การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องคืออะไร ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ราคา วิธีการเตรียมตัว และวิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจ

การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย เพราะถ้าหากตรวจพบโรคร้ายก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ จะทำให้มีโอกาสหายหรือรอดชีวิตสูง สำหรับสุขภาพของช่องท้องก็เช่นกัน การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องเป็นวิธีที่สามารถตรวจบริเวณท้องของผู้ป่วยได้ถูกต้องและแม่นยำ จนกลายเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายและถูกกำหนดให้อยู่ในแผนการตรวจสุขภาพประจำปีกันเลยทีเดียว

การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องคืออะไร

เป็นการตรวจด้วยเครื่องที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ด้วยการเคลื่อนหัวตรวจไปตามผิวหน้าท้อง โดยคลื่นเสียงจะแปรผลในลักษณะภาพไปยังจอมอนิเตอร์ เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคต่างๆ

ทั้งนี้การตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่หน้าท้องยังมีข้อจำกัดในการตรวจอยู่บ้าง คือไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่มีลมหรือกระดูกอยู่ภายในอย่างเช่นกระเพาะอาหารหรือปอดได้ เพราะการทำงานของเครื่องไม่สามารถทะลุผ่านได้ลึกมากนัก แต่วิธีนี้สามารถตรวจได้ละเอียด เนื่องจากสามารถตรวจจับเนื้อเยื่ออ่อนได้ชัดเจนกว่าวิธีอื่นๆ

  • ช่องท้องส่วนบน ใช้เพื่อตรวจดูอวัยวะที่อยู่บริเวณหน้าท้องส่วนบน เช่น ม้าม ตับ ตับอ่อน ท่อน้ำดี ไต และเส้นเลือด เป็นต้น
  • ช่องท้องส่วนล่าง ใช้เพื่อตรวจดูอวัยวะที่อยู่บริเวณหน้าท้องส่วนบน เช่น ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ รังไข่ มดลูก เป็นต้น

การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องป้องกันโรคอะไรได้บ้าง

  • หากเป็นช่องท้องส่วนบนจะใช้ติดตามตรวจดูความเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้อที่พบ แล้ววิเคราะห์ว่าเป็นก้อนเนื้อดีหรืออาจเป็นก้อนเนื้อร้าย ดูความผิดปกติของเส้นเลือด รวมทั้งดูว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีและไตหรือไม่
  • หากเป็นช่องท้องส่วนล่างจะใช้ติดตามตรวจดูความเปลี่ยนแปลงว่ามีก้อนเนื้อในมดลูก ไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำรังไข่ รวมทั้งมีก้อนเนื้อที่ผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วอาจจะติดต่อไปยังอวัยวะใดบ้าง
  • สามารถช่วยให้แพทย์เห็นอวัยวะที่ผิดปกติ บอกบริเวณที่เป็น และสามารถตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจขยายผลได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องอันตรายไหม

การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่ประการใด เพราะเป็นเพียงการใช้หัวตรวจเคลื่อนไปบนผิวหน้าท้องภายนอก ซึ่งไม่ต้องมีการใช้ยาชาหรือฉีดยา อีกทั้งคลื่นเสียงที่ใช้ก็มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหมือนการตรวจด้วยวิธีเอ็กซเรย์

ราคาของการตรวจอัลตร้าซาวด์ท้อง

การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องส่วนบนในโรงพยาบาลเอกชน ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,700 – 2,500 บาท การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องส่วนล่างราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 4,000 บาท ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลราคาจะถูกกว่าเอกชนนิดหน่อย แต่ราคาก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับการจัดโปรโมชั่นของสถานพยาบาลแต่ละที่

วิธีการเตรียมตัวการตรวจอัลตราซาวด์ท้อง

    1. การตรวจช่องท้องส่วนบนควรงดอาหารที่มีไขมันและเครื่องดื่มประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง แต่ควรดื่มน้ำเปล่ามากๆ และกลั้นปัสสาวะ เนื่องจากจะทำให้ถุงน้ำดีหดตัวจนส่งผลให้มองเห็นไม่ชัดเจน ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ แพทย์จะให้งดอาหารและดื่มน้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ด้วยเช่นกัน
    2. การตรวจช่องท้องส่วนล่างควรงดอาหารและกลั้นปัสสาวะไว้ เพื่อให้น้ำช่วยดันอวัยวะข้างในไม่ให้บังจุดที่ต้องการจะตรวจ เช่น ต่อมลูกหมาก นิ่วในกระเพาะอาหาร มดลูก หรือรังไข่ เป็นต้น
    3. เปลี่ยนเสื้อผ้าตามที่สถานพยาบาลกำหนดให้

    วิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจอัลตร้าซาวด์ท้อง

    ไม่ต้องมีการดูแลตนเองแบบพิเศษแต่อย่างใด การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องใช้เวลาเพียง 15 – 40 นาที เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อยก็สามารถกลับบ้านทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และยังสามารถทราบผลภายในวันเดียว การตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นการตรวจเพื่อเฝ้าระวังกับวินิจฉัยรักษาโรค ซึ่งช่วยให้การตรวจของแพทย์ทำได้ชัดเจนและถูกต้องมากยิ่งขึ้น หากตรวจแล้วพบความผิดปกติจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยไม่ละเลยปล่อยเวลาให้นาน ก็จะได้รับการรักษาให้หายอย่างทันท่วงที แล้วสุขภาพที่ดีของเราก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมนั่นเอง


    16 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    Abdominal Ultrasound: Purpose, Risks and Procedure. Healthline. (https://www.healthline.com/health/abdominal-ultrasound)
    Abdominal ultrasound: Purpose, procedure, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324392)

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)