7 สัญญาณที่บอกว่าตับมีสารพิษมากเกินไป

เผยแพร่ครั้งแรก 28 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สัญญาณที่บอกว่าตับมีสารพิษมากเกินไป

ตับเป็นหนึ่งในอวัยวะของร่างกายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด ซึ่งตับมีหน้าที่กรองและกำจัดสารพิษในกระแสเลือด อีกทั้งยังมีบทบาทในกระบวนการเมทาบอลิซึม และการผลิตฮอร์โมนบางชนิด อย่างไรก็ตาม ปัญหาก็คือ การมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการสัมผัสกับมลภาวะจะทำให้ตับเสื่อมสภาพ และนำไปสู่การเกิดปัญหามากมาย สุดท้ายแล้วตับจะเริ่มมีความสามารถในการทำความสะอาดร่างกายลดลงทีละน้อย สำหรับสัญญาณเตือนที่บอกว่าตับมีสารพิษมากเกินไปมีดังนี้

1. น้ำหนักเพิ่มโดยไม่สามารถอธิบายได้

การมีสารพิษก่อตัวในร่างกายมากเกินไปจะไปขัดขวางความสามารถในการย่อยไขมัน ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการที่กำจัดไขมันออกจากร่างกาย ภาวะดังกล่าวทำให้ยากต่อการรักษาน้ำหนักตัว แม้ว่าคุณจะทานอาหารที่มีแคลอรีต่ำก็ตาม ทั้งนี้ร่างกายจะสะสมเซลล์ไขมันที่เป็นพิษ และมันจะกระจายไปทั่วร่างกายหลังจากนั้น เพราะตับไม่สามารถย่อยสลายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

2. อ่อนเพลียเรื้อรัง

การเกิดความรู้สึกเหนื่อยอย่างต่อเนื่องก็นับว่าเป็นสัญญาณที่บอกว่าตับกำลังเต็มไปด้วยสารพิษ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าตับสูญเสียความสามารถในการทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากกลุ่มอาการเมทาบอลิก ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดอาการปวด การอักเสบ หรือปัญหาอื่นๆ ที่ทำให้ความสามารถในการทำงานแต่ละวันลดลง

3. เหงื่อและกลิ่นตัว

หลายคนอาจไม่ทันรู้ว่า การทำงานของตับมีความเชื่อมโยงกับอุณหภูมิของร่างกายและกลิ่นตัว ซึ่งเกิดจากการที่มีสารพิษก่อตัวขึ้น ทำให้คุณมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ และมีกลิ่นกายที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้เหงื่อและกลิ่นตัวเป็นผลมาจากการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อร่างกายกำจัดสารพิษและแบคทีเรีย

4. สิวหัวช้าง

การมีสิวขึ้นแบบฉับพลันสามารถบ่งบอกได้ถึงการมีปัญหากับฮอร์โมน หรือการทำงานที่ล้มเหลวของตับ หากสิวมีขนาดใหญ่ อักเสบ และมีแนวโน้มที่จะเกิดแผลเป็น มันก็อาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของตับ โดยทั่วไปแล้ว คนที่พบปัญหานี้มักจะควบคุมสิวได้ยาก เพราะมีสารพิษสะสมอยู่ภายในตับ ทั้งนี้คุณจำเป็นต้องหาหนทางทำความสะอาดตับเพื่อให้สิวหาย

5. ภูมิแพ้

ด้วยความที่สารพิษไปลดความสามารถในการทำความสะอาดตัวเองของตับ ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของตัวเองที่สามารถทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ หากการทำงานของตับเริ่มล้มเหลว หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ร่างกายก็จะสะสมฮิสตามีนมากเกินไป และนำไปสู่การเกิดอาการต่างๆ เช่น การอักเสบ คันทั่วร่างกาย ปวดศีรษะ คัดจมูก ฯลฯ

6. โรคกรดไหลย้อน

โดยทั่วไปแล้ว โรคกรดไหลย้อนอาจเกิดจากการที่อาหารไม่ย่อย และการมีปัญหากับกระเพาะอาหาร แต่ทั้งนี้มันก็สามารถบ่งบอกได้ว่าตับของคุณกำลังมีปัญหา หากตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ระดับ pH ของเลือดจะเปลี่ยนไป และทำให้มีความเป็นกรดมากขึ้น การขาดความสามารถในการควบคุมระดับ pH จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง และทำให้กล้ามเนื้อหูรูดอ่อนแอ ส่งผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อนนั่นเอง

7. ปากเหม็น

การที่ปากของคุณมีกลิ่นเหม็นที่ไม่หายขาดสักที นอกจากการต้องดูแลสุขอนามัยของช่องปากแล้ว คุณก็อาจต้องทำบางสิ่งกับตับเช่นกัน เพราะการมีปากเหม็นนั้นสามารถเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อนในกระบวนการกำจัดสารพิษที่ตับจำเป็นต้องกรองออกจากเลือด หากตับทำงานได้ช้าลง สารพิษก็จะก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อ ซึ่งผู้ป่วยหลายคนมีกลิ่นปากไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้คุณอาจรู้สึกเหมือนมีรสชาติของโลหะในปากถ้ามีโลหะหนักสะสมในตับมากเกินไป

คุณมีอาการตามที่เรากล่าวหรือไม่? หากเป็นเช่นนี้ คุณควรไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รู้ว่าตับของคุณกำลังมีปัญหาหรือเปล่า นอกจากนี้ให้คุณพยายามปรับนิสัยการทานอาหาร และพยายามดื่ม หรือทานอาหารที่ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เพื่อให้ตับมีสารพิษสะสมน้อยลง

ที่มา: https://steptohealth.com/7-war...


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Brown A. Allscripts EPSi. Mayo Clinic. Nov. 14, 2019.
Hoodeshenas S, et al. Magnetic resonance elastography of liver-Current update. Topics in Magnetic Resonance Imaging. 2018; doi:10.1097/RMR.0000000000000177.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)