Acetaminophen

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจหา Acetaminophen จากเลือด เพื่อวินิจฉัยว่ามีการรับประทานยาเกินขนาดหรือไม่ และทำให้ตับเสียหายมากน้อยเพียงใด พร้อมวิธีการตรวจ
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ม.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Acetaminophen

การตรวจ Acetaminophen โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ ทำเพื่อวินิจฉัยว่ามีการรับประทานยาเกินขนาดหรือไม่ และมีความเสียหายที่ตับมากน้อยเพียงใด ผลการตรวจที่ออกมามีความหมายว่าอะไร

ชื่ออื่น: Paracetamol

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Acetaminophen

จุดประสงค์ของการตรวจ Acetaminophen

การตรวจ Acetaminophen ในเลือด ถูกนำมาใช้เพื่อวินิจฉัยว่ามีการรับประทานยาเกินขนาดหรือไม่ และเพื่อประเมินความเสียหายของตับ ก่อนจะวางแผนในการรักษาต่อไป

แพทย์อาจทำการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น

  • การตรวจหาเอนไซม์ที่เกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อในอวัยวะภายใน (Aspartate Transaminase (AST))
  • การตรวจหาเอนไซม์ที่เกิดจากความเสียหายของตับ (Alanine Transaminase (ALT))

หากเกิดภาวะตับวาย หรือได้รับยามากจนอยู่ในระดับร้ายแรง แพทย์อาจตรวจ Blood gas, Lactate level และ Metabolic panel เพื่อตัดสินใจว่าควรมีการปลูกถ่ายตับหรือไม่ ถ้าทำแล้วผู้ป่วยจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีบุตร ซึ่งแพทย์สงสัยว่ารับประทาน Acetaminophen เกินขนาด อาจต้องได้รับการตรวจฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (hCG) เพื่อดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ เพราะยาสามารถผ่านเข้าไปในรก และสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อตัวอ่อนได้

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Acetaminophen?

แพทย์จะทำการตรวจ Acetaminophen เมื่อผู้เข้ารับการตรวจมีสัญญาณและอาการของการรับประทานยาเกินขนาด ซึ่งจะปรากฏทันทีหลังจากรับประทานเข้าไป 2-3 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 12 ชั่วโมงโดยอาการที่พบประกอบไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการหลังจากรับประทานยาเกินขนาดไป 24-72 ชั่วโมง

  • ปวดบริเวณร่างกายซีกขวาส่วนล่าง
  • ปัสสาวะมีสีคล้ำ
  • ผิวหนังและตาขาวกลายเป็นสีเหลือง

อาการหลังจากรับประทานยาเกินขนาดไป 72-96 ชั่วโมง

ทั้งนี้ แพทย์อาจสั่งให้ตรวจหาระดับของยาดังกล่าวในชั่วโมงที่ 4 หลังจากรับประทานยาหรือคาดว่ามีการรับประทานยา และทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อติดตามว่าระดับของยาเพิ่มขึ้นหรือลดลง หากได้รับการรักษาภายใน 8 ชั่วโมง โอกาสฟื้นตัวจะสูงขึ้น

สำหรับเด็กที่รับประทานยาชนิดนี้ในรูปแบบน้ำ ต้องได้รับการรักษาตัวภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา เพราะยาจะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าเมื่ออยู่ในรูปแบบน้ำ

หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้สารพิษสามารถลุกลามภายใน 3-4 วัน จนทำให้เกิดโรคดีซ่าน ตับและไตวาย ชักกระตุก โคม่า และเสียชีวิตได้

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Acetaminophen

แพทย์จะตรวจ Acetaminophen จากเลือด โดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รายละเอียดการตรวจ Acetaminophen

อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เป็นหนึ่งในยาแก้ปวดและยาลดไข้ที่พบได้ทั่วไปในร้านขายยา ตามปกติแล้วยาชนิดนี้สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่ก็มักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพิษต่อตับ (Toxic Hepatitis) ในอเมริกาเหนือและยุโรป จากการใช้ยาเกินขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเจตนา

หากรับประทานยาชนิดนี้ในขนาดที่ใช้สำหรับการรักษา ตับจะสามารถกำจัดยาได้โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตราย แต่ถ้าหากได้รับยาชนิดนี้มากเกินจนตับไม่สามารถกำจัดได้ทัน จะทำให้สารพิษก่อตัวขึ้นในตับซึ่งทำให้เซลล์ตับเสียหาย หากไม่ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้

คนทั่วไปไม่ค่อยทราบว่ายาชนิดนี้เป็นหนึ่งในส่วนผสมของยาหลายชนิด เช่น ยารักษาโรคหวัด ยารักษาโรคไข้หวัดใหญ่ หากมีการรับประทานยาเหล่านี้ 2 เม็ด หรือมากกว่านี้พร้อมกัน อาจทำให้ระดับของอะเซตามีโนเฟนในร่างกายสูงเกิน โดยปริมาณของ Acetaminophen ที่ร่างกายควรได้รับ มีดังนี้

  • ผู้ใหญ่ไม่ควรรับประทานเกิน 4,000 มิลลิกรัม ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าหากรับประทานมากกว่า 7,000 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดภาวะกินยาเกินขนาดอย่างรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ เว้นแต่ว่าจะได้รับการรักษาทันที
  • ปริมาณของอะเซตามีโนเฟนที่ถือว่าเกินขนาดสำหรับเด็ก ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนัก เพราะฉะนั้นควรอ่านฉลากให้ดีทุกครั้งก่อนใช้ยา

กรณีสงสัยว่ามีผู้รับประทานยาชนิดนี้เกินขนาด ควรรีบพาไปโรงพยาบาลทันที หากแพทย์วินิจฉัยว่าได้รัยยาเกินขนาดจริง แพทย์ก็จะให้ทานยาแก้พิษ และยา N-acetylcysteine (NAC) ซึ่งสามารถช่วยลดความเสียหายที่มีต่อตับได้ ถ้าผู้ป่วยได้รับประทานยาภายใน 8-12 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาเกินขนาด

ขนาดยาพาราเซตามอลปกติและขนาดยาที่ไม่ควรได้รับเกินในแต่ละช่วงอายุ สรุปคร่าวๆ ดังนี้

อายุของผู้ป่วย

ขนาดยาที่ควรได้รับ

ไม่ควรเกิน

1 – 3 เดือน

30 mg/kg ทุก 8 ชั่วโมง

60 mg/kg/day

3 เดือน – 1 ปี

60 – 120 mg ทุก 4 – 6 ชั่วโมง

ไม่เกิน 4 ครั้งต่อวัน

1 – 5 ปี

120 – 250 mg ทุก 4 – 6 ชั่วโมง

ไม่เกิน 4 ครั้งต่อวัน

6 – 12 ปี

250 – 500 mg ทุก 4 – 6 ชั่วโมง

ไม่เกิน 4 ครั้งต่อวัน

ผู้ใหญ่

500 – 1,000 mg ทุก 4 – 6 ชั่วโมง

ไม่เกิน 4,000 mg ต่อวัน

ความหมายของผลตรวจ

ระดับของอะเซตามีโนเฟน

การแปลผล

10-20 mcg/mL

อยู่ในระดับที่ต้องรักษา

น้อยกว่า 150 mcg/mL 4 ชั่วโมงหลังทาน

มีความเสี่ยงต่ำที่ตับจะเสียหาย

มากกว่า 200 mcg/mL 4 ชั่วโมงหลังทาน หรือมากกว่า 50 mcg/mL 12 ชั่วโมงหลังทาน

มีภาวะเป็นพิษและตับเสียหาย

 

แพทย์จะพิจารณาระดับของ Acetaminophen ตามตาราง ควบคู่กับสัญญาณและอาการอื่นๆ รวมถึงตรวจตับ เพื่อประเมินความเสี่ยงและดูความเสียหายของตับอีกครั้ง เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Acetaminophen

  • ไม่ควรรับประทานยาที่มีส่วนผสมของอะเซตามีโนเฟนมากกว่า 1 เม็ดในครั้งเดียว
  • หากคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 แก้วหรือมากกว่านี้ในแต่ละวัน ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนว่า สามารถรับประทานอะเซตามีโนเฟนหรือไม่ เนื่องจากมีความเสี่ยงทำให้ตับเสียหายมากขึ้น

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Paracetamol Toxicity (http://www.forensicchula.net/FMJ/journal/topic/12.pdf), มิถุนายน 2557
Acetaminophen overdose (https://www.drugs.com/cg/acetaminophen-overdose.html), 24 September 2019
Lab Test Online, Acetaminophen (https://labtestsonline.org/tests/acetaminophen), 14 March 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาถ่ายพยาธิ ยี่ห้อไหนดี? รวมรายชื่อ ยาถ่ายพยาธิ ที่ปลอดภัย
ยาถ่ายพยาธิ ยี่ห้อไหนดี? รวมรายชื่อ ยาถ่ายพยาธิ ที่ปลอดภัย

รวมชื่อยาถ่ายพยาธิ ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง และตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

อ่านเพิ่ม
รวมราคาวัคซีน HPV 2020
รวมราคาวัคซีน HPV 2020

รวมราคาวัคซีน HPV จากโรงพยาบาลชั้นนำในราคาแพ็กเกจจาก HD

อ่านเพิ่ม