กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฝังเข็มกระตุ้นความสูงในเด็กได้ผลหรือไม่ มีวิธีทำอย่างไร ทำที่ไหน ราคาเท่าไหร่

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ฝังเข็มกระตุ้นความสูงในเด็กได้ผลหรือไม่ มีวิธีทำอย่างไร ทำที่ไหน ราคาเท่าไหร่

หลายคนคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว เกี่ยวกับการฝังเข็ม เพื่อกระตุ้นให้เด็กสูงขึ้น ซึ่งหลายคนก็คงจะเกิดความสงสัยว่า การฝังเข็มเพื่อกระตุ้นความสูงในเด็กนั้น ทำแล้วได้ผลจริงหรือ มีวิธีการทำอย่างไร และจะเกิดผลข้างเคียงใดๆ หรือไม่ ดังนั้นเราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการเพิ่มความสูงให้กับเด็กด้วยการฝังเข็มกัน

เพิ่มความสูงในเด็กด้วยการฝังเข็ม ได้ผลจริงหรือ?

การฝังเข็ม เป็นวิธีรักษาตามศาสตร์ของแพทย์แผนจีน ซึ่งส่วนใหญ่ก็สามารถรักษาโรคได้สารพัด และยังสามารถช่วยกระตุ้นความสูงในเด็กด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อฝังเข็มจะทำให้ร่างกายของเด็กเกิดความผ่อนคลาย และมีการหลั่งฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตออกมามากขึ้น จึงไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและกระดูกมีการเจริญเติบโตที่ดี โดยกระดูกจะมีการยืดขยายไปอีก ทำให้เด็กมีความสูงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ได้ออกมายืนยันว่า หากพ้นจากวัยเด็กหรือวัยที่กระดูกปิดเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะฝังเข็มหรือทำอย่างไรก็ไม่สามารถเพิ่มส่วนสูงให้สูงขึ้นได้อย่างแน่นอน และที่สำคัญการที่เด็กจะสูงขึ้นได้มากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ การดื่มนม และการออกกำลังกาย เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กระบวนการฝังเข็มเพื่อเพิ่มความสูง ทำได้อย่างไร?

สำหรับวิธีฝังเข็มเพื่อเพิ่มความสูงในเด็กนั้น อันดับแรกจะต้องไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ก่อน เพื่อให้แพทย์ตรวจสุขภาพและสอบถามประวัติในการนำมาวิเคราะห์ ว่าเด็กสามารถฝังเข็มได้หรือไม่ จากนั้นก็จะให้เด็กวัดส่วนสูง เพื่อดูส่วนสูงก่อนเริ่มทำการฝังเข็ม และใช้ในการเปรียบเทียบส่วนสูงหลังการรักษาเรียบร้อยแล้วนั่นเอง โดยเมื่อได้ส่วนสูงปัจจุบันแล้ว แพทย์จะนัดทำการฝังเข็ม หลังฝังเข็มเสร็จก็จะเข้าสู่การอบตัวเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ตามด้วยการเข้าเครื่องกายภาพ ยืดตัว เพื่อกระตุ้นร่างกายให้มีการยืดตัวเพิ่มความสูงมากขึ้น เพียงเท่านี้ก็เสร็จครบทุกกระบวนการแล้ว

ฝังเข็มเพิ่มความสูง ทำที่ไหนได้บ้าง?

หากผู้ปกครองต้องการพาเด็กไปเข้ารับการฝังเข็มเพื่อเพิ่มความสูง ก็สามารถพาเด็กไปเข้ารับการรักษาได้ที่คลินิกแพทย์แผนจีนซึ่งเปิดให้บริการด้วยการฝังเข็มโดยตรง หรือคลินิกศัลยกรรมที่มีแพทย์ฝังเข็มเฉพาะทาง โดยเราก็มีสถานที่ฝังเข็มเพิ่มความสูงที่น่าสนใจมาแนะนำกันดังนี้

1. aaclinic

คลินิกที่ให้การรักษาโดยผสมผสานความเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนตะวันออกเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะแพทย์แผนจีน ซึ่งก็ขึ้นชื่อในเรื่องของการฝังเข็มเป็นอย่างมาก รวมถึงมีการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และสมุนไพรในการรักษาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก อย. เรียบร้อยแล้วอีกด้วย ที่นี่จึงเป็นคลินิกที่น่าสนใจและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ต้องการพาลูกหลานมาฝังเข็มเพิ่มความสูง

ที่ตั้ง : 17/3-4 ถ.สนามบินเก่า ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

เบอร์โทร : 053-808-767

เว็บไซต์ : www.aaclinic.com

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. Jianew clinic

คลินิกที่ให้ทั้งบริการลดความอ้วน ปรับรูปหน้า และการฝังเข็มเพิ่มความสูงในเด็ก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งคลินิกที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่พูดถึงอย่างมาก เพราะสามารถเพิ่มความสูงได้จริง แถมบริการก็เป็นกันเอง ราคาไม่แพงอีกด้วย คนส่วนใหญ่จึงนิยมพาลูกหลานมาฝังเข็มที่นี่เป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ก็สามารถมาใช้บริการปรึกษาได้ฟรีก่อนตัดสินใจเพิ่มความสูงเช่นกัน เอาเป็นว่ามาลองใช้บริการกันดู รับรองว่าไม่ผิดหวัง

ที่ตั้ง : กมท (29.69 km) กรุงเทพมหานคร 10400

เบอร์โทร : 084-334-8282

เว็บไซต์ : www.jianewclinic.com

3. Paichao clinic

คลินิกเพิ่มความสูงด้วยการฝังเข็มในเขตกรุงเทพมหานคร ที่พร้อมจะเพิ่มความสูงให้กับลูกหลานของคุณอย่างมั่นใจ และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งที่นี่ก็มีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ จึงการันตีถึงผลลัพธ์ที่จะได้จากการฝังเข็มเพิ่มความสูงได้เลย และไม่ต้องกังวลกับผลข้างเคียงใดๆ อีกด้วย เพราะฉะนั้นลองพาลูกมาเพิ่มความสูงที่นี่กันดูสิ

ที่ตั้ง : เลขที่ 1112/1 ระหว่างซอยสุขุมวิท 46-48 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เบอร์โทร : 088-566-6623

เว็บไซต์ : www.paichaoclinic.com

ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็มเพื่อเพิ่มความสูง

คลินิกที่เปิดให้บริการรับฝังเข็มเพื่อเพิ่มความสูงในเด็กแต่ละแห่งก็จะมีราคาค่ารักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 28,000 บาท หรือบางแห่งก็อาจจะคิดเป็นคอร์สหรือเป็นต่อจำนวนครั้ง เช่น 10 ครั้ง/6,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากผู้ปกครองท่านใดมีความสนใจ ก็สามารถติดต่อสอบถามเรื่องราคาก่อนตัดสินใจทำได้

การฝังเข็มเพิ่มความสูงในเด็กด้วยการฝังเข็มสามารถทำได้จริงและได้ผลจริง แต่จะทำได้เฉพาะในคนที่กระดูกยังไม่ปิดหรือยังไม่หยุดสูงเท่านั้น และผลลัพธ์ที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ในแต่ละคนด้วย โดยเฉพาะด้านพันธุกรรม การทานอาหารที่มีประโยชน์/มีแคลเซียมเพียงพอหรือไม่ การนอนพักผ่อนและการออกกำลังกาย ดังนั้นอย่าคาดหวังในความสูงที่จะเพิ่มขึ้นจากการฝังเข็มมากเกินไป เพราะในบางคนอาจเพิ่มได้เพียงแค่ไม่กี่เซนติเมตรเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ฝังเข็มออฟฟิศซินโดรม กระตุ้นไฟฟ้า ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิว ฝังเข็ม Office Syndrome กระตุ้นไฟฟ้า และโคมไฟอินฟาเรด ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิวฝังเข็ม บรรเทาภูมิแพ้ ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall
รีวิวทุกขั้นตอน ฝังเข็ม ครอบแก้ว ติดหมุดใบหู ที่ Mandarin Clinic | HDmall
รีวิวฝังเข็ม รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall

รีวิวการรักษาอาการไหล่ติด ด้วยวิธีผสมผสาน 3 ศาสตร์ กายภาพบำบัด นวดคลายกล้ามเนื้อ และฝังเข็ม ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acupuncture. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/acupuncture/)
Acupuncture: How it works, uses, benefits, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/156488)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)