กรดไหลย้อนและกลิ่นปาก มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กรดไหลย้อนและกลิ่นปาก มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

กลิ่นปากกับกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal reflux disease (GERD) เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมายังหลอดอาหาร ส่งผลให้เรามีกลิ่นปากไม่พึงประสงค์  ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคกรดไหลย้อน คือ กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างทำงานผิดปกติหรือเกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด ซึ่งกล้ามเนื้อดังกล่าวอยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร หากทำงานได้ตามปกติ กล้ามเนื้อหูรูดจะเปิดเมื่อมีการกลืนอาหาร จากนั้นก็จะปิดสนิท แต่หากกล้ามเนื้อหูรูดทำงานผิดปกติ ก็จะเปิดค้าง จึงทำให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นมาที่คอได้

อย่างไรก็ตาม กลิ่นปากเป็นเพียงอาการหนึ่งของโรคกรดไหลย้อน ยังมีอาการอื่นๆ อีกที่จะช่วยบ่งบอกได้ว่าคุณเป็นกรดไหลย้อน เช่น อาการแสบร้อนกลางอก รู้สึกขมหรือเปรี้ยวในปาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น ซึ่งกลิ่นปากที่เกิดขึ้นนั้น สามารถควบคุมได้โดยการรักษาโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลให้มีอาการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรักษาอาการปากเหม็นที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ และยังช่วยให้ลมหายใจสดชื่นอีกด้วย อันดับแรกคือ งดการสูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่ทำให้เกิดกลิ่นปาก คราบที่ฟัน นอกจากนั้นสารนิโคตินยังทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารคลายตัว ส่งผลให้กรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหารได้ 

ที่สำคัญ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก มะเร็งลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้  สำหรับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ช่วยรับมือกับอาการของโรคกรดไหลย้อนได้ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ 
  • นอนยกหัวสูง โดยการใช้วัสดุแข็งวางใต้หมอนเพื่อหนุ่นให้หัวนอนสูงขึ้น
  • รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้งแทนการรับประทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดแรงกดบริเวณกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร เพราะยิ่งน้ำหนักมาก ความดันในช่องท้องก็ยิ่งมากขึ้น 
  • เคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อให้ลมหายใจสดชื่นและลดการไหลย้อนของกรด แต่หากเคี้ยวหมากฝรั่งแล้วรู้สึกมีลมในท้องมากขึ้น ก็ควรหยุดทำจะดีกว่า

เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน

  • อาหารที่ควรจำกัดปริมาณ หรือหลีกเลี่ยง เช่น แอลกอฮอล์ กาแฟหรือชาที่มีคาเฟอีน หัวหอม กระเทียม ผลไม้ตระกูลส้มและน้ำผลไม้ มะเขือเทศ และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ เปปเปอร์มิ้นต์ อาหารที่มีรสเผ็ด ช็อกโกแลต อาหารทอดหรืออาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น
  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง สามารถช่วยรับมือกับปัญหาปากเหม็นได้ เพราะไฟเบอร์ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างราบรื่น รู้สึกอิ่มท้องนานขึ้น ซึ่งช่วยให้คุณรักษาน้ำหนักตัวได้  
  • ดื่มน้ำเปล่าตลอดวันเพื่อให้ลมหายใจสดชื่น น้ำเปล่ามีแนวโน้มที่จะทำให้กระเพาะอาหารแปรปรวนหรือทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารอ่อนแอน้อยกว่าเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยกำจัดแบคทีเรียที่สามารถนำไปสู่การมีกลิ่นปาก

ยารักษาโรคกรดไหลย้อน

กลุ่มยารักษาโรคกรดไหลย้อน เช่น  ยากลุ่ม H2 blockers, ยากลุ่ม Proton Pump Inhibitors, ยาลดกรด เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต หรืออะลูมินัมและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ เป็นต้น ซึ่งยารักษาโรคกรดไหลย้อนชนิดอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมา สามารถทำให้ปากแห้งได้ เพราะผลข้างเคียงของยา ทำให้ลดการสร้างน้ำลายในช่องปาก อาจทำให้คุณรู้สึกไม่ดีและมีกลิ่นปาก ทางที่ดี คือ คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาปัญหาปากแห้งและผลข้างเคียงของยาที่รับประทาน เพื่อให้ได้รับยารักษาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด

สรุป ปัญหากลิ่นปากไม่พึงประสงค์ เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อน แต่เราสามารถรับมือกับมันโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมกับรับประทานยารักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ลดการเกิดโรคกรดไหลย้อนซ้ำซ้อน และช่วยให้ปัญหากลิ่นปากไม่พึงประสงค์หมดไปด้วย


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mark Scott, M.D., and Aimee R. Gelhot, Pharm.D., Gastroesophageal Reflux Disease: Diagnosis and Management (https://www.aafp.org/afp/1999/...), 14 February 2019.
Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) (https://www.webmd.com/heartbur...), 14 February 2019.
Gastroesophageal reflux disease (GERD) (https://www.mayoclinic.org/dis...), 14 February 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน
ยาที่อาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน

พวกเราส่วนใหญ่จะคิดถึงอาหารบางชนิดว่าเป็นสาเหตุของอาการกรดไหลย้อน

อ่านเพิ่ม
7 อาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยรับมือกับโรคกรดไหลย้อน
7 อาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยรับมือกับโรคกรดไหลย้อน

แนะนำ 7 อาหารที่ช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

อ่านเพิ่ม