กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการปวดหน่วงท้องน้อย

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดหน่วงท้องน้อย

อาการปวดหน่วงท้องน้อย หรือ Round ligament pain เป็นอาการปวดท้องแปลบๆ หรือความรู้สึกมีอะไรกดทับ ปวดหน่วงๆ มักเกิดขึ้นที่บริเวณท้องน้อย หรือที่บริเวณขาหนีบด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน อาการปวดนี้เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยระหว่างตั้งครรภ์ และเป็นอาการปวดที่ปกติ และไม่อันตราย โดยมากมักพบอาการปวดนี้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

 ในบทความนี้จะนำเสนอข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาการปวดท้องน้อยระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงคำแนะนำบางประการที่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของอาการปวดหน่วงท้องน้อย

เส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ยึดมดลูก คอยค้ำจุนมดลูก เพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ เรียกว่าเส้นเอ็น round ligament

เส้นเอ็นนี้จะเชื่อมต่อระหว่างส่วนหน้าของมดลูกกับขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่ขาอยู่ติดกับเชิงกราน ปกติแล้วเส้นเอ็น round ligament จะหดและยืดตัวอย่างช้าๆ

เมื่อทารกในครรภ์เจริญเติบโตและมดลูกขยายขนาดขึ้น ทำให้เส้นเอ็น round ligament ที่ยึดมดลูกนี้ยืดตัวออก ทำให้มีโอกาสเกิดอาการปวดขึ้นได้

การยืดตัวออกอย่างรวดเร็วของเส้นเอ็นนี้ ทำให้เส้นเอ็นหดตัวกลับอย่างรวดเร็วเช่นกัน คล้ายๆ หนังยาง ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการปวดเกิดขึ้น

อาการของการปวดหน่วงท้องน้อย

อาการปวดหน่วงท้องน้อยแม้ว่าจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว แต่ถือว่าเป็นอาการปวดปกติที่เกิดขึ้นได้ระหว่างการตั้งครรภ์

โดยหญิงตั้งครรภ์จะมีอาการปวดเจ็บแปลบ อาการปวดหน่วง หรือมีการหดตัวอย่างทันทีทันใดที่บริเวณท้องน้อย โดยมักจะปวดที่ด้านขวามากกว่า แต่ก็สามารถพบอาการปวดได้ทั้งสองข้าง โดยอาการปวดจะกินเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว ทำให้เกิดอาการปวดหน่วงท้องน้อยได้ เช่น:

  • จาม
  • ไอ
  • หัเวราะ
  • การพลิกตัวไปมาบนเตียง
  • การลุกขึ้นยืนเร็วเกินไป

การรักษาอาการปวดหน่วงท้องน้อย

ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการที่จะช่วยลดอาการปวดได้

  • ใช้ยาแก้ปวด: สามารถรับประทานยาสามัญประจำบ้านแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล ได้ตามความจำเป็น แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ออกกำลังกาย: ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง (กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว) แข็งแรง ออกกำลังกายชนิดยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือโยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์จะช่วยเรื่องอาการปวดได้ โดยให้ปรึกษาแพทย์ก่อนว่า การออกกำลังกายใดบ้างปลอดภัยสำหรับคุณและทารกในครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเกินไป: แนะนำให้เปลี่ยนท่าทางอย่างช้าๆ (เช่น ระหว่างการยืนขึ้น หรือนั่งลง) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเกิดไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการยืดของเส้นเอ็น และทำให้มีอาการปวดได้
  • งอสะโพก: งอสะโพกของคุณก่อนที่จะไอ จาม หรือหัวเลาะ เพื่อป้องกันไม่ให้มีแรงดึงกระชากที่เส้นเอ็น
  • ประคบอุ่น: การประคบร้อนหรือการนั่งในน้ำอุ่นอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าคุณสามารถทำได้ และโปรดระวังไว้ว่าความร้อนที่มากเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภืได้

·    คุณควรปรับพฤติกรรมการทำกิจกรรมประจำวัน และให้หลีกเลี่ยงท่าทางที่อาจทำให้อาการปวดแย่ลง

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

ให้แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเกี่ยวกับอาการปวดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดใดก็ตาม อาการปวดหน่วงท้องน้อยมักเป็นในระยะเวลาสั้นๆ และหายปวดอย่างรวดเร็ว

ให้ไปพบแพทย์ทันที ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ปวดอย่างรุนแรง
  • อาการปวดเป็นนานหลายนาที
  • มีไข้
  • หนาวสั่น
  • มีอาการปวดขณะปัสสาวะ
  • เดินลำบาก

อาการปวดท้องน้อยระหว่างตั้งครรภ์สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้หลายสาเหตุ ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่แพทย์จะวินิจฉัยแยกโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (placenta abruption) หรือ โรคอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น

  • ไส้เลื่อนที่บริเวณขาหนีบ (inguinal hernia)
  • ไส้ติ่งอักเสบ (appendicitis)
  • โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร, ตับ และไต

อาการปวดท้องคลอดก่อนกำหนด บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปวดหน่วงท้องน้อยนี้

 https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-round-ligament-pain#1


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abdominal pain: Common and uncommon causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318286)
Abdominal pain: MedlinePlus Medical Encyclopedia (https://medlineplus.gov/ency/article/003120.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์
อาการปวดของกระดูกหัวเหน่า(Pubic Bone)ในช่วงตั้งครรภ์

แนวประสานกระดูกหัวเหน่ามีความผิดปกติ (Symphysis Pubis Dysfunction)

อ่านเพิ่ม