8 ไอเดียในการหยุดไม่ให้ลูกของคุณทะเลาะกัน

ทางเลือกหนึ่งคือการเมินเฉย
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
8 ไอเดียในการหยุดไม่ให้ลูกของคุณทะเลาะกัน

เด็กๆ สามารถทะเลาะกันได้จากหลายสาเหตุ พ่อแม่และผู้ดูแลมักประสบปัญหาว่าเมื่อไหร่ถึงจะสามารถปล่อยให้พวกเขาทะเลาะกันได้และเมื่อไหร่ควรเข้าไปห้าม เด็ก (โดยเฉพาะพี่น้อง) สามารถทะเลาะกันได้จากเรื่องงี่เง่าเพียงเล็กน้อยที่ดูไม่เป็นเหตุเป็นผลหรืออาจจะเป็นเรื่องที่ขบขันสำหรับผู้ใหญ่ แต่มันก็เป็นเรื่องที่จริงจังทั้งเป็นการสร้างเพื่อนหรือเป็นเรื่องแตกหักสำหรับความคิดของเด็กเล็กๆ การมีความเห็นไม่ตรงกันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของเด็กๆ แต่ก็อาจมีบางอย่างที่พ่อแม่และผู้ดูแลอาจทำเพื่อช่วยลดหรือหลีกเลี่ยงการทะเลาะได้

เมินเฉยเวลาที่พวกเขาทะเลาะกัน

เด็กส่วนมากทะเลาะกันด้วยเรื่องที่เล็กน้อยและการที่ผู้ใหญ่เข้าไปขัดขวางนั้นเป็นการทำให้กระบวนการในการแก้ปัญหาของเด็กๆ ด้วยตนเองนั้นเกิดขึ้นช้าลง การต่อสู้ยังมักจะเป็นวิธีในการเรียกร้องความสนใจของเด็ก และสำหรับเด็กบางคน การได้รับความสนใจแบบแย่ๆ ก็ดีกว่าการไม่ได้รับความสนใจเลย หากผู้ใหญ่เมินเฉยต่อการทะเลาะกันดังกล่าวและไม่นำมาเป็นจุดสนใจหลักภายในบ้านหรือสถานที่แห่งนั้น มันก็จะทำให้พวกเขามีเหตุผลในการทะเลาะกันลดลง พ่อแม่คนใดคนหนึ่งอาจประกาศว่าห้องนอนรับแขกห้องหนึ่งนั้นเป็นห้องสำหรับการทะเลาะ และเมื่อพวกเขาเริ่มทะเลาะกัน ก็อาจบอกให้พวกเขาเข้าไปในห้องดังกล่าวและไม่ต้องออกมาจนกว่าจะสามารถตกลงกันได้

ความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องสำคัญ

กับดักที่เร็วที่สุดที่ทำให้ผู้ใหญ่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการทะเลาะก็คือการที่พวกเขาพยายามหาว่าใครเป็นผู้เริ่มก่อนและใครพูดว่าอะไรและอะไรทำให้เรื่องราวบานปลาย การเลือกข้างหรือการลงโทษที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดพื้นที่ในการล้อเลียน สำหรับกรณีส่วนมากแล้วบทลงโทษของทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นแบบเดียวกันและไม่มีข้อยกเว้น

เป้าหมายของการกระทำนี้เป็นการทำให้ไม่มีผู้แพ้หรือผู้ชนะเกิดขึ้นจากการต่อสู้

สอนเด็กๆ ถึงวิธีในการหาทางออกร่วมกัน

แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็สามารถเข้าใจเรื่องพื้นฐานของคำว่ายุติกรรมและการไม่ทะเลาะกันได้ ลองพูดคุยเกี่ยวกับเด็กๆเกี่ยวกับการทะเลาะและวิธีอื่นที่จะสามารถนำมาแก้ปัญหาได้

ควรตั้งกฎถึงสิ่งที่สามารถทำได้และอะไรที่ทำไม่ได้ในการแก้ปัญหา (ตัวอย่างเช่น ตะโกน ร้องไห้ หรือตี หรือการแก้ปัญหาโดยการไม่ให้ทั้งสองฝ่าย) ลองบอกให้พวกเขาหาทางออกและลองใช้มัน คุณอาจจะแปลกใจกับคำตอบที่ได้รับ และพวกเขาจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่าอะไรเหมาะสม

ชื่นชมและให้แรงสนับสนุนเชิงบวก

การให้คำชมนั้นจะช่วยให้เด็กสามารถสร้างพฤติกรรมในแง่บวกเพิ่มขึ้น ใจความสำคัญก็คือให้เมินเฉยต่อการทะเลาะและให้ความสนใจอย่างมากเมื่อพวกเขาเริ่มทำในสิ่งที่ถูกต้อง เด็กๆ จะสามารถเข้าใจเรื่องดังกล่าวได้เอง

เป็นตัวอย่างที่ดี

คุณไม่สามารถคาดหวังให้พวกเขาไม่ทะเลาะกันในขณะที่พวกเขาเห็นคุณทะเลาะกันเป็นประจำได้ พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการร่วมมือกับผู้อื่นและเป็นตัวอย่างสำหรับพฤติกรรมที่ดีตลอดเวลา

มีสติภายใต้แรงกดดัน

เด็กๆ เฝ้ามองการกระทำของผู้ใหญ่เวลาที่ผู้ใหญ่โมโห หรือไม่เห็นด้วยกับอะไรบางอย่าง การมีสติภายใต้แรงกดดันและการควบคุมตนเองนั้นเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ หากพวกเขาโตพอที่จะสามารถเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ ผู้ใหญ่อาจลองพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้ผู้ใหญ่รู้สึกโกรธในแต่ละสถานการณ์

ใส่ใจกับวิธีที่คุณเข้าไปแก้ไขหรือตอบสนอง

หากผู้ใหญ่ตะโกน อับอาย หรือแสดงอาการโกรธและใช้คำพูดแรงๆ นั้นมักจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ดีและเริ่มทะเลาะกันอีกครั้ง

พยายามลดหรือจำกัดการทะเลาะ

ลองพิจารณาถึงเหตุผลที่พวกเขาทะเลาะกันและดูว่าคุณสามารถลดสถานการณ์ดังกล่าวได้หรือไม่ ควรรู้ว่าเมื่อไหร่ที่เด็กเล็กๆ จะทำตัวแย่ที่สุดเช่นเวลาที่พวกเขาเหนื่อยหรือหิว หรือเพิ่งผ่านมันที่เลวร้ายมา และพยายามลดพื้นที่ในการทะเลาะ เด็กๆ ควรรู้ว่าพวกเขาเป็นที่รักเท่าๆ กันและมีความสำคัญเท่ากันไม่ว่าพวกเขาจะทำตัวอย่างไร แต่คุณในฐานะผู้ใหญ่อาจรู้สึกมีความสุขที่สุดเวลาที่พวกเขาทำตัวดีๆ บางครั้งการกอดและ/หรือการหอมแก้มก็เป็นสิ่งที่เด็กต้องการ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)