โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 11 นาที
โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis) เป็นภาวะร้ายแรงที่ซึ่งตับอ่อนเกิดการอักเสบขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ โดยตับอ่อนก็คืออวัยวะขนาดเล็กที่อยู่ข้างหลังกระเพาะอาหารและอยู่ใต้กระดูกซี่โครง

ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันส่วนมากจะดีขึ้นเองภายในหนึ่งสัปดาห์ และไม่ประสบกับอาการใด ๆ อีก แต่หากเป็นกรณีที่เป็นรุนแรงจะทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันแตกต่างจากภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ( chronic pancreatitis) ที่ซึ่งเป็นภาวะอักเสบที่ตับอ่อนที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งเป็นเวลาหลายปี

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมีอาการดังต่อไปนี้: ปวดกลางหน้าท้องกะทันหันและรุนแรงมาก รู้สึกคลื่นไส้ ท้องร่วง

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ควรติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณประสบกับอาการปวดท้องรุนแรงอย่างกะทันหัน

เหตุใดจึงเกิดโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันขึ้น?

คาดกันว่าโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันเกิดจากเอนไซม์ (สารเคมี) บางตัวภายในตับอ่อนเข้าไปย่อยทำลายอวัยวะ

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันส่วนมากจะมีความเชื่อมโยงกับ: นิ่วในถุงน้ำดี (gallstones): ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมากกว่าครึ่งของกรณีที่พบทั้งหมด การบริโภคแอลกอฮอล์: เกิดขึ้นประมาณหนึ่งในสี่ของทั้งหมด

เมื่อทำการจำกัดปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์และปรับอาหารการกินของคุณ ความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันก็จะลดลงตามไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ใครสามารถเป็นโรคนี้ได้บ้าง?

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมักจะเกิดกับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในช่วงวัยกลางคน แต่ในความเป็นจริงโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกช่วงอายุ

ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบจากพิษแอลกอฮอล์มากที่สุด ส่วนผู้หญิงมักจะเกิดมาจากนิ่วมากที่สุด

สามารถรักษาโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้อย่างไร?

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบจะเน้นไปที่การประคับประคองการทำงานของร่างกายไปจนกว่าภาวะอักเสบจะหายไปเอง ซึ่งต้องให้ผู้ป่วยพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพื่อรับของเหลวกับยาแก้ปวดเข้าเส้นเลือด และยังมีการป้อนอาหารกับให้ออกซิเจนผ่านทางหลอดที่สอดเข้าช่องจมูกตลอดเวลา

ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันส่วนมากจะมีอาการดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ และจะแข็งแรงพอจะออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 5-10 วัน

อย่างไรก็ตามการจะฟื้นจากโรคที่เป็นรุนแรงโดยสมบูรณ์อาจใช้เวลามากกว่านั้นเพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นที่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมตามกรณี

อาการของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

อาการทั่วไปของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันคืออาการปวดรอบท้องเหนือกระเพาะอาหารแบบทื่อ ๆ แต่รุนแรง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการปวดนี้มักจะทรุดลงเรื่อย ๆ และอาจลามไปยังแผ่นหลังหรือขึ้นไปยังสะบักไหล่ทางซ้ายได้ด้วย อีกทั้งการดื่มหรือรับประทานอาหารก็อาจทำให้อาการแย่ลงเร็วขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง

การเอนตัวไปข้างหน้าหรือคดตัวสามารถช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ แต่การนอนหงายจะทำให้ความเจ็บปวดมีมากขึ้น

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากนิ่วถุงน้ำดีมักจะเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ หากเป็นภาวะที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ความเจ็บปวดที่ประสบมักจะเกิดหลังการดื่มเหล้าปริมาณมาก ๆ 6-12 ชั่วโมง

อาการอื่น ๆ ของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

อาการอื่น ๆ ของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมีทั้ง: คลื่นไส้ หรืออาเจียน ท้องร่วง อาหารไม่ย่อย มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ดีซ่าน หน้าท้องบวมหรือกดเจ็บ

สาเหตุของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันส่วนมากจะมีความเชื่อมโยงกับนิ่วในถุงน้ำดีหรือการบริโภคแอลกอฮอล์อย่างมาก กระนั้นสาเหตุของโรคที่แท้จริงก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด

นิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) คือเศษของเสียแข็ง ๆ คล้ายก้อนหินที่ก่อตัวขึ้นภายในถุงน้ำดี นิ่วเหล่านี้จะก่อให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันขึ้นหากว่าเคลื่อนออกจากถุงไปปิดกั้นช่องทางของตับอ่อน

การอุดตันที่เกิดขึ้นยังขวางการผลิตเอนไซม์โดยตับอ่อน เอนไซม์เหล่านี้เป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยอาหารในลำไส้ ซึ่งตัวเอนไซม์ที่ติดค้างนั้นจะเข้าไปย่อยตัวตับอ่อนแทน

อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ผู้ที่มีภาวะนิ่วในถุงน้ำดีจะกลายเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทุกคน เพราะว่านิ่วส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ

การบริโภคแอลกอฮอล์

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าแอลกอฮอล์ส่งผลให้ตับอ่อนอักเสบอย่างไร แต่ก็มีทฤษฎีที่กล่าวว่าแอลกอฮอล์สามารถเข้าไปรบกวนการทำงานตามปรกติของตับอ่อนจนทำให้เอนไซม์เริ่มย่อยตัวตับอ่อนเสียเอง

ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใด ก็มีความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างแอลกอฮอล์กับโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันอยู่ดี อีกทั้งมีงานวิจัยมากมายที่พบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือมากกว่า 35 หน่วยต่อสัปดาห์จะมีความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมากกว่าคนทั่วไปที่ไม่ดื่มถึง 4 เท่า

การดื่มหนักแบบรวดเดียว (Binge drinking) หรือการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ๆ ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็คาดกันว่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันขึ้น

สาเหตุอื่น ๆ

สาเหตุของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันที่พบได้ไม่บ่อยมีดังนี้:

อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ตับอ่อน: ยกตัวอย่างเช่นจากการผ่าตัดกำจัดนิ่วในถุงน้ำดี หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจตับอ่อน

การใช้ยาบางประเภท เช่นยาปฏิชีวนะบางประเภท หรือยาสำหรับเคมีบำบัด: โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันเป็นภาวะแทรกซ้อนของการรักษาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจำนวนน้อย

ภาวะติดเชื้อไวรัส: เช่นโรคคางทูม (mumps) หรือหัด (measles)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซิสติก ไฟโบรซิส

ภาวะหายากบางชนิด: เช่น hyperparathyroidism Reye's syndrome และ Kawasaki disease

โรคตับอ่อนอักเสบรุนแรง

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุใดบางคนจึงประสบกับภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรง แต่ก็มีปัจจัยมากมายที่คาดว่าเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงนี้ เช่น: อายุที่มากกว่า 70 ปีขึ้นไป อ้วน (ผู้ที่มีภาวะอ้วนจะมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 ขึ้นไป) ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวัน สูบบุหรี่

นักวิจัยค้นพบว่าผู้ที่มีพันธุกรรมกลายพันธุ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า MCP-1 mutation จะมีความเสี่ยงต่อภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปถึง 8 เท่า โดยการกลายพันธุ์ก็คือความผิดปรกติที่เกิดขึ้นกับสาย DNA ที่อยู่ภายในเซลล์มีชีวิตทั้งหมดจนทำให้เกิดภาวะผิดปรกติทางพันธุกรรมหรือเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของพันธุกรรมนั้น ๆ ไป

การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันส่วนมากต้องถูกวินิจฉัยจากแพทย์ที่โรงพยาบาลเพราะความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แพทย์ผู้ดูแลคุณจะสอบถามประวัติอาการและดำเนินการตรวจร่างกายของคุณ หากคุณเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันจริง คุณจะมีอาการกดเจ็บในท้อง ณ ตำแหน่งหนึ่ง

จะมีการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ซึ่งจะเป็นการตรวจหาสัญญาณของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อย่างสารเคมีที่เรียกว่าไลเปสและอะไมเลสที่มีระดับสูงขึ้นมากในผู้ที่มีปัญหาตับอ่อนอักเสบ

ในช่วงแรกอาจทำการสังเกตความรุนแรงของภาวะได้ยาก ซึ่งแพทย์จะคอยสอดส่องอาการของคุณอย่างใกล้ชิดเพื่อระวังสัญญาณร้ายแรงต่าง ๆ เช่นภาวะอวัยวะล้มเหลว เป็นต้น

ผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันไม่รุนแร ง ภาวะนี้มักจะดีขึ้นเองภายในหนึ่งสัปดาห์ และจะไม่ประสบกับอาการเพิ่มเติมใด ๆ หรือปัญหาที่คงอยู่จะหายไปเองภายใน 48 ชั่วโมง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรงจะประสบกับปัญหาเรื้อรังที่มีความร้ายแรงกว่า

การทดสอบเพิ่มเติม

มีการทดสอบมากมายที่สามารถจำแนกความรุนแรงของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และประเมินความเสี่ยงที่คุณจะประสบกับภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ โดยมีการทดสอบดังต่อไปนี้:

การสแกนคอมพิวเตอร์ (computerised tomography - CT): เป็นการถ่ายชุดภาพเอกซเรย์เพื่อรวมเป็นภาพสามมิติภายในร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลได้ละเอียดมาก

การถ่ายภาพสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging - MRI): เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กกับคลื่นวิทยุความถี่สูงร่างภาพภายในร่างกายออกมา

การสแกนอัลตราซาวด์ (ultrasound scan): เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงร่างภาพภายในร่างกายออกมา

การส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (endoscopic retrograde cholangiopancreatography - ERCP)

ERCP จะเป็นการใช้สายส่องกระเพาะอาหารที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลายเข้าไปทางปากลงไปยังกระเพาะ จะมีการฉีดสารสีชนิดพิเศษผ่านสายนี้เพื่อให้ภาพเอกซเรย์ท่อทางเดินน้ำดีและท่อตับอ่อนออกมาชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ทันทีหลังการฉีดสี

การทดสอบนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันจากถุงน้ำดี เพราะว่าจะสามารถชี้ตำแหน่งของนิ่วในถุงน้ำดีได้ และบางกรณีแพทย์ก็สามารถดำเนินการผ่าตัดนิ่วด้วยกล้องนี้ได้ด้วยเช่นกัน

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์คอยเฝ้าระวังปัญหาเพิ่มเติมที่คุณอาจจะประสบ และคอยให้การพยาบาลช่วยเหลือตามความจำเป็น เช่นการให้ของเหลวและออกซิเจน

ผู้ป่วยส่วนมากจะหายดีและสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 5-10 วัน

สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แพทย์จะดำเนินการรักษาจัดการกับภาวะแทรกซ้อนนั้น ๆ เพิ่มเติมและคอยดูแลผู้ป่วยอย่างเข้มข้นในห้อง ICU ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องใช้เวลารักษาตัวนานกว่ากลุ่มแรก

การให้ของเหลว

ร่างกายของคุณจะขาดน้ำอย่างมากในขณะที่ป่วยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทำให้แพทย์ต้องป้อนของเหลวผ่านทางท่อที่ต่อเข้าไปยังเส้นเลือดของคุณ (intravenous หรือ IV)

สำหรับกรณีผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรง น้ำ IV ยังช่วยป้องกันปัญหาร้ายแรงที่เรียกว่าภาวะช็อคจากระบบประสาท (hypovolemic shock) ได้อีกด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อระดับของเหลวตกลงต่ำกว่าปริมาณเลือดในร่างกาย

การให้อาหารและการดูแลด้านโภชนาการ

แม้ว่าผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันชนิดไม่รุนแรงไม่ต้องทำการควบคุมอาหาร แต่แพทย์ก็มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยทุกคนระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารอยู่ดีเนื่องจากว่าการย่อยอาหารที่แข็งเกินจะสร้างภาระแก่ตับอ่อนของคุณมากเกินไป

คุณไม่สามารถทานอาหารแข็งเป็นช่วงเวลาหนึ่งตามความรุนแรงของโรคของคุณ และหากคุณต้องทำการเลี่ยงอาหารแข็ง แพทย์จะจัดการป้อนสารอาหารแก่ร่างกายของคุณด้วยการเชื่อมสายสอดเข้ากระเพาะอาหารผ่านทางรูจมูกแทน (nasogastric tube)

การให้ออกซิเจน

เพื่อให้อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนเพียงพอ แพทย์จะจ่ายออกซิเจนแก่คุณด้วยการใช้ท่อสวนจมูกที่สามารถนำออกได้หลังจากนั้นไม่กี่วัน หรือเมื่ออาการของคุณดีขึ้น

สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงอาจต้องมีการใช้เครื่องช่วยหายใจแทน

การให้ยาแก้ปวด

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมักจะก่อให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง ทำให้แพทย์อาจจัดจ่ายยาแก้ปวดชนิดแรงกับคนไข้ เช่นยามอร์ฟีน เป็นต้น

ยาแก้ปวดบางประเภทอาจทำให้คุณง่วงนอน ดังนั้นหากคุณต้องไปเยี่ยมผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันตามโรงพยาบาล พยายามอย่ากระตุ้นหรือปลุกพวกเขาหากพวกเขามีอาการง่วงนอนหรือไม่ตอบสนองต่อการเรียกหา

การรักษาสาเหตุของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

เมื่อแพทย์สามารถควบคุมโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้แล้ว พวกเขาจะจัดการรักษาแก้ไขสาเหตุหรือต้นตอของโรคต่อไป ซึ่งการรักษาที่จะกล่าวต่อไปนี้จะอิงจากสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันหรือก็คือนิ่วในถุงน้ำดี และการบริโภคแอลกอฮอล์

นิ่วในถุงน้ำดี

หากนิ่วในถุงน้ำดีเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณป่วยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน คุณต้องเข้ารับการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (endoscopic retrograde cholangiopancreatography - ERCP) หรือการผ่าตัดถุงน้ำดี

หัตถกรรมถุงน้ำดีจะเป็นการกำจัดถุงน้ำดีออก ซึ่งต้องดำเนินการในขณะที่คุณรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหรือแพทย์จะวางแผนการผ่าตัดล่วงหน้าก่อนหลายสัปดาห์ก็ได้ การกำจัดถุงน้ำดีไม่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อร่างกายหรือสุขภาพนอกจากจะทำให้ร่างกายทำการย่อยอาหารบางประเภทได้ลำบากมากขึ้นเท่านั้น เช่นไขมันหรืออาหารรสเผ็ด เป็นต้น

กระบวนการ ERCP จะเป็นการรักษานิ่วในถุงน้ำดีอีกตัวเลือดที่ใช้ท่อยาวที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลายสอดเข้าร่างกาย โดยมีการเอกซเรย์นำทางเข้าไปในระบบย่อยอาหาร และแพทย์จะใช้เครื่องมือผ่าตัดที่สามารถสอดเข้าร่างกายพร้อมท่อเพื่อดำเนินการผ่าตัดได้

การบริโภคแอลกอฮอล์

หลังจากที่ร่างกายของคุณฟื้นจากโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน คุณควรเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าแอลกอฮอล์จะไม่ใช่ต้นตอของโรคของคุณก็ตาม หากคุณไม่สามารถหักดิบจากแอลกอฮอล์ได้ คุณควรขอรับความช่วยเหลือและรักษาเพิ่มเติมจากแพทย์

ตัวเลือกการรักษาเพื่อเลี่ยงแอลกอฮอล์มีดังต่อไปนี้: การเข้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญตัวต่อตัว การเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือ การใช้ยา acamprosate ที่ช่วยลดความอยากดื่มลงได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันประมาณ 4 จาก 5 กรณีจะฟื้นตัวได้เร็ว และไม่ประสบกับภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม แต่สำหรับกรณีส่วนน้อยที่เหลืออาจประสบกับภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ เช่นภาวะอวัยวะร่างกายล้มเหลว เป็นต้น

สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงที่ประสบกับภาวะแทรกซ้อน จะมีความเสี่ยงมากที่ภาวะที่เกิดขึ้นจะเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิต

หากผู้ป่วยรอดจากโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรงก็มักจะต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนกว่าจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้

ภาวะถุงน้ำตับอ่อน

ภาวะถุงน้ำตับอ่อน (Pseudocysts) เป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของตับอ่อน และเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันที่พบได้ทั่วไป โดยคาดกันว่ามีผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน 1 จาก 20 คนที่ประสบกับภาวะนี้

ถุงน้ำตับอ่อนมักจะเกิดขึ้นหลังจากมีอาการจากโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันประมาณสี่อาทิตย์ หลาย ๆ กรณีภาวะนี้ก็ไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ และสามารถตรวจพบได้ด้วยการสแกนคอมพิวเตอร์เท่านั้น

อย่างไรก็ตามผู้ที่ประสบกับภาวะถุงน้ำตับอ่อนบางรายก็อาจมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และปวดท้องทื่อ ๆ บ้าง

หากถุงน้ำที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็ก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร แพทย์จะไม่ลงมือรักษาภาวะนี้เพราะถุงน้ำจะหายไปเองในที่สุด

การรักษามักจะแนะนำกับผู้ที่มีอาการหรือมีถุงน้ำขนาดใหญ่ เพราะถุงน้ำที่มีขนาดโตจะเสี่ยงต่อการฉีดขาดซึ่งจะทำให้เลือดออกภายในและอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมาได้

ภาวะถุงน้ำตับอ่อนสามารถรักษาได้ด้วยการดูดของเหลวออกด้วยการแทงเข็มผ่านผิวหนังลงไป ซึ่งสามารถดำเนินการด้วยการใช้วิธีการสอดกล้องผ่านลำคอและใช้เครื่องมือขนาดเล็กดูดของเหลวจากถุงน้ำออก

เนื้อเยื่อตับอ่อนตาย

ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรง 1 ใน 3 จะประสบกับภาวะเนื้อเยื่อตับอ่อนตาย (Infected pancreatic necrosis) ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมาก

กรณีภาวะเนื้อเยื่อตับอ่อนตายนี้เกิดจากระดับการอักเสบที่สูงเกินจนทำให้การลำเลียงโลหิตไปเลี้ยงตับอ่อนถูกขัดขวาง เมื่อมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยเกินไป เนื้อเยื่อบางส่วนของตับอ่อนจะตายลง เนื้อเยื่อที่ตายจะอ่อนไหวต่อการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างมาก และเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นพิษและอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลวได้ หากปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้โดยไม่ทำการรักษาจะทำให้ภาวะเหล่านี้กลายเป็นภัยถึงชีวิตในที่สุด

ภาวะเนื้อเยื่อตับอ่อนตายมักจะเกิดขึ้นหลังเริ่มมีอาการของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน 2 ถึง 6 สัปดาห์ อาการของภาวะนี้มีทั้งปวดท้องมากขึ้นและมีไข้สูง การติดเชื้อสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ และแพทย์ต้องทำการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกมาเพื่อไม่ให้ภาวะติดเชื้อลุกลามมากขึ้น

ในบางกรณีแพทย์สามารถทำการดูดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกมาด้วยท่อสายสวนบาง ๆ ที่สามารถแทงผ่านผิวหนังได้

หรืออีกวิธีคือหัตถการรูกุญแจ (laparoscopic surgery หรือ keyhole surgery) ที่เป็นการกรีดผิวหนังแผ่นหลังขนาดเล็กเข้าไป และใช้สายสวนสอดเข้าไปชะล้างเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว แต่หากคุณไม่สามารถรับการผ่าตัดนี้ได้ แพทย์จะทำการกรีดเข้าหน้าท้องเพื่อนำเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกมาแทน

ภาวะเนื้อเยื่อตับอ่อนตายเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงมากแม้คุณจะเข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานความปลอดภัยของกระบวนการสูงสุดก็ตาม มีรายงานว่าความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากภาวะอวัยวะล้มเหลวนั้นมีมากถึง 1 ใน 5 ทีเดียว

กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome)

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยอีกอย่างคือกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome - SIRS) โดยคาดกันว่า SIRS จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรง 1 ใน 10 กรณี

ในกรณีของ SIRS การอักเสบที่เกิดกับตับอ่อนจะลามไปทั่วร่างกายจนทำให้อวัยวะต่าง ๆ เริ่มล้มเหลว และมักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกหลังเริ่มมีอาการของโรค โดยกรณีส่วนมากประสบกับภาวะแทรกซ้อนนี้ภายในวันเดียวกันนั้นเอง

อาการของ SIRS มีดังนี้: อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือตกลงมากกว่า 36 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที หายใจเร็วขึ้นมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที

ยังไม่มีวิธีรักษา SIRS ดังนั้นการรักษาที่ดำเนินการจึงมีเพื่อประคับประคองการทำงานของร่างกายจนกว่าการอักเสบจะหายไป ผลลัพธ์จากการดูแลจะขึ้นอยู่กับจำนวนของอวัยวะที่ทำงานล้มเหลว หากมีภาวะล้มเหลวเกิดขึ้นมาก ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจะมีมากขึ้น

ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

หากคุณประสบกับภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันหลายครั้ง ความเสียหายที่ตับอ่อนจะทำไปสู่ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรังในที่สุด (Chronic pancreatitis)

ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรังคือภาวะระยะยาวที่ส่งผลร้ายแรงต่อคุณภาพชีวิตของคุณ

การป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมักจะเกิดมาจากนิ่วหรือการบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป ดังนั้นการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะนี้ได้

การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี

วิธีป้องกันการก่อตัวของนิ่วในถุงน้ำดีที่ดีที่สุดคือการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุลที่มีทั้งผักผลไม้สด (มากกว่า 5 ส่วนในแต่ละวัน)

อาหารของคุณควรมีธัญพืชรวมต่าง ๆ เช่นขนมปังธัญพืช ข้าวโอ๊ต และข้าวสีน้ำตาลที่ต่างมีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้

อีกทั้งยังมีรายงานว่าการทานพืชจำพวกถั่วอย่างถั่วลิสงหรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อนิ่วในถุงน้ำดีได้เช่นกันด้วย

เนื่องด้วยบทบาทที่คอเลสเตอรอลมีต่อการก่อตัวของนิ่ว ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้คุณเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและมีปริมาณคอเลสเตอรอลมาก ๆ ซึ่งอาจมีดังต่อไปนี้: พายเนื้อ ไส้กรอกที่มีมัน เนย ขนมบิสกิตและเค้ก

การที่คุณมีน้ำหนักร่างกายมากเกินไปก็ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีเช่นกัน ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีด้วยการทานอาหารสมดุลและออกกำลังกายมาก ๆ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้

การควบคุมแอลกอฮอล์

การจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มเข้าไปสามารถป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายหรือตับอ่อนของคุณได้ เช่นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน หรือแม้แต่มะเร็งตับ เป็นต้น

ผู้ชายและผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากเกินกว่า 14 หน่วยต่อสัปดาห์ หากคุณดื่มมากกว่านั้น ควรกระจายการดื่มให้มากกว่า 3 วันขึ้นไป


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acute pancreatitis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/acute-pancreatitis/)
Acute pancreatitis: Symptoms, treatment, causes, and complications. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/160427)
Pancreatitis: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatments, Tests. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-pancreatitis#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในถุงน้ำดี
โรคตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในถุงน้ำดี

รู้ครบทุกเรื่อง เกี่ยวกับตับอ่อนและโรคตับอ่อนอักเสบทั้งแบบียบพลันและเรื้อรัง การวินิจฉัย การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ วีธีเตรียมตัวก่อนพบแพทย์ ภาวะแทรกซ้อน วิธีการดูแลตัวเอง

อ่านเพิ่ม