ไขมันบริเวณรอบท้อง : เราควรจะทำอย่างไรกับมันดี

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไขมันบริเวณรอบท้อง : เราควรจะทำอย่างไรกับมันดี

ไขมันในช่องท้อง : เรื่องสุขภาพที่ต้องตระหนักมากกว่าไขมันใต้ชั้นผิวหนัง

แม้ว่าคำนิยามอาจจะดูล้าสมัยไปเสียหน่อย แต่คำว่า “วัยกลางคน” นั้นเป็นคำที่สร้างความตระหนกให้กับหลายคน

ขณะที่เราเข้าสู่วัยกลางคน อัตราส่วนของไขมันในร่างกายก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยพบอัตราส่วนที่สูงกว่าในผู้หญิงเมื่อเทียบกับผู้ชาย โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะกองอยู่บริเวณกลางหน้าท้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แม้ในจุด ๆ หนึ่ง เราอาจเริ่มยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัยนี้ แต่หากเราเริ่มตระหนักถึงขนาดรอบเอวที่เพิ่มขึ้น ก็หมายถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของเราด้วย หน้าท้องหรือไขมันในช่องท้องนั้นเป็นอีกเรื่องที่ควรตระหนักถึง เพราะมันเป็นตัวการสำคัญในการเกิดปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งมากกว่าไขมันใต้ชั้นผิวหนังหรือไขมันที่คุณสามารถใช้มือของคุณหยิบจับขึ้นมาได้ ไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) เป็นส่วนที่อยู่ลึกกว่านั้น โดยจะอยู่ในช่องท้อง-บริเวณที่ปกคลุมระหว่างอวัยวะภายในช่องท้อง

ไขมันในช่องท้องนั้นพบว่ามีส่วนรบกวนการทำงานของระบบเผาผลาญของร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางหลอดเลือด หัวใจ และเบาหวาน ในผู้หญิงยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านมและการผ่าตัดถุงน้ำดี

คุณมีรูปร่างเป็นรูปทรงแพรหรือทรงแอปเปิ้ล

ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณส่วนล่างของร่างกาย (รูปทรงแพร pear-shaped) จะเป็นไขมันใต้ชั้นผิวหนัง ในขณะที่ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณกลางหน้าท้อง (ทรงแอปเปิ้ล apple-shaped) จะเป็นไขมันในช่องท้องเสียส่วนใหญ่ บริเวณที่ไขมันไปสะสมนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงพันธุกรรมและฮอร์โมน ในขณะที่หลักฐานเกี่ยวกับไขมันในช่องท้องมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักวิจัยและแพทย์ได้วัดและเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเสี่ยงทางสุขภาพ รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามอายุและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

ข่าวดีที่พบคือ ไขมันในช่องท้องนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามอาหารและการออกกำลังกาย โดยมีผลตั้งแต่ช่วยลดความดันโลหิตจนถึงเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลดีในเลือด ในขณะที่ไขมันใต้ชั้นผิวหนังนั้นลดได้ยากกว่า แต่สำหรับคนน้ำหนักปกติแล้ว ไขมันส่วนนี้ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับสุขภาพมากเท่ากับไขมันในช่องท้อง

นักวิจัยเสนอว่าตัวเซลล์ไขมัน โดยเฉพาะบริเวณช่องท้อง นั้นค่อนข้างไวต่อปัจจัยทางชีวภาพต่าง ๆ ไขมันนั้นก็เป็นเหมือนอวัยวะต่อมไร้ท่อหนึ่งที่สร้างฮอร์โมน และสารต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเรา แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าไขมันที่มีมากเกินในร่างกาย โดยเฉพาะไขมันในช่องท้องส่งผลรบกวนต่อการทำงานและสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย

นักวิทยาศาสตร์ยังได้มีการศึกษาและพบว่าไขมันในช่องท้องนี้จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาคือ cytokines ตัวอย่างเช่น tumor necrosis factor และ interleukin-6 ซึ่งต่างเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ โดยสารชีวเคมีเหล่านี้ยังส่งผลทำลายเซลล์ที่มีผลเกี่ยวกับระดับ insulin ความดันเลือด และการแข็งตัวของเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หนึ่งสาเหตุที่อาจทำให้ไขมันในช่องท้องนั้นเป็นอันตรายอย่างมาก อาจเป็นเพราะไขมันเหล่านี้สะสมอยู่ใกล้กับหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ (portal vein) ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่รับเลือดมาจากส่วนของลำไส้มายังตับ สารเคมีต่าง ๆ ที่ถูกปล่อยออกมาจากไขมันในช่องท้อง รวมถึงกรดไขมันอิสระ จะสามารถผ่านเข้าไปในหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ และเข้าสู่ตับได้ ซึ่งจะมีผลต่อการสร้างไขมันในเลือด ไขมันในช่องท้องยังมีความสัมพันธ์กับระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมที่สูงขึ้น LDL (ไขมันชนิดเลว) ที่สูงขึ้น HDL (ไขมันชนิดดี) ที่ต่ำลง และภาวะดื้อต่อ insulin

ภาวะดื้อต่อ insulin นั้นหมายถึงการที่เซลล์กล้ามเนื้อ และตับในร่างกายนั้น ไม่สามารถตอบสนองได้ดีเช่นเดิมต่อระดับ insulin ที่ปกติได้ insulin คือฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นโดยตับอ่อน โดยมีหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลกลูโคสไปตามเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่มากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคเบาหวาน ทีนี้ได้เวลาของข่าวดีบ้างแล้ว

การออกกำลังกายและอาหารสามารถช่วยคุณกำจัดไขมันบริเวณพุงได้

แล้วเราสามารถทำอะไรกับไขมันบริเวณพุงนี้ได้บ้าง ? หลากหลายวิธีเลย ! จุดเริ่มต้นเริ่มจากการควบคุมน้ำหนัก โดยทั่วไปแล้ว การที่จะลดไขมันในช่องท้องได้คือการออกกำลังกายระดับปานกลาง (moderate-intensity) อย่างสม่ำเสมอ โดยอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน (และอาจมากได้ถึง 60 นาทีต่อวัน) เพื่อที่จะควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ (strength training) สามารถช่วยกำจัดไขมันในช่องท้องได้ ส่วนการออกกำลังกายแบบ Spot เช่นการ sit-ups สามารถช่วยเพิ่มความตึงให้กล้ามเนื้อหน้าท้องได้ แต่ไม่มีผลช่วยกับเรื่องไขมันในช่องท้อง

อาหารก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน จงให้ความสำคัญกับปริมาณอาหารที่คุณจะได้รับในแต่ละมื้อ และให้ความสำคัญกับคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (ผลไม้ ผัก และธัญพืช) รวมถึง Lean โปรตีน มากกว่าที่จะเน้นแต่คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ขนมปังสีขาว พาสต้า และน้ำหวานน้ำอัดลม การชดเชยไขมันอิ่มตัว (saturated fat) และไขมันทรานส์​ (trans fats) ด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fats) สามารถช่วยได้เช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์ต่างหวังว่าจะพัฒนายาที่จะช่วยรักษาและมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงต่อไขมันในช่องท้องได้ในภายภาคหน้า แต่สำหรับตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญในหลาย ๆ ด้านต่างให้ความเห็นในทางเดียวกันว่า กิจวัตรประจำวัน โดยเฉพาะการออกกำลังกายนั้นเป็นวิธีต่อสู้กับไขมันในช่องท้องได้ดีที่สุด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abdominal fat and what to do about it. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/Abdominal_fat_and_what_to_do_about_it)
Abdominal fat and what to do about it. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/abdominal-fat-and-what-to-do-about-it)
Belly fat in women: Taking — and keeping — it off. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/belly-fat/art-20045809)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)