8 อย่างที่แม่ของเด็กที่อยู่ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตมักชอบทำผิด

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
8 อย่างที่แม่ของเด็กที่อยู่ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตมักชอบทำผิด

คุณกำลังทำเรื่องผิด ๆ ต่อไปนี้หรือไม่ ?

 

ยินดีด้วย ! ลูกของคุณอยู่ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต แล้วตอนนี้จะทำอย่างไรต่อไป ?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณเพิ่งจะผ่านประสบการณ์ที่น่ากลัวที่สุดและอาจจะไม่มีอะไรเลยที่จะช่วยเตรียมตัวคุณให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์นี้ ส่วนมากแล้วคุณก็แค่ขอมีชีวิตรอดไปวัน ๆ และดูว่าคุณจะจัดการกับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ หอผู้ป่วยวิกฤตมักทำให้คุณรู้สึกเช่นนั้น มีบางอย่างที่คุณอาจจะทำทำให้มันยิ่งแย่ไปกว่าเดิม และแน่นอนว่ามีบางอย่างที่หากทำแล้วคุณจะสามารถผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ ลองหาช่วงเวลากับตัวเองเพื่อดูว่าคุณกำลังทำอะไรใน 8 ข้อนี้มันทำให้ประสบการณ์ของคุณแย่กว่าเดิมหรือไม่ ? และลองอ่านวิธีที่อาจช่วยให้คุณแก้ไขมันได้

 

#1 ไม่ดูแลตัวเอง

เมื่อลูกของคุณอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต และคุณต้องการทำทุกอย่าง อะไรก็ได้ เพื่อให้ลูกของคุณกลับบ้านอย่างปลอดภัย และแข็งแรงไปพร้อมกับคุณ พลังงานทั้งหมดของคุณจะถูกส่งไปให้ลูก ปั๊มนมถ้าเป็นไปได้ จัดการกับเรื่องต่าง ๆ ภายในบ้านและครอบครัว และกังวล พยายามจะเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นมันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้หากคุณจะไม่ได้สนใจตัวเองเท่าที่ควร ตราบใดที่คุณยังสามารถฟื้นตัวและรักษาความสะอาดให้กับตัวเองได้ แต่นี่เป็นเรื่องที่อาจทำให้กลายเป็นปัญหาในอนาคต

แน่นอนว่าคุณต้องการที่จะทำทุกอย่าง แต่คุณต้องดูแลตัวเองด้วย หากคุณต้องการจะผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยดี คุณต้องดูแลตัวเองเพื่อตัวคุณและลูกของคุณ ควรระลึกไว้ว่าลูกต้องการคุณ และคุณเป็นแม่คนเดียวของเขา ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำให้ลูกก็คือเป็นแม่ที่มีสุขภาพดี

ไม่สามารถบอกได้ว่าการดูแลตัวเองที่ดีที่สุดคืออย่างไร เพราะคุณเองคือผู้ที่รู้ดีที่สุด บางครั้งมันอาจจะหมายถึงการนอนให้มากขึ้น หรืออาจจะหมายถึงการออกไปนอกหอผู้ป่วยเพื่อพักผ่อน หรือหมายถึงการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ถึงแม้ว่านั่นจะหมายความว่าคุณจะได้ใช้เวลากับลูกของคุณน้อยลงก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การลงทุนให้กับตัวเองก็เป็นการลงทุนให้กับแม่ของทารกเช่นกัน ดังนั้นควรพยายามอย่างเต็มที่ในการดูแลตัวเองให้ได้ตามที่ต้องการ

#2 โทษตัวเอง

คุณเริ่มโทษตัวเองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกของคุณอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตหรือยัง? นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม่ ผู้สามารถทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ลูกของพวกเขาปลอดภัยและแข็งแรงกล่าวโทษว่าตัวเองเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกป่วย อย่างกับว่าคุณจะสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้อย่างนั้นแหละ การคลอดก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับแม่ทุกคน แม้แต่แม่ที่ทำทุกอย่างถูกต้องมาตลอดก็อาจคลอดก่อนกำหนดและทารกก็ต้องเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตได้เช่นกัน ความผิดปกติแต่กำเนิดก็เกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว และภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดและการติดเชื้อก็เกิดขึ้นได้กับทุกคนเช่นกัน ดังนั้นขอแนะนำให้คุณหยุดโทษตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ เพราะคุณไม่ได้ทำอะไรผิดเลย

#3 หลีกเลี่ยงเพื่อนและครอบครัว

คุณเริ่มจะปลีกตัวจากเพื่อนและครอบครัวหรือยัง? 

คุณอาจจะรู้สึกว่าพวกเขาไม่เข้าใจ พวกเขาพูดอะไรที่ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น เนื่องจากพวกเขาไม่รู้ว่ามันยากแค่ไหนกับสถานการณ์ที่คุณเผชิญอยู่ตอนนี้ แต่พวกเขาใส่ใจคุณ และคุณสามารถขอความช่วยเหลือจากพวกเขาได้ ดังนั้นควรให้เพื่อนสนิทของคุณและครอบครัว รวมถึงคนที่ทำให้คุณรู้สึกดีและแสดงความต้องการที่จะช่วยเหลือได้ช่วยเหลือคุณ

แต่ไม่ได้หมายความว่าให้พวกเขาทำให้ทุกคนที่มาเยี่ยมรู้สึกสนุกสนาน เพราะนี่เป็นเรื่องที่เครียดและเหน็ดเหนื่อย แต่ให้พวกเขาช่วยเหลือคุณบ้าง และคุณเองก็จะได้เปิดใจและพูดคุยกับคนที่เขาใส่ใจคุณ

ความช่วยเหลือที่ว่านั้นจะทำได้อย่างไร ?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ให้คนหนึ่งเป็นเหมือนโฆษกประจำตัวคุณ ให้พวกเขาทำหน้าที่สื่อสารกับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ที่ต้องการทราบความคืบหน้า
  • ให้มีคนเป็นสะพานให้ความช่วยเหลือสำหรับคุณ เพื่อเป็นช่องทางในการอัพเดทความคืบหน้าและให้เพื่อนและคนอื่น ๆ นำอาหารมาให้คุณหรือช่วยเหลือในสิ่งที่คุณต้องการ
  • ร้องไห้ และพูดคุยอย่างจริงใจเต็มที่เกี่ยวกับเรื่องนี้กับคนที่คุณรัก มันเป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีปัญหากับเรื่องนี้แม้ว่าลูกของคุณอาจจะไม่ได้ป่วยหนักก็ตาม

#4 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการดูแลลูก

คุณกำลังนั่งอยู่ข้างเตียงลูกและมองดูเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับลูกของคุณหรือไม่ ?

มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และมีหลายเหตุผลที่คุณมักทำเช่นนั้น

  • พวกเขามีประสบการณ์กับทารกป่วยหนักและคลอดก่อนกำหนดมากกว่า
  • คุณกลัวว่าคุณจะทำอันตรายให้ลูก
  • คุณไม่รู้ว่าคุณกำลังทำอะไร
  • สายระโยงระยางต่าง ๆ นั้นดูน่ากลัว
  • ไม่มีใครบอกว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อดูแลลูกของคุณ

แต่คุณเป็นแม่ของลูก และลูกต้องการคุณ ทั้งในปัจจุบันและตลอดไป การที่คุณมีส่วนร่วมมากเท่าที่คุณได้รับการอนุญาตจะเป็นยาชั้นดีสำหรับคุณ หากไม่มีใครบอกว่าคุณสามารถช่วยได้หรือไม่ ลองถาม “ฉันสามารถทำอะไรได้บ้าง ฉันช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือวัดอุณหภูมิได้หรือไม่ ? หรือแม้ว่าสิ่งเดียวที่คุณทำได้จะเป็นการสัมผัสลูกและเปลี่ยนผ้าอ้อม แต่การสัมผัสและการที่ลูกได้ยินเสียงของคุณนั้นเป็นสิ่งที่ทรงพลังและช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้น และมันจะช่วยคุณอย่างมากเช่นกัน คุณจะเริ่มรู้สึกเชื่อมโยงเข้าหาลูก ต้องการลูก และรู้สึกเหมือนแม่มากขึ้นเรื่อย ๆ

#5 เปรียบเทียบลูกของคุณกับทารกคนอื่น ๆ ในหอผู้ป่วย

ทุกคนก็ทำแบบนี้ มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คุณอาจจะเห็นว่าทารกข้าง ๆ คุณทำไมถึงตัวใหญ่กว่าและดูเหมือนจะแข็งแรงกว่า หรือทำไมทารกคลอดก่อนกำหนดก่อนหน้าคุณแต่สามารถดื่มนมจากขวดและไม่ต้องใช้ออกซิเจนแล้ว ? ควรระลึกว่าเด็กแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน และแต่ละคนก็มีตารางเวลาเป็นของตัวเอง ลูกของคุณอาจมีปัญหามากกว่าคนอื่นและมันอาจจะรู้สึกไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไร แน่นอนว่ามันไม่ยุติธรรม แต่ก็นั่นแหละ ไม่มีอะไรที่ยุติธรรม ฉันรับประกัน 100% ได้เลยว่า มีบางคนที่อาการหนักกว่าคุณ และบางคนที่อาการดีกว่า มันไม่ยุติธรรม ดังนั้นหยุดเปรียบเทียบ เชื่อใจลูกและชื่นชมกับการเดินทางที่ไม่เหมือนใครของลูกคุณ

#6 ไม่พูด

คุณเคยรู้สึกว่าไม่ต้องการพูดอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกของคุณหรือไม่ ? คุณเคยรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยไม่แจ้งอะไรให้คุณทราบเลยหรือไม่ ? การอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตทำให้คุณต้องปรับตัวเข้าหากฎและวิธีการที่พวกเขาปฏิบัติ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถพูดอะไรได้เลย คุณต้องเข้าใจว่าคุณเป็นคนเดียวที่พูดแทนลูกของคุณ และการที่คุณเงียบถือเป็นเรื่องที่ผิดพลาด แน่นอนว่าการที่ลูกของคุณได้รับการดูแลอย่างเต็มที่จากพยาบาลและแพทย์นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่มีใครที่จะรักลูกของคุณได้เท่ากับตัวคุณเอง และไม่มีใครต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกเท่ากับที่คุณต้องการ ความคิดของคุณเป็นเรื่องที่สำคัญ คำถาม และคำขอร้องของคุณก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

ดังนั้น พูดออกมาและถามคำถาม

#7 คิดถึงแต่เรื่องในอนาคตมากเกินไป

มันง่ายที่จะใช้พลังงานทั้งหมดของคุณคิดถึงเรื่องในอนาคต คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นในระยะยาว ไม่ว่าคุณจะกังวลเกี่ยวกับการวินิจฉัยที่แพทย์ได้เตือนไว้ล่วงหน้าหรือคุณแค่เกลียดทุกช่วงเวลาที่อยู่ในหอผู้ป่วยและอยากจะออกไปเต็มที มันเป็นเรื่องง่ายที่จะหลีกเลี่ยงการมองหาความสุขในปัจจุบัน หากคุณสามารถคิดให้ช้าลงและคิดถึงปัจจุบันมากขึ้น คิดถึงการให้นม การกอด รอยยิ้มของลูกในปัจจุบัน มันจะทำให้คุณคิดถึงเรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก และสมดุลดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคุณ การมองแต่ด้านลบจะทำให้การเดินทางของคุณยิ่งยากขึ้น

หยุดพักและลองมองหาความสุขจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

#8 คิดว่าคุณไม่สำคัญ

คุณเคยคิดว่าตัวเองไม่สำคัญเท่ากับลูกที่คลอดก่อนกำหนดของคุณในตอนนี้หรือไม่ ?

นั่นไม่ใช่ความจริงเลย คุณสำคัญมากกว่าคนอื่น ๆ ในชีวิตของลูกคุณ แม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าคุณไม่ดีพอ หรือในเวลาที่คุณอาจจะไม่ได้อยู่ในที่นั้น แต่ความรักของคุณก็เป็นสิ่งที่ทรงพลังและความผูกพันนั้นก็เป็นเรื่องจริง ลูกของคุณรู้จักเสียงของคุณ รู้จักกลิ่นของคุณ และรู้จักสัมผัสของคุณ

คุณอาจจะไม่ได้เป็นผู้ดูแลลูกในตอนนี้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกไม่ต้องการคุณ ลูกของคุณอาจจะนอนหลับตลอดเวลาและไม่ได้ต้องการให้คุณอยู่กับพวกเขา แต่การดูแลและความกังวลของคุณจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูก

ลูกต้องการคุณอย่างที่สุด

เพื่อให้คุณดูแลเขา ให้คุณสัมผัส ได้ยินเสียงของคุณ ได้กลิ่นของคุณ และมีคุณอยู่กับเขา มีแต่คุณเท่านั้นที่สามารถทำได้ และมีแค่คุณที่เป็นแม่ของเขา


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Contraindications Neonatal Neonatal (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3292528/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป