7 เหตุผลว่าทำไมผิวถึงเป็นรอยช้ำง่ายกว่าปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 เหตุผลว่าทำไมผิวถึงเป็นรอยช้ำง่ายกว่าปกติ

หลายคนในที่นี้น่าจะเคยมีประสบการณ์เดินชนขอบโต๊ะหรือสะดุดล้ม ซึ่งคุณจะพบว่ามีรอยช้ำเกิดขึ้นที่ผิว ทั้งนี้รอยช้ำเกิดจากการที่เส้นเลือดใต้พื้นผิวบาดเจ็บเล็กน้อย แต่หากเส้นเลือดเหล่านี้เสียหาย มันก็สามารถทำให้เลือดไหลออกมา และทำให้ผิวบริเวณที่บาดเจ็บมีสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีม่วง อย่างไรก็ตาม หากคุณสังเกตว่ามีรอยฟกช้ำเกิดขึ้นอย่างง่ายดายทั้งๆ ที่คุณเดินชนแค่เบาๆ หรือรอยช้ำเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ วันนี้เราจะพาคุณไปดูหลากสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1.คุณทานอาหารเสริมบางชนิด

อาหารเสริมบางชนิดอาจทำให้เกิดรอยช้ำที่ไม่ทราบสาเหตุ ตัวอย่างเช่น ฟีเวอร์ฟิว กระเทียม ขิง แปะก๊วย โสม กรดไขมันโอเมก้า-3 ซอว์ปาล์มเมตโต้ วิตามินอี ฯลฯ ถ้าจะให้ดีคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานอาหารเสริม เพราะในบางครั้งอาหารเสริมที่คุณทานก็สามารถทำปฏิกิริยากับยาที่แพทย์สั่งจ่าย และมันอาจเป็นอาหารเสริมที่ไม่ปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.เป็นผู้หญิง

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดรอยช้ำง่ายกว่าผู้ชาย เพราะผู้ชายมีผิวหนา และมีคอลลาเจนมากกว่า ซึ่งมันจะยึดเกาะเส้นเลือดใต้ผิวได้อย่างปลอดภัยมากกว่า และป้องกันเส้นเลือดไม่ให้บาดเจ็บ นอกจากนี้เอสโตรเจนยังมีส่วนทำให้เกิดรอยช้ำที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าฮอร์โมนชนิดนี้ป้องกันการสร้างผนังของเส้นเลือด และทำให้หลอดเลือดขยายตัว ซึ่งหมายความว่ามันทำให้เส้นเลือดเปิดออก หากมีการบาดเจ็บ มันก็จะทำให้เลือดไหลออกมา

3.คุณแก่ขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้น ผิวของเราก็จะบางลง และเส้นเลือดก็จะเปราะมากขึ้น ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้ทำให้คุณเสี่ยงต่อการมีรอยช้ำที่ไม่ทราบสาเหตุ เมื่อผิวบางลง คุณก็จะสูญเสียไขมันและคอลลาเจน ซึ่งช่วยปกป้องเส้นเลือดของคุณ และเส้นเลือดก็จะสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น

4.ทานยาเจือจางเลือด

หากคุณกำลังอยู่ในช่วงทานยาเจือจางเลือดเพื่อรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือการแข็งตัวของเลือด มันก็สามารถทำให้เกิดรอยช้ำที่ไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้การทานยาชนิดอื่นที่มีฤทธิ์ทำให้เลือดจางอย่างไอบูโพรเฟนหรือแอสไพรินก็สามารถทำให้เกิดรอยช้ำเช่นกัน

5.เป็นโรคเลือด

โรคเลือดไหลไม่หยุดและโรควอนวิลลิแบรนด์ล้วนแต่เป็นโรคเลือดที่สามารถทำให้เกิดรอยช้ำอย่างง่ายดาย ทั้งนี้โรคเลือดไหลไม่หยุดเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย ซึ่งสามารถส่งผลต่อความสามารถในการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการมีเลือดออกอย่างรุนแรงแม้ว่าจะบาดเจ็บเพียงแค่เล็กน้อย ในขณะที่โรควอนวิลลิแบรนด์เป็นโรคที่มีความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งผู้ป่วยมักมีเลือดออกในระหว่างที่ทำฟัน เลือดกำเดาไหลนาน มีเลือดในปัสสาวะหรืออุจจาระ และมีประจำเดือนมากกว่าปกติ

6.ทานยารักษาโรคซึมเศร้า

หากคุณกำลังอยู่ในช่วงรักษาโรคซึมเศร้า คุณอาจพบว่ามีรอยฟกช้ำเกิดขึ้นง่ายกว่าปกติ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs อย่างฟลูอ็อกเซทีน เซอร์ทราลีน ไซตาโลแพรม และยาบูโพรพิออน สามารถมีผลต่อเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการแข็งตัวของเลือด

7.ขาดวิตามินบางชนิด

การขาดวิตามินซีและวิตามินเคสามารถทำให้เกิดรอยช้ำที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งภาวะดังกล่าวมักพบได้ในประเทศที่ยังไม่พัฒนา หรือประเทศที่ประชากรต้องเผชิญกับความแร้นแค้น หากคุณทานอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้เป็นประจำ คุณก็ตัดสาเหตุข้อนี้ไปได้เลย

อย่างไรก็ตาม กว่าที่รอยช้ำจะหายนั้นต้องใช้เวลานานประมาณ 2 อาทิตย์ หลังจากเกิดรอยช้ำไม่กี่วัน สีของรอยช้ำก็จะเริ่มเปลี่ยนจากสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีม่วง เป็นสีเขียวหรือสีเหลือง และอาการบวมก็จะลดลง สำหรับวิธีที่ช่วยให้รอยช้ำหายเร็วขึ้นคือ หลังจากที่หัวเข่าหรือข้อศอกของคุณไปกระแทกกับสิ่งใดก็ตาม ให้คุณนำ Ice Pack มาประคบบริเวณที่มีปัญหาประมาณ 10 นาที เป็นจำนวนหลายครั้งต่อวัน ซึ่งมันจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้ชะลอการเกิดรอยช้ำสีม่วงตั้งแต่ต้น

ที่มา: https://www.prevention.com/hea...

 


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Do You Bruise Easily? When to Get It Checked Out. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/do-you-bruise-easily-when-to-get-it-checked/)
Bruising Easily: Causes, In Children, Prevention & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/bruises-easily)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด
อาการพร่องวิตามินเอและการรับวิตามินเอมากเกินขนาด

รวมข้อมูลสารอาหารในอาหารเสริมวิตามินเอ และผลกระทบหากร่างกายขาดวิตามินเอมากเกินไป

อ่านเพิ่ม