งดเหล้าเข้าพรรษา ทำไม่ยาก ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
งดเหล้าเข้าพรรษา ทำไม่ยาก ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ

เทศกาลเข้าพรรษาเวียนมาอีกแล้วในปีนี้ และสิ่งหนึ่งที่มีการรณรงค์ในทุกๆปีก็คือการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” นอกจากเป็นการทำความดีในช่วงเข้าพรรษาแล้วยังเป็นการพักตับไม่ให้ทำงานหนักอีกด้วย เนื่องจาก เมื่อดื่มเหล้าเข้าไปมาก ๆ จะมีผลโดยตรงต่อตับ ทำให้ตับแข็งและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ก็ได้ออกมาเชิญชวนให้ ลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเข้าพรรษา ภายใต้ชื่อ "เทศกาลพักตับ" เพื่อสานต่อโครงการ งดเหล้าครบพรรษา อีกด้วย

สำหรับช่วงเข้าพรรษาปีที่แล้ว 2558 มีจำนวนคน รวมค่าเหล้าที่ประหยัดได้ถึง 112,526,014 บาท มีชุมชนเข้าร่วมโครงการ 600 ชุมชน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

ส่วนปีนี้ (2559) ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีชุมชนเข้าร่วม 677 ชุมชน ซึ่งหากใครรักสุขภาพและอยากเข้าโครงการนี้แต่ยังไม่รู้จะอดเหล้าอย่างไร จึงมีวิธีการมาบอกต่อ ดังนี้

ขั้นตอนวิธีการเลิกเหล้า

  1. ตั้งเป้าหมายและสร้างแรงจูงใจ ด้วยการตั้งใจจริงว่าเข้าพรรษานี้จะต้องงดเหล้าให้ได้ จากนั้นหาเหตุผลเพื่อจูงใจให้งดเหล้า เช่น งดเหล้าเพื่อสุขภาพตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่อคนรัก หรือเพื่อคนที่เรานับถือ แล้วหาแรงบัลดาลใจ อาจไปคุยกับคนที่เลิกเหล้าสำเร็จแล้วก็ได้
  2. ทบทวนตัวเอง ควรพยายามทบทวนตัวเองว่าผลดีของการไม่ดื่มเหล้าคืออะไร และหากดื่มเหล้าจะมีผลเสียอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ เรื่องเงินทองที่เสียไป เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวมีการทะเลาะเบาะแว้งหรือไม่ รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถด้วย เนื่องจากมีรายงานว่าประมาณร้อยละ 40-50 ของอุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากเกิดจากผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อทบทวนตัวเองอยู่บ่อยๆก็จะเห็นโทษของการดื่มเหล้าและไม่อยากดื่มไปเอง
  3. รู้จักปฏิเสธให้เป็น หากมีเพื่อนหรือคนรู้จักมาชวนไปดื่มเหล้าควรฝึกปฏิเสธให้เป็น เช่น ช่วงนี้งดดื่มเหล้าเข้าพรรษา หรือหมอสั่งให้งดดื่ม เป็นต้น
  4. หากิจกรรมทำยามว่าง คนที่งดดื่มเหล้ามักจะมีเวลาว่างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงเย็น หรือวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ดังนั้นจึงควรหาอะไรทำฆ่าเวลา เช่น ปลูกต้นไม้ ไปกินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เลี้ยงสุนัข ไปเข้าวัดทำบุญ หรือออกกำลังกาย แค่นี้ก็ไม่เบื่อแล้ว
  5. ไม่ไปในสถานที่เสี่ยง หากรู้ว่าสถานที่ใดที่ไปจะทำให้ต้องพบเจอกับการดื่มเหล้า ก็ควรหลีกเลี่ยงไปทางอื่น ร้านอาหาร ผับหรือบาร์ เป็นต้น โดยอาจเปลี่ยนไปเข้าวัดทำบุญกับครอบครัว หาเพื่อนที่ไม่ดื่มเหล้าคุย หรือเข้าห้องสมุดแทน
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนก็คือทางออกที่ดี เมื่อไม่ได้ไปดื่มเหล้าดึกๆดื่นๆก็ควรเข้านอนแต่วัน ซึ่งจะเป็นการดีต่อสุขภาพอีกด้วย และหากสูบก็ควรควบคุมปริมาณการสูบบุหรี่ให้ได้ ไม่สูบมากขึ้นหรืองดการสูบบุหรี่ไปเลย
  7. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ อย่างเพียงพอและเหมาะสม ไม่ควรรับประทานอาหารมัน ๆ เนื่องจากตับอาจจะยังทำงานได้ไม่ค่อยดี ควรจิบน้ำหวานบ่อย ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย หรือหันมาดื่มน้ำผลไม้แทน เช่น น้ำตะไคร้ใบเตย น้ำผลไม้รวม น้ำใบเตยหอม น้ำแครอท แครอทผสมเสาวรส น้ำมะเฟือง น้ำพฤกษา น้ำบีทรูท น้ำสับปะรด เป็นต้น
  8. ควรหยุดทันทีไม่ต้องมาผัดวันประกันพรุ่ง อย่าหยุดเพื่อเป็นกระแส หรือหยุดขำๆ อย่าคิดว่าดื่มวันละนิดหน่อยไม่เป็นไร เพราะในอนาคตอาจทำให้ติดเหล้าได้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้นการหยุดดื่มแบบไม่มีข้อแม้ใดๆจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

วิธีการหยุดเหล้าไม่ใช่เรื่องยากอะไรขอเพียงตั้งใจจริง เข้าพรรษานี้ทำได้อยู่แล้ว แต่ทางที่ดีหยุดตลอดไปเลยก็ดี!!


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcohol-related liver disease - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alcohol-related-liver-disease-arld/treatment/)
Treatment of alcoholic liver disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3036962/)
Alcohol-Related Liver Disease: Symptoms, Treatment and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/alcoholism/liver-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป