7 อาการของโรคลมแดดที่ทุกคนควรรู้

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 อาการของโรคลมแดดที่ทุกคนควรรู้

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) ระบุว่า มีโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับความร้อนหลายชนิด แต่โรคที่อันตรายมากที่สุดคือโรคลมแดด หรือ Heat Stroke นั่นเอง โดยโรคลมแดดเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิแกนกลางลงได้ ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ทั้งนี้โรคลมแดดมีสองชนิด คือ แบบทั่วไป กับแบบที่เกิดจากการออกกำลังกาย โรคลมแดดทั่วไปมักพบได้ในคนวัยหนุ่มสาว หรือคนสูงอายุที่ร่างกายมีปัญหากับการรักษาอุณหภูมิที่แกนกลางภายในร่างกาย คนที่เป็นโรคลมแดดประเภทนี้อาจไม่รู้สึกร้อน เพราะอุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดหลายชั่วโมงหรือตลอดวัน ในขณะที่โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลังกายมักพบได้ในคนที่ออกกำลังกายท่ามกลางความร้อน ซึ่งนักกีฬาที่ร่างกายมีความอึด เช่น นักฟุตบอล หรือคนใช้แรงงาน จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

อาการทั่วไปของโรคลมแดด

  1. อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น หากอุณหภูมิของร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ถือว่าเป็นสัญญาณของโรคลมแดด  ซึ่งต้องวัดจากอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย โดยในการวินิจฉัยจะวัดทางทวารหนักจะได้ค่าอุณหภูมิแกนกลางที่แม่นยำ
  2. ไม่มีเหงื่อออก หรือมีเหงื่อมาก เมื่อใช้เวลาอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนมาก ร่างกายจะพยายามหยุดรักษาอุณหภูมิแกนกลางภายในร่างกาย ดังนั้นในระหว่างที่เป็นโรคลมแดดแบบทั่วไป ร่างกายก็อาจไม่ได้ขับเหงื่อออกมา ในขณะที่แบบที่เกิดจากการออกกำลังกายร่างกายของผู้ป่วยจะขับเหงื่อออกมาในปริมาณมาก
  3. สับสนหรือมีปัญหากับการเดิน การเป็นโรคลมแดดจากการออกกำลังกาย ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย ดังนั้นการที่ร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ เกิดความรู้สึกสับสน ก้าวร้าว หรือการสูญเสียความสามารถในการเดิน ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวัง
  4. ปวดศีรษะเหมือนโดนตี การมีอาการปวดศีรษะที่เหมือนกับโดนทุบถือเป็นอาการพื้นฐานของโรคลมแดด ซึ่งอาการที่ว่ามักเกิดจากภาวะขาดน้ำ หรือผลกระทบภาพรวมที่มีต่อระบบประสาทส่วนกลาง
  5. เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ในช่วงที่เหงื่อออกมาอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น ความร้อนจะเริ่มส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย และนำไปสู่การเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ หรืออาเจียน
  6. ผิวแดง ทั้งโรคลมแดดแบบทั่วไปและโรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลังกาย เมื่อร่างกายพยายามปรับอุณหภูมิให้เย็นลง จะมีการขยายตัวของหลอดเลือดฝอยบริเวณผิวหนังเพื่อระบายความร้อน ทำให้สีผิวดูแดงขึ้น นอกจากนี้อาจรู้สึกว่าผิวชื้นมากกว่าปกติ หรือแห้งจนผิดสังเกต โดยขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นโรคลมแดดชนิดใด
  7. หัวใจเต้นแรงหรือมีปัญหากับการหายใจ หัวใจจะตกอยู่ในภาวะตึงเครียดเมื่อร่างกายร้อนเกินไป เพราะต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้นและเร็วขึ้นเพื่อให้ระบบทำความเย็นของร่างกายรักษาความสมดุลของอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือทำให้เกิดภาวะระบายลมหายใจเกิน (Hyperventilation)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การปฐมพยาบาลโรคลมแดดเบื้องต้น

หลักการสำคัญ คือการลดระดับความร้อนของร่างกายลงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำให้ โดยวิธีที่ลดความร้อนได้เร็วที่สุด คือการแช่ตัวของผู้ป่วยลงในถังน้ำเย็น (ลดได้ประมาณ 0.2 องศาเซลเซียสต่อนาที) แต่หากไม่สามารถหาถังหรืออ่างได้ สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือถุงใส่น้ำแข็งเช็ดหมุนเวียนหรือประคบตามคอ ลำตัว แขนขา ข้อพับต่าง ๆ ก็สามารถช่วยลดความร้อนได้พอสมควร (ประมาณ 0.15 องศาเซลเซียสต่อนาที) เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลง ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้น รู้สึกตัวดีขึ้น จากนั้นค่อยให้ดื่มน้ำเพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำของร่างกาย แต่ถ้าหมดสตินานควรนำส่งโรงพยาบาล เพราะอาจต้องได้รับน้ำเกลือทางหลอดเลือด 

การป้องกันโรคลมแดด

  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
  • ดื่มน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย ไม่ควรรอจนรู้สึกกระหายน้ำ
  • หากเล่นกีฬานานกว่า 1 ชั่วโมงควรดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
  • ไม่ควรเล่นกีฬาในขณะที่มีไข้
  • ควรเลือกสวมเสื้อผ้าสีอ่อนที่เบาสบาย อากาศถ่ายเทได้ดี และไม่ควรทาครีมกันแดดหนาจนเกินไป

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ.นพ.พิสิฏฐ์ เลิศวานิช, ฮีทสโตรค...ร้อนตาย (http://www.si.mahidol.ac.th/si...), 22 May 2014
Walker JS, Vance MV. Heat Emergencies. In: Tintinalli JE, et al (eds). Emergency Medicine: a comprehensive study guide. American College of Emergency Physicians; 4th ed. New York: McGrawhill, 1996:850-856.
Ramathibodi Poison Center ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, ภาวะฉุกเฉินจากความร้อน: Heatstroke (https://med.mahidol.ac.th/pois...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เป็นลมแดด ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ในช่วงสงกรานต์
เป็นลมแดด ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ในช่วงสงกรานต์

สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาอาการเป็นลมแดด (Heat Stroke) ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในช่วงอากาศร้อน

อ่านเพิ่ม