แนะนำ 7 วิธี ที่จะช่วยป้องกัน บรรเทา และรักษาอาการเมาค้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แนะนำ 7 วิธี ที่จะช่วยป้องกัน บรรเทา และรักษาอาการเมาค้าง

"อาการเมาค้าง" เป็นกลุ่มของอาการที่ประกอบด้วย ท้องเสีย อ่อนเพลีย ปวดหัว คลื่นไส้ และสั่น บางครั้งอาจมีความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และเหงื่อออกมากกว่าปกติร่วมด้วยได้ บางคนอาจมีอาการไวต่อแสงและเสียง หรือมีอาการบ้านหมุน

เมาค้างมักเกิดหลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ซึ่งแอลกอฮอล์จะไปขัดขวางการทำงานของสมองในระหว่างหลับ ทำให้ฮอร์โมนที่ควบคุมการตื่นและหลับของคุณผิดปกติไป ดังนั้นอาการเมาค้างจึงอาจเป็นรูปแบบหนึ่งของอาการนอนไม่พอ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังอาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรน ดังนั้นผู้ที่เข้าใจว่าตัวเองมีอาการเมาค้าง จริงๆ แล้วอาจเป็นการเกิดไมเกรนที่เป็นผลมาจากการถูกแอลกอฮอล์กระตุ้นก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเมาค้างนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเริ่มลดลง ในความจริงแล้ว อาการนั้นมักจะรุนแรงที่สุดเมื่อไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ในเลือด

หลายคนอาจจะเชื่อว่า ปริมาณที่ดื่มนั้นไม่มีผลต่อการเกิดอาการเมาค้าง แต่มีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับน้อยถึงปานกลางจะมีโอกาสในการเกิดอาการเมาค้างได้มากกว่าผู้ที่ดื่มในปริมาณมาก แต่ก็ยังมีงานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่พบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวติดแอลกอฮอล์นั้นจะมีอาการที่รุนแรงกว่าปกติ นักวิจัยกล่าวว่า บางคนอาจจะกลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์เพราะดื่มเพื่อช่วยลดอาการเมาค้าง

ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำวิธีแก้อาการเมาค้างไว้ดังนี้

  1. ดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปซ้ำ เนื่องจากอาการเมาค้างนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะถอนแอลกอฮอล์ ดังนั้นการดื่มแอลกอฮล์ 1-2 แก้วจะช่วยลดอาการดังกล่าว
  2. ดื่มน้ำ แอลกอฮอล์กระตุ้นให้มีการขับปัสสาวะเพิ่มขึ้นจากการที่ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนวาโซเพรสซิน (Vasopressin) ซึ่งทำหน้าที่ลดปริมาณของปัสสาวะ หากอาการของคุณนั้นประกอบด้วยท้องเสีย เหงื่อออกมาก หรืออาเจียน คุณอาจจะยิ่งต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ แม้ว่าอาการคลื่นไส้อาจจะทำให้คุณดื่มน้ำได้ยาก แต่การดื่มน้ำแม้เพียงไม่กี่อึกอาจจะช่วยลดอาการเมาค้างได้
  3. รับประทานอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรต การดื่มแอลกอฮอล์นั้นอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นอาการอ่อนเพลียและปวดหัวจึงอาจจะมาจากการที่สมองทำงานโดยไม่ได้รับพลังงาน นอกจากนี้มีหลายคนที่ลืมกินอาหารเวลาดื่ม ซึ่งจะยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงอีก การรับประทานขนมปังและน้ำผลไม้จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยทำให้คุณกลับมาเป็นปกติได้
  4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีสีเข้ม มีการทดลองที่พบว่า แอลกอฮอล์ที่มีสีใสทำให้เกิดอาการเมาค้างได้น้อยกว่าสีเข้ม แอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในเครื่องดื่มนั้นเป็นเอทานอล (Ethanol) แต่แอลกอฮอล์สีเข้มนั้นจะมีสารเคมีอื่นๆ เช่น เมทานอล (Methanol) ร่วมด้วย ซึ่งทั้งเมทานอลและเอทานอลต้องใช้เอนไซม์ตัวเองกัน แต่เมทานอลจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารที่เป็นพิษ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างที่รุนแรงกว่า
  5. รับประทานยาแก้ปวด ยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อื่นๆ อาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและปวดตามร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร ซึ่งถูกแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการระคายเคืองอยู่เดิม อย่ารับประทานยาพาราเซตามอล เพราะหากแอลกอฮอล์ยังตกค้างอยู่ในเลือด จะทำให้เพิ่มความเป็นพิษของพาราเซตามอลในตับได้
  6. ดื่มกาแฟหรือชา คาเฟอีนนั้นอาจจะไม่ได้มีฤทธิ์แก้อาการเมาค้างเป็นพิเศษ แต่มันเป็นสารกระตุ้นประสาทซึ่งอาจจะช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้ อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ดังนั้นอย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอ
  7. กินอาหารที่มีวิตามินบี 6 และวิตามินซี งานวิจัยหนึ่งพบว่า หากได้รับวิตามินบี 6 ปริมาณ 1200 มก. ก่อน ระหว่าง และหลังจากการดื่ม จะทำให้มีอาการน้อยกว่าไม่ได้รับวิตามินบี 6 แต่งานวิจัยนี้มีขนาดเล็ก ผลของการวิจัยจึงอาจไม่แน่ชัด วิตามินซีเป็นอีกอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยลดอาการเมาค้างได้

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anthony L. Komaroff, M.D. ,7 steps to cure your hangover, Harvard medical school

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป