนาด

  • มีอาการตัวสั่น
  • ง่วงนอนมาก
  • หมดสติ
  • มีอาการชัก
  • ไตวาย (เพราะไตไม่สามารถกรองน้ำในร่างกายให้เป็นปัสสาวะได้)

หากผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาด แล้วมีอาการดังกล่าว ควรรับปรึกษาแพทย์ทันที

การเก็บรักษายา

  • ควรเก็บยาในภาชนะบรรจุเดิม ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก 
  • ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส ไม่ควรอยู่ในที่อุณหภูมิมากกว่า 30 องศาเซลเซียส 
  • ห้ามถูกแสงแดดโดยตรง 
  • ไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียก หรือชื้น
  • ควรทิ้งยาทันทีเมื่อหมดอายุ

ยา Acyclovir สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง จึงควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกร หากเกิดอาการแพ้ยารุนแรง ควรหยุดใช้ยา และไปพบแพทย์ทันที

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนงูสวัด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acyclovir (Zovirax) - Side Effects, Dosage, Interactions. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/drugs/acyclovir)
Acyclovir: An overview. UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/acyclovir-an-overview)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)